Languages
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้ามิตซูปิดตัวจริงจะมีผลกระทบกับเราไหม  (อ่าน 3241 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
butterfly
Go go go
Newbie
*

like: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 107



อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2016, 08:16:28 am »



จากข้อมูล http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000044164
        เอเอฟพี/MGRออนไลน์ - อนาคตของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส กำลังแขวนอยู่บนเส้นด้ายเป็นครั้งที่ 2 ภายในระยะเวลา 1 ทศวรรษ ภายหลังบริษัทออกมายอมรับอย่างชนิดก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนเลื่อนลั่นยิ่งกว่าลูกระเบิด ว่า ได้หลอกลวงผลทดสอบการประหยัดน้ำมันของรถยนต์ที่ตนเองผลิตมานานปีแล้ว ขณะที่ทางด้านนักวิเคราะห์มองว่า หนทางที่จะรอดชีวิตต่อไปได้ ส่วนหนึ่งนั้นอยู่ที่แบรนด์มิตซูบิชิยังเข้มแข็งในต่างแดน โดยเฉพาะในประเทศไทย
       
       เวลานี้ยอดขายกำลังหล่นฮวบฮาบ ชื่อเสียงกำลังเสียหายยับเยิน และแม้กระทั่งผู้บริหารระดับท็อปของบริษัทเอง ก็ยังออกมาพูดคุยในเรื่องที่ว่า ผู้ผลิตรถยนต์รายนี้จะสามารถอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่
       
       วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ร้ายแรงยิ่ง และกำลังทำท่าคุกคามที่จะทำให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ถูกปล่อยเอาไว้ในลานทิ้งขยะไปตลอดกาล กระนั้นก็มีนักวิเคราะห์บางราย ซึ่งคิดว่า เครือข่ายอันกว้างขวางของการถือหุ้นไขว้ไปมาในหมู่บริษัทญี่ปุ่น น่าจะสามารถช่วยชีวิตผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ได้อีกคำรบหนึ่ง
       
       “ผมคิดจริง ๆ ว่า อนาคตของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส นั้น มืดมนมากๆ” ฮิเดยูกิ โคบายาชิ อาจารย์ด้านธุรกิจ ณ มหาวิทยาลัยฮิโตสึบาชิ กล่าวให้ความเห็น เขาเป็นผู้เขียนหนังสือว่าด้วยการต่อสู้ดิ้นรนของบริษัท เพื่อให้หลุดพ้นจากกรณีอื้อฉาวที่เกือบทำให้พังพินาศมาคราวหนึ่งแล้วเมื่อราวสิบปีก่อน
       
       “เป็นเรื่องเหลวไหลไร้เหตุผล ที่ยังจะซื้อรถมิตซูบิชิกันอีก หลังจากเกิดเรื่องนี้ขึ้นมา แล้วนี่ยังไม่ใช่ครั้งแรกด้วยที่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น”
       
       ทั้งนี้ เมื่อปี 2005 ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่มีชื่อจากการทำรถเอสยูวี “เอาต์แลนเดอร์” และรถเก๋งแลนเซอร์ รายนี้ ได้เคยซวนเซอยู่ตรงปากขอบเหวแห่งการล้มละลายมาแล้วครั้งหนึ่ง ภายหลังถูกตรวจสอบพบว่าบริษัทได้ปกปิดความบกพร่องต่าง ๆ ของยวดยานที่ตนเองผลิต ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นบาดเจ็บล้มตายได้
       
       ในคราวนั้น บริษัทในเครือของกลุ่มมิตซูบิชิที่มีอยู่มากมายกว้างขวาง ได้ก้าวเข้ามาช่วยเหลือด้วยมาตรการกอบกู้ให้อยู่รอดในด้านต่าง ๆ ชุดใหญ่ จึงทำให้กิจการซึ่งกำลังใกล้ถึงฆาตแห่งนี้ กลับพลิกฟื้นรอดชีวิตขึ้นมาได้ใหม่
       
       ทว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนในขณะนี้ ว่า พวกเขามีความปรารถนาที่จะเข้าช่วยเหลืออีกหรือไม่ในคราวนี้ ในเวลาที่ผู้ผลิตรถรายนี้ มีหวังต้องประสบกับการถูกปรับเงินก้อนโตมหึมา, ถูกฟ้องร้องกันระนาว และต้องจ่ายเงินชดเชยลูกค้ากันอย่างมโหฬาร
       
       ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทยังจะต้องจ่ายเงินค่าเสียหายก้อนมหึมาให้แก่นิสสัน
       
