Languages
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความร้อนของเครื่องยนต์และวิธีแก้ไข  (อ่าน 14692 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nan&name
Jr. Member
**

like: 12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 692


pajerosport-thailand ID 3949


« เมื่อ: เมษายน 28, 2014, 10:29:49 am »

สาเหตุ ความร้อนขึ้นสูงผิดปกติขณะขับขี่


คำว่า “ความร้อนขึ้นสูง” หมายถึง อุณหภูมิของเครื่องยนต์อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบ (ผลเสีย) ต่อเครื่องยนต์ ก่อนอื่นต้องบอกว่าในรถยนต์ โตโยต้า ณ ปัจจุบัน มีการแจ้งเตือนของความร้อนเครื่องยนต์ ด้วยกัน 2 แบบ คือ


1.   แบบเข็ม                         การทำงานของเข็มชี้วัด ยามเมื่อเครื่องยนต์อยู่ในช่วงอุณหภูมิการทำงานจะต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของมาตรวัด ตราบใดเข็มชี้วัดเกินครึ่งหนึ่ง ได้รำลึกถึงเสมอว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระบบหล่อเย็น อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูง


2.   แบบไฟเตือน

                     =   สีแดงร้อน ,

                  =   สีเขียว (ฟ้า) เย็น    
เนื่องจากว่า รูปแบบของไฟเตือนนั้น จะมีในเรื่องของสีเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับรุ่นรถยนต์ที่ใช้ไฟเตือนประเภทนี้ ต้องสังเกตสีของการเตือนด้วย

รายละเอียด
- ไฟเตือนสีเขียว หรือ สีฟ้า แสดงว่าเครื่องยนต์หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 600C)
- ไฟเตือนสีแดง   แสดงว่าเครื่องยนต์หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูง (สูงกว่า 1170C)                      

ไม่ว่าการแจ้งเตือนจะมีรูปแบบอย่างไร จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องยนต์อย่างแน่นอน แสดงว่า มีชิ้นส่วนที่ชำรุดเกิดขึ้น ไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่ง ในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ แต่ในรถยนต์โตโยต้านั้น  จะสัมพันธ์กับระบบควบคุมเครื่องยนต์ เมื่อใดความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ มีการแจ้งเตือนที่มาตรวัดแล้ว ยังมีการเตือนในรูปแบบอื่นๆ ได้อีก เช่น รูปไฟเตือนเครื่องยนต์ (สีส้ม) ติดค้าง, เสียงเครื่องยนต์ ผิดปกติไปจากเดิม เป็นต้น

นอกจากนี้ หากผู้ขับขี่มิได้สังเกตสิ่งปกติ ตามที่กล่าวมา ระบบควบคุมเครื่องยนต์จะตัดการทำงานของเครื่องยนต์โดยอัตมิติ (เครื่องยนต์ดับ) เพื่อมิให้เครื่องยนต์เกิดการเสียหายไปมากกว่านี้

หมายเหตุ เมื่อเครื่องยนต์มีความร้อนสูง ควรทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง การปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา, การแก้ไขเบื้องต้นด้วยตนเอง, และข้อควรระวัง สามารถทำความเข้าใจได้ที่บทความของเรา ลำดับที่ 67 ในหัวข้อ “ เครื่องยนต์ร้อนจัดขณะขับขี่ทำอย่างไร”  ได้อีกทางหนึ่ง ครับ

ข้อเสนอแนะ กรณีที่เกิดความร้อนขึ้นสูงกับเครื่องยนต์ ย่อมส่งผลกับตัวเครื่องยนต์อยู่แล้วนั้น หลังจากที่มีการซ่อมแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ควรจะได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง ก็จะดีมากครับ

ที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนั้น ทางผู้เขียนมีเจตนาที่ต้องการให้ผู้อ่านเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของความร้อนที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ครับ อันดับต่อไปก็จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นสูง (ตามหัวข้อของบทความ) มาทำความเข้าใจกันเลยครับ

ความร้อนขึ้นสูง มีด้วยกันหลายประการ และไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ผู้ขับขี่จะต้องอาศัยการมองบนมาตรวัด (หน้าปัทม์) เวลาที่ขับขี่บ้างเป็นครั้งคราว เพื่อจะได้ทราบว่าความร้อน หรือ อุณหภูมิของเครื่องยนต์ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ กรณีที่ผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทัน ดังนั้นให้รีบตรวจสอบเท่าที่จะทำได้ หรือ รีบติดต่อช่างก็จะดีมากขึ้น หลายท่านขับรถจนเครื่องยนต์ดับไปเลยก็มี ซึ่งสาเหตุมาจากความร้อนสูง (OVER HEAT) นั่นเอง

