หัวข้อ: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: Thanapatra ที่ สิงหาคม 01, 2011, 09:43:44 am ใครเคยใช้น้ำมันไบโอดีเซล หรือ B อื่นๆ มาเล่าสู่กันฟังบ้างว่าเป็นไง เมื่อเช้าเห็น V ดีเซลของเชลล์ ราคา 33 บาท แพงกว่าดีเซลธรรมดา แล้วมันดียังไง
หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: Tee_Kb ที่ สิงหาคม 01, 2011, 09:48:15 am พื้นฐานนํ้ามันทุกยี่ห้อเหมือนกันคับแต่อยู่ที่หัวเชื้อในการผสมและการกลั่นของแต่ละยี่ห้อคับ
รอป๋าๆท่านอื่นมาช่วยกันอตกคับ good หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: SKPG ที่ สิงหาคม 01, 2011, 11:14:09 am ผมเติมแต่บางจากกับEsso เพราะแถมน้ำ
อัตราเร่งพุ่งดีครับ นี่พึี่งไปลองขับขึ้นเขื่อนคลองท่าด่าน นครนายกมา OK ครับ หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: kp3358(ปาการัง) No.184 ที่ สิงหาคม 01, 2011, 01:47:45 pm :) :) :) :) :) :) :)
ไบโอดีเซล = น้ำมันดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืชหรือไขสัตว์ ส่วน ไบโอดีเซลที่ขายอยู่ตามปั้มในประเทศเป็นน้ำมันผสมระหว่าง น้ำมันดีเซลกับไบโอดีเซลในอัตราส่วน5-10%ซึ่งการใช้ไบโอดีเซลก็เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทางอ้อมวิธีหนึ่งครับ ส่วน v-power เป็นน้ำมันดีเซลที่กลั่นจาก ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้อัตราเร่งที่ดีกว่าและสะอาดกว่าน้ำมันดีเซลดีเซลธรรมดาที่กลั่นจากน้ำมันดิบ หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: kitkamol50.No 7. ที่ สิงหาคม 05, 2011, 10:10:09 pm :) :) :) :) :) :) :) ไบโอดีเซล = น้ำมันดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืชหรือไขสัตว์ ส่วน ไบโอดีเซลที่ขายอยู่ตามปั้มในประเทศเป็นน้ำมันผสมระหว่าง น้ำมันดีเซลกับไบโอดีเซลในอัตราส่วน5-10%ซึ่งการใช้ไบโอดีเซลก็เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทางอ้อมวิธีหนึ่งครับ ส่วน v-power เป็นน้ำมันดีเซลที่กลั่นจาก ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้อัตราเร่งที่ดีกว่าและสะอาดกว่าน้ำมันดีเซลดีเซลธรรมดาที่กลั่นจากน้ำมันดิบ ครับ................. :) :) :) หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: <=INDY=> ที่ สิงหาคม 10, 2011, 10:25:11 pm พื้นฐานนํ้ามันทุกยี่ห้อเหมือนกันคับแต่อยู่ที่หัวเชื้อในการผสมและการกลั่นของแต่ละยี่ห้อคับ รอป๋าๆท่านอื่นมาช่วยกันอตกคับ good ถูกต้องครับ น้ำมันทุกยี่ห้อแตกต่างกันที่หัวเชื้อที่เติมเข้าไปเท่านั้นเองครับ ซึ่งหัวเชื้อนี้จะมีการเบลนเข้าไปในหัวจ่ายเมื่อเวลารถน้ำมันเข้าไปรับน้ำมันจากคลังครับ ยกตัวอย่างเช่น Caltex ก็จะมีการเติม Techron ลงไป ซึ่งจะมีอะไรเป็นส่วนประกอบนั้นผมไม่ทราบเพราะเป็นความลับทางการตลาดของแต่ละบริษัทครับ โดยแต่ล่ะบริษัทก็จะตั้งชื่อและโฆษณาสรรพคุณให้แตกต่างกันออกไปครับ สำหรับเรื่องการกลั่นน้ำมัน จริงๆแล้วเมืองไทยมีโรงกลั่นอยู่ไม่กี่ที่เองครับ เท่าที่ผมทราบก็มี ไทยออยล์, ปตท, และ เอสโซ่ ดังนั้นยี่ห้อทั้งหลายแหล่ในเมืองไทยก็ซื้อน้ำมันมาจาก 3 โรงกลั่นนี้ล่ะครับ แล้วมาผสมหัวเชื้อของตัวเองลงไป ดังนั้นความแตกต่างทั้งหลายมันก็จะอยู่ไอ้ที่หัวเชื้อนี้ล่ะครับ เพราะถ้าคิดง่ายๆทางโรงกลั่นเค้าคงไม่คิดที่จะกลั่นน้ำมันออกมาหลายเกรดหรอกครับ มันเปลืองต้นทุนในสายการผลิตเกินไป อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการแยกเก็บ ดั้งนั้นจริงๆแล้วน้ำมันที่ออกมาจากโรงกลั่นสำหรับรถยนต์ก็จะมีแค่ เบนซิน กับดีเซล ครับ ส่วนเกรดต่างๆที่มีขายกันอยู่ เช่น ออคเทน 95, 91 หรือ โซฮอลล 95, 91 หรือ ไบโอดีเซล นั้นมาผสมกันที่คลังจ่ายน้ำมันครับ เช่นถ้าต้องการ เบนซิน 95 ก็จะมีการเดิมสารเพิ่มออคเทนลงไปในน้ำมันเบนซินให้ได้ค่าที่95 หรือถ้าเป็นโซฮออล์ก็จะมีการเบลนเอทานอลเพิ่มเข้าไปครับ hi หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: <=INDY=> ที่ สิงหาคม 10, 2011, 10:30:30 pm ปล. อยากจะเพิ่มเติมว่า เชลล ไม่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเองนะครับ เชลลซื้อน้ำมันคนอื่นเค้ามาแล้วผสมหัวเชื้อตัวเองลงไปน่ะครับ 8)
หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: Taikek ปาทองดำ ID 022 ที่ สิงหาคม 10, 2011, 10:36:27 pm :P :P :P
หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: เอกเอนกประสงค์ No.32 ที่ สิงหาคม 11, 2011, 09:15:56 am like
พื้นฐานนํ้ามันทุกยี่ห้อเหมือนกันคับแต่อยู่ที่หัวเชื้อในการผสมและการกลั่นของแต่ละยี่ห้อคับ รอป๋าๆท่านอื่นมาช่วยกันอตกคับ good ถูกต้องครับ น้ำมันทุกยี่ห้อแตกต่างกันที่หัวเชื้อที่เติมเข้าไปเท่านั้นเองครับ ซึ่งหัวเชื้อนี้จะมีการเบลนเข้าไปในหัวจ่ายเมื่อเวลารถน้ำมันเข้าไปรับน้ำมันจากคลังครับ ยกตัวอย่างเช่น Caltex ก็จะมีการเติม Techron ลงไป ซึ่งจะมีอะไรเป็นส่วนประกอบนั้นผมไม่ทราบเพราะเป็นความลับทางการตลาดของแต่ละบริษัทครับ โดยแต่ล่ะบริษัทก็จะตั้งชื่อและโฆษณาสรรพคุณให้แตกต่างกันออกไปครับ สำหรับเรื่องการกลั่นน้ำมัน จริงๆแล้วเมืองไทยมีโรงกลั่นอยู่ไม่กี่ที่เองครับ เท่าที่ผมทราบก็มี ไทยออยล์, ปตท, และ เอสโซ่ ดังนั้นยี่ห้อทั้งหลายแหล่ในเมืองไทยก็ซื้อน้ำมันมาจาก 3 โรงกลั่นนี้ล่ะครับ แล้วมาผสมหัวเชื้อของตัวเองลงไป ดังนั้นความแตกต่างทั้งหลายมันก็จะอยู่ไอ้ที่หัวเชื้อนี้ล่ะครับ เพราะถ้าคิดง่ายๆทางโรงกลั่นเค้าคงไม่คิดที่จะกลั่นน้ำมันออกมาหลายเกรดหรอกครับ มันเปลืองต้นทุนในสายการผลิตเกินไป อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการแยกเก็บ ดั้งนั้นจริงๆแล้วน้ำมันที่ออกมาจากโรงกลั่นสำหรับรถยนต์ก็จะมีแค่ เบนซิน กับดีเซล ครับ ส่วนเกรดต่างๆที่มีขายกันอยู่ เช่น ออคเทน 95, 91 หรือ โซฮอลล 95, 91 หรือ ไบโอดีเซล นั้นมาผสมกันที่คลังจ่ายน้ำมันครับ เช่นถ้าต้องการ เบนซิน 95 ก็จะมีการเดิมสารเพิ่มออคเทนลงไปในน้ำมันเบนซินให้ได้ค่าที่95 หรือถ้าเป็นโซฮออล์ก็จะมีการเบลนเอทานอลเพิ่มเข้าไปครับ hi หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: pamoo182 ที่ สิงหาคม 11, 2011, 09:59:15 pm V Power Disel heart heart heart heartโลด
หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: kp3358(ปาการัง) No.184 ที่ สิงหาคม 12, 2011, 08:46:51 am :) :) :) :) :) :) :)
ชมประวัติของ เชลล์กันครับ ที่จริงแต่ก่อน โรงกลั่นของ เชลล์คือ ARC แต่ตอนนี้ขายไปแล้วครับ เชลล์เริ่มเข้ามามีบทบาทในราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ เมื่อครั้งเรือเอส เอส มิวเร็กซ์ ซึ่งเป็นเรือที่สร้างขึ้น เพื่อบรรทุกน้ำมันโดยเฉพาะ บรรทุกมันก๊าด เข้ามาจอดเทียบท่า ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2435 นับเป็นการนำเข้าน้ำมันก๊าด ครั้งแรกของประเทศไทย นับจากนั้นต่อมาประมาณ 40 ปี ตลาดน้ำมันก๊าดก็ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ชาวไทยในทุกครัวเรือนต่างรู้จักน้ำมันก๊าด "ตรามงกุฎ" ของเชลล์เป็นอย่างดี มีการแต่งตั้ง บริษัท เมสเซอร์ส มาร์ควอล์ด แอนด์ โค เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของเชลล์ ในประเทศไทย จากนั้น บริษัท เอเซียติก ปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทรอยัลดัทช์/เชลล์ ก็ได้แต่งตั้ง บริษัท บอร์เนียว จำกัด ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ของเชลล์ในประเทศไทย ธุรกิจการนำเข้าน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อีกนานาชนิดดำเนินไปได้ด้วยดี จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัท เอเซียติก ปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด มีอันต้องปิดกิจการชั่วคราว จนเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง รัฐบาลไทยได้ติดต่อขอให้เชลล์กลับเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยอีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2489 บริษัท เอเซียติก ปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด มีบริษัท เชลล์ โอเวอร์ซีส์ โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้น 100 % บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด นอกจากจะมีคลังน้ำมันหลักและศูนย์จัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์น้ำมันและเคมีภัณฑ์ ที่ช่องนนทรี กรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีคลังน้ำมันในต่างจังหวัด อีกหลายแห่ง ซึ่งเป็นศูนย์จัดจำหน่ายน้ำมันให้แก่สถานีบริการซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ ทั่วประเทศ เชลล์ตระหนักดีว่า หน้าที่ของบริษัทฯ มิใช่เพียงการจัดหาผลิตภัณฑ์ และบริการอันมีคุณภาพให้แก่ลูกค้าเท่านั้น บริษัทฯ ยังต้องประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมด้วย โดยการมีส่วนร่วม ในการให้ความช่วยเหลือสังคมไทยในด้านต่างๆ ไม่วาจะเป็นด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมซึ่งได้ทำมา เป็นเวลาอันยาวนานนี้ ทำให้บริษัทฯ ได้รับพระราชทานตราตั้งห้าง (ตราครุฑ) จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533 นับเป็นบริษัทน้ำมันแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานตราตั้งห้าง เชลล์ได้เริ่มกิจกรรมสำรวจหาปิโตรเลียม ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2522 โดยจัดตั้ง บริษัท ไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น จำกัด ขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินการ และในปี พ.ศ. 2524 ก็ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันในเชิง พาณิชย์ แห่งแรกของประเทศไทย ที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และได้รับพระราชทานนามว่า "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" น้ำมันดิบที่ผลิตจากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์นี้ ได้ชื่อว่า "น้ำมันดิบเพชร" ตามชื่อของจังหวัด การปฏิบัติงานในแหล่งน้ำมันสิริกิติ์เป็นไปใน ลักษณะกิจการร่วมทุนระหว่าง ไทยเชลล์ กับบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. โดยสามารถผลิตน้ำมันดิบได้วันละ 20,000 บาร์เรล และน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์นี้มีบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับซื้อทั้งหมด เชลล์ได้ขายหุ้นของเชลล์ทั้งหมดในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ให้แก่ บริษัท ปตท.สผ. (จำกัด) มหาชน โดยมีการลงนามในสัญญาซื้อ-ขายหุ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2546 ได้มีการผลิตน้ำมันดิบเพชร จากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ โดยการดำเนินงานของบริษัทไทยเชลล์ฯ รวมทั้งสิ้นประมาณ 150 ล้านบาร์เรล ก่อนที่เชลล์จะขายหุ้นให้ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการต่อ พัฒนาการก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในธุรกิจของเชลล์ในประเทศไทย ก็คือ การจัดตั้ง บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีเชลล์ถือหุ้น 64% และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ถือหุ้น 36% เป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่ 4 ของประเทศ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง มีระบบการกลั่นน้ำมันอันทันสมัย มีกำลังกลั่น 145,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มเดินเครื่องเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 และเข้าสู่ปฏิบัติการในเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน แต่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ เชลล์ได้ขายหุ้นของเชลล์ทั้งหมดในโรงกลั่นน้ำมันระยองให้กับ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในปี 2547 หัวข้อ: Re: น้ำมันดีเซล เริ่มหัวข้อโดย: poken ที่ สิงหาคม 13, 2011, 05:19:28 pm ใช้ได้ครับ B5 เค้าใช้กันทั้งประเทศมานานแล้วครับ >:D
ถ้ากำลังเหลือเติมดีๆสลับบ้างหรือหาวิตามินมาใส่บ้างก็ได้ครับ ห้าหมื่นโลจัดหนักซะที่ก็ดีครับ
|