Languages
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือซ่อมบ้าน-ซ่อมรถ หลังน้ำลด สู้ๆครับ  (อ่าน 2718 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nang30
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 180



อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 02:14:31 am »

คู่มือซ่อมบ้าน-ซ่อมรถ
       แนะเคล็ดลับกู้วิกฤต
      
       ภัยน้ำท่วมสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินทั้งบ้านและรถ แต่สิ่งที่สำคัญหลังจากนั้น คือ การซ่อมบำรุงรักษาสำหรับทรัพยสินที่ถึงแม้ว่าจะจมน้ำ แช่น้ำ และโดนน้ำท่วม หากไม่หนักหนาสาหัสก็จำเป็นต้องตรวจเช็ก งานนี้จึงต้องพึ่งที่ปรึกษา และกูรูทั้งหลายทั้งด้านบ้านและรถยนต์ แนะเคล็ดลับกู้ทรัพย์สินหลังน้ำลดทั้งด้วยตัวเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
      
       ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปนิกที่มีชื่อเสียง ?ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์? เจ้าของผลงานเขียนร้อยพันปัญหาในการก่อสร้าง และพิธีกรปกิณกะทางโทรทัศน์ รายการ ?หมอบ้าน? และรายการวิทยุ ?คุยกับหมอบ้าน? แนะนำเคล็ดลับการฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วมว่า สำหรับการซ่อมแซมพื้นบ้านหลังน้ำท่วม กรณีถ้าพื้นไม่เสียหาย ก็ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ก็สามารถใช้ได้ แต่ถ้าเสียหาย มีวิธีแก้ไข คือ กรณีพื้นไม้ปาร์เกต์ จะหลุดล่อนง่ายเมื่อโดนน้ำท่วม เพราะติดกับพื้นคอนกรีตด้วยกาว
      
       วิธีแก้ก็คือ ถ้าแผ่นปาร์เกต์ไม่เสียหายมากก็ผึ่งลมให้แห้งก่อน รวมถึงพื้นคอนกรีตด้วย แล้วจึงทาด้วยกาวลาเท็กซ์ หนา 1-2 มิลลิเมตร ค่อยๆ กดลงไปที่เดิมให้แน่น ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วันจึงใช้งานได้ ถ้าเสียหายมากจะเปลี่ยนใหม่ต้องใช้ไม้ชนิดเดียวกับของเดิม สำหรับพื้นพรมต้องลอกออก แล้วนำไปซักและตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงนำกลับมาปูใหม่ โดยพื้นคอนกรีตต้องแห้งก่อนเช่นเดียวกัน
      
       สำหรับผนังบ้าน วัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำผนังบ้าน เมื่อเวลาถูกน้ำท่วมนานๆ ก็จะเกิดความเสียหายแน่นอน มี วิธีแก้ไข คือ วิธีแรก ถ้าเป็นผนังไม้ เช็ดทำความสะอาด เพื่อให้ผิวสามารถระเหยความชื้นได้ง่าย เมื่อแห้ง ดีแล้วใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ชะโลมที่ผิว หรือทาสีต่อไป วิธีที่ดีควรทาสีด้านในบ้านก่อน ทิ้งไว้ 5-6 เดือน จึงทาสีด้านนอก
      
       วิธีที่ 2 ถ้าเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ก็ใช้วิธีเดียวกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งให้ระเหยความชื้นนานกว่า ผนังไม้ เพราะมีความหนามากกว่า และวิธีที่ 3 ถ้าเป็นผนังยิบซั่มบอร์ด ก็เลาะเอาแผ่นที่เสียออก ถ้าโครงเคร่าเป็นโลหะก็สามารถติดแผ่นใหม่ได้เลย แต่ถ้าโครงเคร่าเป็นไม้ ต้องทิ้งไว้ให้ความชื้นในไม้ระเหยหมดก่อน จึงจะติดแผ่น ใหม่ได้
      
       การซ่อมวอลเปเปอร์หลังน้ำท่วม กรณีฝ้าเพดาน จะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน มีวิธีการแก้ไขคือ ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด หรือกระดาษอัด ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะ ออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงทาสีทับ หากเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่และ ระบบสายไฟส่วนใหญ่ จะเดินในฝ้าเวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูว่าความเรียบร้อยว่า มีส่วนใดชำรุดหรือเปล่าด้วยและถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อน
      
       การติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่ สำหรับประตู เมื่อถูกน้ำแช่อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มีวิธีแก้ไขคือ กรณีแรก ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมาก ก็ควรจะเปลี่ยนเลย และ กรณีที่ 2 ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่า มีน้ำหลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้การซ่อมแซม บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม
      
       อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมย่อมมี ปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไข คือ เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว และอย่าใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง หากถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง ถ้ายังมีปัญหาก็ควรจะต้องถอดออก แล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่
      