สาเหตุ อันดับแรก ได้แก่ ขาดการบำรุงรักษาตามระยะที่กำหนด หมายความว่า ไม่ได้ตรวจสอบระบบต่างๆของรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับรถยนต์นั้น ถ้าได้มีการแก้ไขตั้งแต่เริ่มต้น ก็คงไม่บานปลายถึงขั้นรุนแรง หรือ เสียหายในขณะขับขี่กลางทาง ยกตัวอย่าง เช่น

ปั้มน้ำแตก การที่ปั้มน้ำแตกได้นั้น ก็ต้องเริ่มจากรอยรั่วเล็ก หรือ มีการซึมของน้ำรอบๆ ตัวของปั้มน้ำ บางครั้งก็มีเสียงดังเกิดขึ้น แล้วค่อยๆลามจนไปถึงเสียหาย (พัง) ไปเลย อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ หม้อน้ำ การที่หม้อน้ำจะแตก ก็เริ่มจากจุดเล็กๆ เช่นเดียวกัน แน่นอนจะต้องมีการซึมของน้ำ และคราบต่างๆ เกิดขึ้น ตรงบริเวณที่ชำรุด ขอให้คาดเดาไว้ว่า มีความเสียหายเกิดขึ้น เป็นต้น

ทั้ง 2 อย่างไม่ว่าจะเป็นปั้มน้ำและหม้อน้ำ เกี่ยวข้องในเรื่องของความร้อนที่ผิดปกติไปจากเดิม นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอื่นที่เป็นสาเหตุได้อีก เช่น พัดลมไฟฟ้าไม่ทำงาน หรือ ทำงานผิดปกติ, สายพานขับปั้มน้ำขาดกะทันหัน, หม้อน้ำตัน

ไม่ว่าจะด้านนอกหรือด้านในหม้อน้ำก็ตาม ซึ่งอากาศไหลผ่านได้ไม่สะดวก ความร้อนก็ย่อมขึ้นสูงได้เช่นเดียวกัน

ในบางครั้ง อาจจะมีบ้าง แต่ก็น้อยมากที่จะเกิดโอกาสที่จะกล่าวถึง นั่นก็คือ ขณะขับขี่ระบบหล่อเย็นเป็นปกติ ความร้อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แล้วเกิดมีวัสดุปลิวมาติดอยู่หน้าหม้อน้ำ เช่น กระดาษ, ถุงพลาสติก ซึ่งจะทำให้อากาศ หรือ ลมผ่านที่หม้อน้ำไม่สะดวก การระบายความร้อนก็ไม่ดี มาตรวัดความร้อนย่อมเพิ่มขึ้น ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ควรตรวจสอบเบื้องต้นก่อนก็จะดีมากครับ

ต่อมาสาเหตุ อันดับที่สอง ได้แก่ ไม่เปลี่ยนอะไหล่ตามระยะทางที่กำหนด หรือ จากการตรวจพบของช่าง อันนี้ก็เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ เพราะชิ้นส่วนย่อมมีอายุการใช้งานอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว เมื่อใดได้ระยะเวลาที่กำหนดก็ควรเปลี่ยน แต่มิได้หมายความว่าเปลี่ยนทุกชิ้นส่วนเสมอ ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนด หรือ ระบุ อยู่ในคู่มือการใช้รถอยู่แล้ว ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ จะช่วยให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี และการใช้งานได้ยาวนาน ยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับความร้อน เช่น น้ำยากันสนิมหม้อน้ำ หน้าที่ของมันคือ ป้องกันการเกิดสนิมที่เกิดขึ้นภายในระบบหล่อเย็น ไม่ว่าจะเป็นปั้มน้ำ, หม้อน้ำ, ท่อทาง และอื่นๆ นอกจากนั้นแล้ว ตัวน้ำยากันสนิมหม้อน้ำ จะมีคุณสมบัติป้องกันการแข็งตัวของน้ำ ยามอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งหรือในอากาศเย็น เมื่อเป็นเช่นนั้น จะส่งผลดีที่สุดกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ ปั้มน้ำ, ท่อยางน้ำ มิให้เสื่อมสภาพเร็วอีกด้วย

