Pajero Sport-Thailand ปาเจโร่สปอร์ตไทยแลนด์

Pajerosport Room => พูดคุยทั่วไปเกี่ยวกับน้องปา => ข้อความที่เริ่มโดย: nan&name ที่ ธันวาคม 25, 2013, 08:52:19 pm



Languages

หัวข้อ: ความรู้เรื่องการทำประกันภัยรถยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nan&name ที่ ธันวาคม 25, 2013, 08:52:19 pm
กรมการประกันภัย เขาแบ่งการประกันภัยออกเป็น

การประกันภัยรถภาคบังคับ
การประกันภัยรถภาคสมัครใจ
การประกันภัยรถภาคบังคับ

โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) หมายถึงการประกันภัยรถประเภทที่กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อ ใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับ ผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้ รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการประเภทการประกันภัยรถ โดยรัฐบาลมีเจตจำนงเพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยเป็นสำคัญ

ประเภทรถที่ต้องทำ พ.ร.บ.
       รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหารที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ
       ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.

รถที่ได้ทำการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
3. รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร
4. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

ผู้มีหน้าที่รับประกันตาม พ.ร.บ.
1. ผู้ประสบภัยจากรถอันได้แก่ ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้
2. ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
       กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ โดยค่าเสียหายเบื้องต้นที่สามารถจ่ายได้ คือ ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บตามที่รักษาจริงไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต จำนวน 35,000 บาท แต่หากผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิตในภายหลัง ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่รักษาจริงไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท ซึ่งรวมแล้วไม่เกินจำนวน 50,000 บาท การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

การประกันภัยรถภาคสมัครใจ
       เป็น การประกันภัยรถที่กฎหมายไม่ได้บังคับ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เอาประกันภัยที่เห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตนและมี ความคิดที่จะกระจายความเสี่ยงภัยออกไปยังบุคคลอื่นคือการประกันภัยไว้กับ บริษัทผู้รับประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองตามประเภทที่ผู้เอาประกัน ภัยประสงค์ โดยบริษัทประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ไว้เป็นหลักฐาน โดยมีความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นตามแบบที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

การประกันภัยประเภท 1 (Comprehensive) บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

o คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิตร่างกายบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัยด้วย

o คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

o คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์

o คุ้มครองความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

การประกันภัยประเภท 2 คุ้มครองเฉพาะความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ ตามข้อ 1) 2) และ 4)

การประกันภัยประเภท 3 คุ้มครองเฉพาะความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตามข้อ 1) และ 2)


หัวข้อ: Re: ความรู้เรื่องการทำประกันภัยรถยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: fittauto_8 ที่ ธันวาคม 26, 2013, 04:54:24 pm
ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ความรู้เรื่องการทำประกันภัยรถยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nan&name ที่ ธันวาคม 26, 2013, 11:01:36 pm
ยินดีคับป๋า  smile..