       สำหรับการทาสีบ้านหลังน้ำท่วม การทาสีบ้านหลังน้ำท่วม ควรจะทำเป็นสิ่งสุดท้าย ควรที่จะซ่อมแซมส่วนอื่นๆ เสียก่อน ปล่อยให้แห้งสนิทก่อน แล้วจึงทำการแก้ไข เพราะสีทุกชนิดที่ใช้ทาบ้าน เมื่อโดนน้ำท่วมนานๆ ก็จะเกิดการลอกและล่อนออกมาได้ เนื่องจากความชื้นของน้ำ วิธีแก้ไขคือ ต้องขูดสีเดิมที่ลอกและล่อนออก ทำความสะอาดผนังให้เรียบร้อย ทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ถ้าทำได้ควรจะเป็น 3-6 เดือนเลยยิ่งดี เมื่อแห้งแล้วจึงทาสีรองพื้นชนิดกันเชื้อรา แล้วจึงทาทับด้วยสีจริงอีกอย่างน้อย 2 ครั้งการตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม
      
       คู่มือซ่อมรถหลังน้ำลด
      
       สำหรับรถยนต์ การดูแลรถหลังน้ำท่วม จากข้อมูล auto.sanook.com แนะนำเทคนิคซ่อมรถยนต์น้ำท่วมนั้นนับว่าเป็นเรื่องของอาชีพช่างยนต์กันเสียส่วนใหญ่ ที่งานเข้าหลังจากภัยพิบัติครั้งนี้ แต่เพื่อความสบายใจเราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักว่าอะไรบ้างที่ต้องซ่อมและดูแล หลังเหตุการณ์น้ำท่วมและอะไรบ้างที่สำคัญ
      
       1.ตรวจความเสียหาย ข้อแรกที่สำคัญและต้องทำหลังน้ำลดลงไปจนกลับสู่สภาวะปกตินั้นคือการตรวจสอบความเสียหายของรถ ดูให้หมดทั้งภายในภายนอก เปิดฝากระโปรงเช็คเครื่องให้ครบครัน และถ้ารถคุณมีประกันภัยชั้น 1 ก็อย่าลืมแจ้งประกันด้วย จะได้ผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อม
      
       2.อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ เรามักย้ำเป็นประจำในข้อนี้เกี่ยวกับการดูแลรถหลังน้ำท่วม เนื่องจากการสตาร์ทเครื่องยนต์แบบสุ่มสี่สุ่มห้านั้นอาจทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะเศษผงต่างที่มากับน้ำสามารถสร้างความเสียหายต่อระบบเครื่องยนต์ได้ อีกประการคือรถที่แช่น้ำนานๆจะมีความชื้นจะสามารถสร้างความเสียหาย ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน
      
       3.ส่งสู่มือช่าง เมื่อตรวจสอบเรียบแล้วก็ได้เวลาที่เราต้องส่งสู่มือช่างผู้ชำนาญการให้ดำเนินการ โดยในการส่งรถที่รักไปซ่อมแซมความเสียหายนั้น ควรรายงานระดับน้ำที่รถคุณไปว่ายน้ำมา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบทางด้านต่างๆของช่าง ทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น
      
       4.อะไรบ้างที่จะเสีย แน่นอนเราไม่แนะนำให้คุณซ่อมรถน้ำท่วมเอง เพราะคุณจะปวดหัวกับมันอย่างแน่นอน แต่อย่างน้อยก็ควรต้องรู้บ้างว่าอะไรที่จะเสียหายบ้าง เพื่อประเมินค่าใช้จ่าย กรณี ด้านเครื่องยนต์ ตามปกติแล้วความเสียหายของเครื่องยนต์นั้น จะเกิดขึ้นในระบบ Intake หรือระบบดูดอากาศ ซึ่งสิ่งแรกที่จะต้องเปลี่ยนคือ ?กรองอากาศ? เพราะขี้ผงจากน้ำนั้นจะเข้าไปติดอยู่ในส่วนนี้เสียมาก ช่างจะต้องถอดหม้อกรองออกมาล้างทำความสะอาดอย่างแน่นอน ล้างลิ้นปีกผีเสื้อ แต่ถ้าแจ็คพอทก็เจอ น้ำเข้าเครื่อง ก็ต้องมีการถอดประกอบเครื่องยนต์ เพื่อความสะอาด ซึ่ง อาจจะรวมถึงชุด "หัวเทียน" ที่จะเสื่อมสภาพจากสภาวะความชื้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนพวกเซ็นเซอร์นั้นก็ต้องเช็คตามปกติ
      
       ที่สำคัญต้องได้มีถ่ายของเหลวทุกชนิด ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย อาจจะรวมถึงน้ำยาหม้อน้ำด้วย เพื่อความไม่ประมาท เพราะน้ำอาจจะซึมเข้าไปทำให้เมื่อใช้ไปนานๆ เกิดความเสียหายได้
      
เครติดเวป manager.co.th
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2011, 02:33:28 am โดย nang30 » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.037 วินาที กับ 20 คำสั่ง