อันดับที่สาม การเลือกใช้ชิ้นส่วนที่มิได้คุณภาพ (ไม่ใช่ของแท้) การเลือกใช้ประเภทนี้ ไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์มากนัก มิหนำซ้ำ อายุการใช้งานก็ไม่นาน ต้องเปลี่ยนบ่อย บางชิ้นส่วนเมื่อมีการบริการ นอกจากทำลำบากแล้ว ค่าแรงก็สูงด้วย อันนี้ ต้องพิจารณากันอย่างถี่ถ้วน ถึงแม้จะเพิ่งเปลี่ยนใหม่ก็ตาม ก็อาจเกิดการขัดข้องได้ในยามขับขี่ เพราะวัสดุที่ใช้ในการผลิตมิได้มาตรฐานนั่นเอง เมื่อเป็นดังนั้นก็จะเข้าทำนองว่า “เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย” ครับ

การที่เครื่องยนต์เกิดความร้อนขึ้นสูง เป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์อย่างมากๆ (ขอย้ำ) อย่าลืมนะครับว่าหัวใจของรถยนต์ คือเครื่องยนต์ และสิ่งที่กล่าวมา อาจมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย ก็ลองพิจารณากันดูนะครับ


ขอบคุณข้อมูล
แผนกเทคนิคและฝึกอบรม
บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)

ความร้อนของเครื่องยนต์ และวิธีแก้ไข (ตอนที่ 1)


ปกติคนชอบเข้าใจผิดว่า เครื่องต้องเย็นจึงวิ่งได้ดีขึ้น อยากให้ระดับความร้อนต่ำๆ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดมากครับ

ผมขอเปรียบง่ายๆ กับร่างกายมนุษย์นะครับ คนเราเวลาจะออกกำลังกาย ต้องวอร์มอัพก่อน ถึงแม้เวลาวอร์มอัพแล้ว ก็ใช่ว่าจะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้คล่องตัวที่สุด จริงๆแล้วต้องให้ร่างกายร้อนได้ระดับหนึ่ง จะทำให้เราคล่องตัวที่สุด แต่ร้อนระดับนั้น เราจะต้องเสียเหงื่อมาก จึงต้องได้น้ำมาช่วยชดเชยน้ำในร่างกายที่เสียไป และช่วยลดระดับความร้อนในร่างกายที่จะมากเกินไป เกินขีดจำกัดที่ร่างกายรับไหว

เครื่องยนต์ก็เช่นเดียวกันครับ เครื่องยนต์ต้องการความร้อนที่คงที่ครับ อยู่ที่ระดับ 87-92 องศาเซลเซียสครับ จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดีที่สุด ถ้าต่ำกว่านี้ก็ไม่ดีครับ แต่ถ้าสูงกว่านี้ เครื่องก็พังได้ครับ จึงต้องมีหม้อน้ำมาช่วยระบายความร้อนครับ โดยมีวาล์วน้ำ เป็นตัวกักน้ำให้อยู่ในอุณหภูมิที่คงที่ หมายถึงว่า 87 - 92 องศา วาล์วจะเปิดให้น้ำร้อนระบายออกเข้าหม้อน้ำ แล้ว น้ำที่มีความเย็นในหม้อน้ำจะไหลเข้าเครื่องเพื่อระบา ยความร้อนของเครื่อง ถ้าความร้อนลดลงต่ำกว่าระดับ 87 องศา วาล์วน้ำก็จะปิดกักน้ำเอาไว้ครับ (จริงๆแล้วยังมีน้ำมันเครื่องอีกตัวหนึ่งที่นอกจากช่วยหล่อลื่นแล้ว ก็เป็นตัวช่วยระบายความร้อนเช่นกันครับ)

คราวนี้มาถึงคำถามที่ว่า ทำไมเปิดพัดลมหลายตัวแล้ว ความร้อนของเครื่องจึงไม่ลดลง คำตอบก็คือว่า วาล์วน้ำเป็นตัวกักน้ำเอาไว้ จนกว่าความร้อนเกินระดับจึงจะมีการระบายออกครับ (เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ถ้าเกิดกรณีความร้อนขึ้นสูงกว่าปกติ ทั้งๆที่พัดลมระบายหม้อน้ำทำงานดีอยู่ จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า วาล์วน้ำทำงานผิดปกติ ไม่ยอมเปิดระบายน้ำร้อนออกมาที่หม้อน้ำเมื่ออุณหภูมิ สูงเกินระดับปลอดภัยครับ)