       เท่าที่รวบรวมกันได้ในเวลานี้ มีรถรวม 625,000 คัน ที่ได้รับความกระทบกระเทือนเนื่องจากการให้ตัวเลขประหยัดน้ำมันอย่างหลอกลวงของมิตซูบิชิคราวนี้ (ซึ่งก็คือรถรุ่นมินิคาร์ทั้งหมดที่มีขายกันในญี่ปุ่นนั่นเอง) ปรากฏว่า กว่าครึ่งหนึ่งเป็นรถซึ่งมิตซูบิชิผลิตให้แก่ค่ายนิสสัน

       กรณีอื้อฉาวล่าสุดนี้ เป็นเสมือนการฉายแสงสาดส่องให้เห็นความสัมพันธ์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่พวกเขาถือครองหุ้นจำนวนมากของบริษัทอื่น ๆ ภายในเครือข่ายเดียวกันไขว้กันไปมา อันเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์กันอีกระลอกหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้
       
       ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ระบุว่า การลงทุนแบบแลกเปลี่ยนถือหุ้นของกันและกันเช่นนี้ เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความนิ่งนอนใจ และกลายเป็นการคุ้มกันพวกผู้บริหารซึ่งไม่ค่อยมีฝีมือให้พ้นจากการถูกเร่งรัดตรวจสอบ ขณะเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่นก็แสดงทีท่าต้องการยุติเครือข่ายความผูกพันกันเช่นนี้ เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ทางด้านบรรษัทภิบาลที่ยังย่ำแย่หนักของประเทศให้กระเตื้องดีขึ้น
       
       เทตสึโระ ไอกาวะ ประธานกรรมการบริหารของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ซึ่งระบุว่า “รู้สึกผิดหวังมาก” ต่อเรื่องที่เกิดขึ้น ยังได้กล่าวยอมรับในสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า บริษัทของเขากำลัง “ตกอยู่ในความเสี่ยง” ว่า จะอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี ทางด้านผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ยังคงแทบไม่ได้แสดงท่าทีอะไรเลยว่าจะทำอย่างไรต่อไป
       
       “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส เดินมาไกลมากทีเดียว นับตั้งแต่ครั้งที่ประสบปัญหาในอดีต ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเรื่องที่สร้างความผิดหวังมาก ๆ” ชินอิชิ มิยานางะ ประธานกรรมการบริหารของ มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ (เอ็มเอชไอ) กล่าว เอ็มเอชไอเป็นผู้ที่ถือหุ้นของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส เอาไว้มากกว่า 12%
       
       “เราจำเป็นที่จะต้องขบคิดในเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์ของกลุ่มมิตซูบิชิทั้งหมด มันเป็นทั้งเรื่องความรับผิดชอบทางสังคม และก็เป็นทั้งเรื่องการไล่เรียงเอาผิดสำหรับผลประกอบการที่เกิดขึ้น”
       
       สัปดาห์ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ออกมายอมรับว่า ได้หลอกลวงการทดสอบรถของตนย้อนหลังไปได้ถึงราว 25 ปี ยาวนานกว่าที่เคยพูดกันไว้ในตอนแรกมาก ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ว่า รถซึ่งบริษัทขายในต่างประเทศและเกี่ยวข้องกับการฉ้อฉลเช่นนี้ จะต้องมีจำนวนมากกว่าที่คาดหมายกัน และขนาดขอบเขตของวิกฤตการณ์คราวนี้ก็น่าจะกว้างขวางยิ่งกว่าที่คิดคำนวณเอาไว้
       
       บริษัทอ้างว่า พวกพนักงานที่มิได้มีการระบุชื่อ ยังได้ปลอมแปลงข้อมูลเพื่อให้รถซึ่งผลิตออกมาดูจะประหยัดน้ำมันได้ดีกว่าที่เป็นจริง
       
       “เรายังไม่ได้ภาพเต็ม ๆ ที่ว่าบริษัทจะทำการชดเชยให้แก่ลูกค้ากันอย่างไร” ไซจิ ซุงิอุระ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านหุ้นรถยนต์ของสถาบันวิจัยโตไกโตเกียว กล่าวให้ความเห็น
       
       “รถมิตซูบิชิทุกคันที่กำลังวิ่งกันตามท้องถนนเวลานี้ อาจจะเรียกเงินค่าชดเชยความเสียหายได้ทั้งสิ้น ซึ่งหมายความว่าจะเป็นจำนวนมหาศาลมาก”
       
       มิตซูบิชินั้น ขายรถได้ราว 1 ล้านคันในทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับพวกผู้ผลิตรถรายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นด้วยกัน ก็มีขนาดเล็กกว่ามาก รวมทั้งมีเงินสดอยู่ในมือน้อยที่สุด จนไม่อาจเทียบกับคู่แข่งอย่างโตโยต้า หรือ ฮอนด้า นี่หมายความว่า อยู่ในฐานะด้อยกว่ามากในเวลาที่ต้องรับมือกับพายุร้ายเฉกเช่นขณะนี้

