หัวข้อ: ปกติ สตาทตอนเช้า มีกลิ่นฉุนออกมาที่ท่อไอเสียกันบ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: basboths ที่ พฤษภาคม 16, 2012, 10:13:41 pm 2.4 ติดแก็สอ่ะครับ เครียดมากครับ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ
หัวข้อ: Re: ปกติ สตาทตอนเช้า มีกลิ่นฉุนออกมาที่ท่อไอเสียกันบ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: Hommy ที่ พฤษภาคม 17, 2012, 08:57:17 am ตอนมีกลิ่นระบบตัดเป็นแก็สหรือยังครับ...
ถ้าตอนใช้นำ้มัน...เป็นแก็สโซฮอจะมีกลิ่นคล้ายๆแอลกอฮอออกมานิดๆครับ...ปกติ ถ้าตอนใช้แก็ส..แล็วมีกลิ่นแก็สออกจากท่อเป็นไปได้ว่าอาจจะจูนแก็สหนาครับ...ลองให้ช่างปรับจูนใหม่ครับ หัวข้อ: Re: ปกติ สตาทตอนเช้า มีกลิ่นฉุนออกมาที่ท่อไอเสียกันบ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: basboths ที่ พฤษภาคม 17, 2012, 11:58:05 am จะเป็นตอน สตาทเครื่องตอนเช้า ครั้งแรก ตอนสตาทเป็นน้ำมันแล้วจะตัด ออโต้เป็นแก็สครับ
หัวข้อ: Re: ปกติ สตาทตอนเช้า มีกลิ่นฉุนออกมาที่ท่อไอเสียกันบ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: teerapol ที่ พฤษภาคม 25, 2012, 08:43:18 pm ปกติครับ กลิ่นไอเสียจากน้ำมันครับ
หัวข้อ: Re: ปกติ สตาทตอนเช้า มีกลิ่นฉุนออกมาที่ท่อไอเสียกันบ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: J♥E ลำลูกกา ที่ พฤษภาคม 29, 2012, 07:16:06 pm ถ้าให้เดา ป๋าน่าจะติด LPG ใช่มั๊ยครับ ผมเคยใช้ CIVIC ติด LPG มา 6-7 ปี ก่อนจะขายไป แล้วมาออก ปาดำ 4WD ครับ...
ก่อนจะสรุปปัญหาว่าเป็นอะไร และเกิดจากอะไร เราควรทำความรู้จัก LPG และการทำงานของมันก่อน มิฉะนั้นแล้วเราจะไม่สามารถเข้าใกล้ปัญหาได้ครับ อันดับแรกต้องรู้จักและทำความเข้าใจพระเอกของเรากันก่อนครับ LPG (Liquefied Petroleum Gas) เมื่ออยู่ในถังจะมีสถานเป็นของเหลว และมีแรงดัน ในถังประมาณ 7 ชั้นบรรยาการ หรือ 7 BAR หรือประมาณ 225 PSI (ปกติเราเติมยางรถก็ประมาณ 30-35 PSI ต่อเส้นครับ ก็ประมารลมยาง 7-8 เส้นรวมกัน) อุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่ต้องทำความรู้จักคือ หม้อต้ม (Reducer) ซึ่งทำหน้าที่ 2 อย่าง แต่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า หม้อต้ม คือต้มแก๊ส จากของเหลวให้เป็นก๊าซ ก็ไม่ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดแต่อย่างใด อีกหน้าที่หนึ่งซึ่งทำงานก่อนจะถึงขั้นตอนการต้มคือ "ลดแรงดัน" ครับ โดยหม้อต้มจะทำหน้าที่ลดแรงดันจาก 7 Bar (225 PSI) ให้เหลือ 2 Bar (30 PSI) ก่อนจะนำไปสู่ "กระบวนการเปลี่ยนของเหลวให้เป็นก๊าซ" หรือที่เราเข้าใจกันว่า "การต้ม" นั่นเอง กระบวนการเปลี่ยนของเหลวให้เป็นก๊าซ ทำโดยด้านหนึ่งของหม้อต้มจะรับน้ำร้อน (ซึ่งเพิ่งจะผ่านกระบวนการหล่อเย็นมาจากเครื่องยนต์ แต่น้ำยังมีอุณภูมิสูงอยู่) มาวนรอบหม้อต้ม โดยเมื่อ LPG (ที่ลดแรงดันแล้ว) ผ่านความร้อนที่ได้นี้ก็จะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ แต่เนื่องจาก LPG ผ่านกระบวนการลดแรงดันมา จึงทำให้ของเหลวมีความเร็วสูง จึงทำให้เปลี่ยนสถาะเป็นก๊าซได้ไม่หมด 100% ยังคงเหลือบางส่วนที่ยังเป็นของเหลวอยู่ แล้วจึงส่งเข้าสู่กระบวนการเผาใหม้ ในห้องเผาไหม้ครับ ส่วนน้ำร้อนที่วนผ่านหม้อต้มแล้ว จะมี่ท่อส่งออกไปยังหม้อน้ำเพื่อบำบัดให้เย็นลงและวนกลับมาใช้ในกระบวนการหล่อเย็นต่อไป กระบวนการด้านบนคือการทำงานเมื่อระบบเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นระบบแก๊สแล้ว ซึ่งถ้ามีกลิ่นแก๊สในช่วงนี้มีความเป็นไปได้ว่ากระบวนการเปลี่ยนของเหลวให้เป็นก๊าส ทำงานไม่สมบูรณ์ คือเปลี่ยนเป็นก๊าซได้น้อย เหลือเป็นของเหลวเยอะ อันเนื่องมาจากการปล่อยแก๊สมาก (หนา) เกินไป สิ่งทีตามมาคือเครื่องสะดุด สิ้นเปลือง และ มีกลิ่นแก๊ส (ตรงนี้อันตรายครับ หากเกิด Back Fire ขึ้น จะเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้) แต่ถ้ายังไม่เปลี่ยนเป็นระบบแก๊ส แล้วได้กลิ่นแก๊สนั่นหมายถึง... ระบบมีการรั่ว หรือ ซึม...ครับ ในระบบแก๊ส "การรั่ว" กับ "การซึม" ต่างกันนะครับ โปรดทำความเข้าใจ ให้ดีระหว่าง 2 คำนี้ เพราะมีผลต่อคำโฆษณาอุปกรณ์แก๊สรถยนต์ที่มีขายกันในท้องตลาด อย่างดาษดื่น เช่น "มีระบบป้องกันแก๊สรั่ว โดยระบบจะตัดแก๊สทันทีเมื่อมีแก๊สรั่ว" แล้วถ้าแก๊สซึมหล่ะ แล้ว "รั่ว" กับ "ซึม" ต่างกันอย่างไร แล้วระบบรู้ได้อย่างไรว่า "มีแก๊สรั่ว" กลับไปด้านบนที่ผมบอกว่าแรงดันในถัง 7 Bar แรงดันในการใช้งาน 2 Bar นั่นแหละครับคือตัวชี้วัดว่าเกิดแก๊สรั่ว โดยระบบจะมี Pressure Gauge วัดว่าแรงดันมี การเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 2 Bar หรือไม่ ถ้ามี ก็เหมือนลมยางรถครับ ลมพุ่งออก แรงดันลดทันที (ทันใด) นั่นคือ "อาการรั่ว" แต่ถ้าค่อยๆ ลด ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่างนี้เรียกว่า "การซึม" ระบบตรวจจับไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีผู้ผลิตอุปกรณ์แก๊สรายใดกล้าโฆษณาว่า "มีระบบป้องกันแก๊สซึม".....!!!!
|