สมัยก่อนนี้ มีช่างไทยชาวบ้านบางคน เข้าใจผิดคิดว่าวาล์วน้ำไม่มีประโยชน์อะไร จึงเอาออก เพื่อให้ระบบไหลเวียนของน้ำดีขึ้น จริงๆแล้วเป็นการเข้าใจผิดครับ ดังที่อธิบายไว้เบื้องต้น ผลเสียของการเอาวาล์วน้ำออก ก็คือว่า ทำให้เครื่องยนต์ ร้อนช้า (ตอนเครื่องเย็น) แหวนลูกสูบขยายตัวยังไม่ได้เต็มที่ ทำให้กินน้ำมันเครื่อง และกำลังเครื่องตกลงด้วยครับ และมีโอกาสทำให้เครื่องสึกหรอง่าย เพราะว่าคนขับจะเหยียบเร่งกำลังเครื่องขึ้น ทั้งๆที่ เครื่องไม่พร้อม เป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยครับ


มีบางถามกลับมาว่า "แล้วอุณหภูมิความร้อนของเครื่องไม่ควรร้อนเกินเท่าไหร่..ครับ..จะได้ระวัง"

บอกเป็นตัวเลขตายตัวลำบากครับ เอาเป็นว่า เมื่อไหร่ที่เข็มความร้อนขึ้นสูงกว่าปกติ อย่างไม่มีเหตุผล
ควรพึงระวัง โดยชะลอรถ หยุดข้างทาง (ไม่ใช่ดับเครื่องนะครับ) ดูอาการความร้อนให้ค่อยๆลดอุณหภูมิลง ระหว่างรอก็พยายามหาสาเหตุไปด้วย (มองเฉยๆ มืออย่าไปแตะส่วนที่เครื่องยนต์หรือระบบหม้อน้ำ เพราะว่าร้อนจัด) พอเครื่องลดอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติลงแล้วค่อยดับเครื่อง แก้ไขในส่วนที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการร้อนผิดปกติ ครับ จากนั้นค่อยวิ่งรถต่อครับ

สาเหตุสามัญที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน

1.เกิดการผิดปกติของวาล์วน้ำ เช่นค้าง หรือไม่ยอมเปิด

2.น้ำในหม้อน้ำมีไม่พอ ระบายความร้อนครับ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรั่วของท่อยางที่เสื่อมคุณภ าพ หรือรั่วตามข้อต่อ หรือรั่วที่หม้อน้ำเอง หรือฝาหม้อน้ำชำรุด หรือรั่วที่ตัวเครื่องยนต์

3.หม้อน้ำตัน ทำให้การระบายน้ำระบายความร้อนไม่ดีพอครับ

4.พัดลมระบายความร้อนที่หม้อน้ำ ชำรุด เช่น พัดลมไฟฟ้าไม่หมุนหรือหมุนเบา หรือน้ำมันฟรีปั๊มหมดทำให้พัดลมหมุนช้าหรือไม่หมุน

5.ฝาหม้อน้ำชำรุด ฝาหม้อน้ำจะมีสปริงวาล์วอยู่ภายในคอยปรับแรงดันน้ำให ้ระบายออกไปถ้าเกิดความร้อนจัด (ความร้อนจัดแรงดันน้ำจะสูงขึ้นเรื่อยๆ)

6.หม้อน้ำไม่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับเครื่องยนต์ ส่วนใหญ่เกิดกับคนที่ดัดแปลงเปลี่ยนขนาดของเครื่องยน ต์ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบระบายความร้อน