‘มิตซูบิชิมอเตอร์’ วิกฤตถึงขั้น ‘เจ๊ง’ หนสองในรอบ 10 ปี  ชี้หนทางรอดส่วนหนึ่งอาจอยู่ที่ ‘ตลาดไทย’
โชว์รูมที่สำนักงานใหญ่ของมิตซูบิชิมอเตอร์ส ในกรุงโตเกียว

        ตั้งแต่เรื่องอื้อฉาวปะทุขึ้นเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ยอดขายในญี่ปุ่นของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ตกฮวบฮาบลงถึงเกือบครึ่งหนึ่ง และชื่อเสียงซึ่งเสียหายแหลกลาญก็ทำท่าจะกระทบต่อฐานะทางการเงินของบริษัท
       
       อย่างไรก็ตาม ซุงิอุระ นักวิเคราะห์อาวุโสมองแง่ดีว่า “แบรนด์มิตซูบิชิยังคงแข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งที่มาอย่างสำคัญแหล่งหนึ่งของผลกำไรของบริษัท นอกจากนั้น บริษัทยังมีโรงงานใหม่แห่งหนึ่งในอินโดนีเซียด้วย”
       
       “ดังนั้น จึงมีรากฐานสำหรับการพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ ถ้าหากบริษัทไม่ได้กระทำผิดยุ่งเหยิงในต่างประเทศไปด้วย”
       
       มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ซึ่งอยู่ในภาวะดิ้นรนหนักยังอาจจะต้องยอมรับการเข้ามาซื้อของนักลงทุนต่างชาติ ถ้าหากพวกผู้ถือหุ้นรายใหญ่พากันทอดทิ้งบริษัท
       
       เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มฟ็อกซ์คอนน์ ของไต้หวัน ได้เข้าฮุบบริษัท ชาร์ป ยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในอาการย่ำแย่เอาไว้ ถึงแม้การที่ต่างชาติเข้าเทกโอเวอร์กิจการบริษัทญี่ปุ่นนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นน้อยมาก ๆ
       
       อย่างไรก็ดี ซุงิอุระ ระบุว่า สำหรับพวกบริษัทในเครือมิตซูบิชิแล้ว น่าจะต้องพยายามรักษามิตซูบิชิมอเตอร์สเอาไว้ เนื่องจากเดิมพันของพวกเขาถือว่าสูงมาก ในแง่ของการเชื่อมโยงด้านต่าง ๆ ที่มีมานานแล้ว รวมทั้งเครือข่ายการจัดจำหน่ายและความผูกพันของผลิตภัณฑ์
       
       “ธุรกิจจำนวนมากในกลุ่มจะได้รับความกระทบกระเทือน ถ้าหากผู้ผลิตรถรายนี้ล้มครืนลงไป”

       



    ข่าวล่าสุด ในหมวด
   ไฟป่าลามหนักในรัฐอุตตราขัณฑ์ ทางเหนือของอินเดีย ดับอย่างน้อย 2 ศพ
   รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่นเยือนกทม. ย้ำสายสัมพันธ์เศรษฐกิจที่มีกับปท.ไทย
   ‘มิตซูบิชิมอเตอร์’ วิกฤตถึงขั้น ‘เจ๊ง’ หนสองในรอบ 10 ปี ชี้หนทางรอดส่วนหนึ่งอาจอยู่ที่ ‘ตลาดไทย’
   โจ๋อินเดียหวิดดับ! หลังทำปืนลั่นใส่หัวตัวเองขณะ “ถ่ายเซลฟี”
   ไต้หวันส่งเรือตรวจการณ์เข้าใกล้ “เกาะพิพาท” หลังถูกญี่ปุ่นยึดเรือประมง
   


ข่าวยอดนิยม

‘มิตซูบิชิมอเตอร์’ วิกฤตถึงขั้น ‘เจ๊ง’ หนสองในรอบ 10 ปี ชี้หนทางรอดส่วนหนึ่งอาจอยู่ที่ ‘ตลาดไทย’
39,296

โลกออนไลน์จีนตะลึง! ชาวประมงจับสัตว์น้ำประหลาด รูปร่างคล้ายจระเข้ผสมโลมา (ชมคลิป)
17,800

รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่นเยือนกทม. ย้ำสายสัมพันธ์เศรษฐกิจที่มีกับปท.ไทย
530

มังกรซุ่มฝึก-ติดอาวุธเรือประมง คอยสอดส่องทะเลจีนใต้ขณะหาปลา
1,192

ตร.สหรัฐฯ รวบ 2 ผู้ต้องสงสัยลวงสาวไทยไปนอกก่อนบังคับค้ากามใช้หนี้
5,679


บันทึกการเข้า

สายลมหนาวพัดโบกโบย
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 21 คำสั่ง