7.เหตุผลต่อเนื่องจากข้อ 6 คือว่า ขับรถใช้งานเครื่องเกินกำลังที่เคยใช้จากปกติ เช่น เดิมเคยขับความเร็วปกติอยู่เรื่อยๆ ไม่เคยมีความผิดปกติของความร้อนขึ้น แต่วันดีคืนดี เกิดอยากขับรถเร็วมากๆนานๆ หรือ ขึ้นเขาสูงชัน ความร้อนก็อาจจะขึ้นได้ชั่วคราว เนื่องจาก หม้อน้ำระบายความร้อนที่อยู่ในรถ เตรียมขนาดเอาไว้สำหรับขับปกติ (ไม่ได้เผื่อขนาดของหม้อน้ำไว้สำหรับใช้งานหนัก กรณีเช่นนี้ หมายถึงผู้ใช้รถบางท่านได้ทำการเปลี่ยนขนาดหม้อน้ำ ด้วยสาเหตุว่าหม้อน้ำเดิมชำรุดเกินกว่าจะแก้ไข แล้วหาขนาดหม้อน้ำเดิมไม่ได้จึงเปลี่ยนใช้ขนาดลดลง หรือจะด้วยสาเหตุอื่นๆ อีกมากมายครับ)



ย่อหน้าที่แล้วผมเล่าถึงการที่ให้หยุดรถข้างทาง(อย่าดับเ ครื่องทันที) เมื่อพบว่าความร้อนขึ้นผิดปกติ โดยรอให้ความร้อนลดลงถึงระดับปกติเดมที่เคยใช้ก่อนค่ อยดับเครื่องนั้น เพื่อป้องกันอาการช๊อคของเครื่องยนต์ เพราะว่า เครื่องยนต์ที่ร้อนจัดนั้น โลหะต่างๆยืดขยายสูงมาก อยู่ๆดับเครื่อง จะมีการหดตัวของโลหะบางอย่างจนทำให้เครื่องยนต์พังได ้ เช่น วาล์วคด ฝาสูบโก่ง เป็นต้น

อาการดังกล่าวถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์นั้น ได้กับ การออกกำลังกายจนเกิดความร้อนถึงขีดสุด แล้วหยุดออกกำลังกายทันที รีบกินน้ำเย็น พวกนี้ จะมีผลกระทบต่อระบบหัวใจโดยตรงครับ ใครที่เป็นโรคหัวใจอยู่บ้าง อาจจะช๊อคตายได้เลยครับ จริงๆแล้วต้องค่อยๆลดการออกกำลังกายให้อุณหภูมิในร่า งกายลดลงระดับที่ร่างกายรับได้ก่อนครับ


แต่ยังมีมีอีกความคิดเห็นของอีกผู้หนึ่ง ว่ากรณีหนึ่ง ที่ไหนๆก็พังแน่อยู่แล้ว ก็ไม่ควรให้พังมากขึ้นไปอีก ดังต่อไปนี้ครับ

ถ้ากรณีน้ำหม้อน้ำรั่วออกจากระบบแล้วไม่เหลือน้ำในหม้อน้ำเลย ก็ควรดับเครื่องทันทีครับ ไม่ดับก็ยิ่งร้อนแล้วจะยิ่งพังครับ แล้วห้ามเติมน้ำเข้าไปทันทีด้วย ต้องรอเครื่องเย็นก่อนถึงเติม ไม่งั้นฝาโก่งทันทีครับ (กรณีดังกล่าวส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ขับรถ ขับรถด้วยความเร็วสูง และลืมสังเกตุเกจ์ระดับความร้อนที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนถึงขีดสุดครับ) แต่กรณีอัดมาร้อนๆไม่ควรดับทั้นทีครับ เพราะการเดินเบาไว้มันจะช่วยระบายครับ แต่ถ้ายิ่งเดินเบาไปก็ยิ่งร้อนก็รีบดับดีกว่าคร ับ และบางทีพัดลมเสีย น้ำพร่อง การปิดแอร์ก็ช่วยให้เครื่องหายร้อนได้ครับ

**************************************

กรณีที่เกิดความร้อนสูงขึ้นผิดปกติ แล้วให้เข้าข้างทางหยุดรถ เพื่อให้เครื่องระบายความร้อนไปก่อน และตรวจหาสาเหตุของความร้อนขึ้นไปในตัวนั้น ผมได้กล่าวถึงว่า อย่าไปแตะต้องกับหม้อน้ำ หรือฝาหม้อน้ำนั้น สาเหตุมาจากความร้อนที่ขึ้นสูง เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ แต่จริงๆแล้ว ถ้าต้องการดู ระดับน้ำในหม้อน้ำ ก็สามารถดูได้จากระดับหม้อพักน้ำ(พลาสติค) ว่าพร่องลงไปขนาดไหน ถ้าในหม้อพักน้ำไม่มีเหลือเลย ก็สามารถตรวจสอบดูที่หม้อน้ำอย่างระมัดระวังได้ครับ โดยวิธีทำดังนี้ครับ

หาผ้าหนาๆ หรือผ้าขี้ริ้วผืนใหญ่หน่อยประกบ 2 - 3 ชั้นก็ได้ ชุบหรือราดน้ำให้เปียกชุ่ม โปะลงไปที่ฝาหม้อน้ำ เอามือประกบทับลงบนผ้าจุดที่มีฝาหม้อน้ำอยู่ด้านล่าง ค่อยๆคลายฝาหม้อน้ำทีละนิด ให้แรงดันไอน้ำค่อยๆระบายออกมาทีละนิดๆ จนกระทั่งหมดแรงดัน จึงคลายออกให้สุด จับฝาหม้อน้ำยกขึ้นมาดูน้ำภายในหม้อน้ำได้ครับ


************************************

ที่มา : http://www.clubjz.net/showthread.php?t=19361&page=3



ความร้อนของเครื่องยนต์ และวิธีแก้ไข (ตอนที่ 2)


กรณีเปิดฝาหม้อน้ำดูแล้ว เห็นว่าน้ำในหม้อน้ำไม่มีเลย ในบทความที่แล้ว เขียนบอกว่า อย่าเติมน้ำลงไปทันที โดยต้องรอให้เครื่องเย็นก่อนจึงเติมน้ำได้ เพื่อป้องกันฝาสูบโก่งนั้น

จริงๆแล้ว มีรายละเอียดมากกว่านั้นครับ เพราะว่าเวลาเรามองดูที่หม้อน้ำ (ขณะเครื่องเดินเบาอยู่) ถ้าน้ำพร่องลงไปมาก อาจจะเป็นไปได้ว่า น้ำในระบบยังแห้งไม่หมด เราก็ยังสามารถเยียวยาในขณะนั้นได้เลย แล้วเราจะมีวิธีพิจารณาว่า น้ำในระบบแห้งเหือดหายหมด หรือยังมีอยู่บ้างนั้น จะพิจารณาอย่างไร

วิธีพิจารณาเบื้องต้น ก็ดูที่ไอน้ำที่ออกมาจากปากหม้อน้ำ ถ้ายังเห็นมีไอน้ำออกมา แสดงว่า ยังมีน้ำในระบบเหลืออยู่บ้าง แต่ถ้า ออกมาน้อยหรือไม่มีเลย แสดงถึงแห้งแน่ครับ

เราก็มีวิธีเยียวยากรณีที่ยังมีน้ำเหลือในระบบบ้าง ดังนี้ครับ ค่อยๆเต็มน้ำลงไปทีละนิดๆ ให้น้ำใหม่ที่เข้าไป ผสมอุณหภูมิกับน้ำเดิมในระบบ ให้ค่อยๆ ลดระบายความร้อนครับ ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆเติมทีละนิด แล้วรอซักพัก ประมาณ 30 - 60 วินาที แล้วค่อยเติมอีกนิด แล้วรอ แบบนี้ แล้วค่อยๆเติมมากขึ้นๆ จนกระทั่งเต็มครับ แต่ห้ามเทน้ำเย็นลงไปทันทีทันใดนะครับ ฝาสูบอาจจะโก่งได้ครับ

กรณีปัญหาของความร้อนเกิดจากการรั่วของระบบนั้น ถ้าเราหาสาเหตุพบ และสามารถแก้ไข ณ จุดนั้นได้เลย ก็แก้ไขไปครับ แต่ในบางกรณี ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือ ได้แค่ปฐมพยาบาล เช่น รั่วที่ท่อน้ำ ก็หาเทปหรือผ้าผูกปิดจุดนั้นให้แน่น (แต่ก็คงยังมีรั่วซึมอยู่) เราก็สามารถน้ำรถไปวิ่งใช้งานต่อได้ หรือขับต่อไปจนไปถึงสถานีบริการซ่อมได้ครับ

เกิดกรณีคำถามที่ว่า "เมื่อมีการรั่วของระบบระบายความร้อนของน้ำเช่นนี้แล้ว ยังจะสามารถวิ่งรถต่อไปได้หรือครับ"

ขอตอบว่า ได้ครับ ตราบเท่าที่เรายังมีน้ำเติมลงไปในระบบครับ

ผมขอเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์นะครับ (อีกแล้ว)
เมื่อก่อนนี้ ระบบการแพทย์ยังไม่ทั่วถึงทุกหนแห่ง ทำให้ชาวบ้านไม่ทราบถึงวิธีการเยียวยา คนที่เป็นโรคท้องร่วง บิด หรือ ร้ายแรงระดับ อหิวาตกโรค ว่าจะทำอย่างไรให้รอดไปถึงโรงพยาบาลให้หมอเยียวยารัก ษาได้ การคมนาคม การสื่อสารก็ไม่ดีพอ ระดับความรู้การศึกษาก็ไม่ดี ทำให้โอกาสผู้รอดชีวิตจากโรคดังกล่าวมีน้อยมาก แต่ปัจจุบันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ใครๆก็รู้แล้วว่า สาเหตุที่เป็นโรคท้องร่วง เกิดจากการที่ร่างกายรับสารที่เป็นพิษ หรือมีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายมีปฏิกริยาต่อต้าน ขับสารหรือเชื่อโรคนั้นออกมาอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยน้ำที่มีอยู่ในร่างกายเป็นตัวนำพา ดังนั้น ถ้าร่างกายขาดน้ำมากๆ ก็จะเกิดอาการช๊อคตายได้ แต่ถ้าเราสกัดปิดไม่ให้น้ำนำพาสารหรือเชื้อโรคนั้นๆอ อกมา ก็จะเกิดอันตรายต่อร่างกายใหญ่หลวง สรุปว่าตายเช่นกัน

งั้นจะทำอย่างไรล่ะ วิธีง่ายๆก็แค่ เติมน้ำเข้าไปในร่างกายเรื่อยๆ ให้ระดับน้ำ เข้า = ออก ก็แก้ปัญหานี้ได้ครับ แต่ว่าน้ำในร่างกายมนุษย์ ไม่ใช่ น้ำเพียวๆนะซิครับ ยังมีเกลือแร่ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ในน้ำด้วย เราก็ควรใช้สูตรเดิมครับ เข้า = ออก คือเติมเกลือแร่และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเข้าไ ปครับ ซึ่งถ้าเราไปโรงพยาบาล คุณหมอหรือนางพยาบาลก็จะเติม สิ่งนี้ (น้ำเกลือ) เข้าไปทางร่ายกายทางเส้นเลือด แต่ถ้าเราอยู่บ้าน เราก็สามารถทำได้โดยวิธี เอาน้ำผสมเกลือแร่ ดื่มเข้าไปครับ เมื่อร่างกายไม่ขาดน้ำและเกลือแร่แล้ว ก็จะไม่อ่อนเพลีย จากนั้นค่อยไปหาหมอให้ตรวจรักษาอีกทีครับ

กรณีตัวอย่างเปรียบเทียบด้านบน ก็สามารถนำมาใช้ได้กับรถยนต์ครับ คือว่า เมื่อคุณรู้ว่ามีการรั่วของน้ำในระบบ คุณก็ควรเตรียมน้ำเอาไว้ในรถ คอยมองระดับความร้อนที่เกจ์ ถ้าเริ่มขึ้นสูงกว่าปกตินิดหน่อย ก็จอดข้างทาง แล้วเปิดฝาหม้อพักน้ำ (ไม่ใช่หม้อน้ำนะครับ แต่ถ้าจะเปิดฝาหม้อน้ำให้ทำตามวิธีที่แนะนำด้านบนครับ) เติมน้ำลงไปจนเต็ม แล้ววิ่งต่อไป ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนถึงที่หมายปลายทางครับ (กรณีที่ทราบว่ารั่วกระทันหัน ทำให้เตรียมน้ำไว้ไม่มากพอ ก็อาศัยปั๊มน้ำมันข้างทางได้นะครับ)

************************************

กรณีตัวอย่าง

เมื่อก่อนหลายปีแล้วผมเคยเจอคุณน้าท่านหนึ่งขับรถบรร ทุกส่งของ ติดเครื่องยนต์อยู่(เครื่องร้อน) แล้วเปิดฝากระโปรงรถ เติมน้ำลงในหม้อน้ำ
ผมก็ถามคุณน้าท่านนั้นว่า "น้า..น้า ทำไมต้องเติมน้ำลงในหม้อน้ำแบบนี้ล่ะครับ"
คุณน้าก็ตอบมาว่า "ปะเกนฝาหม้อน้ำของน้ามันรั่ว เวลาวิ่งรถไปไกลๆ น้ำก็รั่วออกมาทางฝาหม้อน้ำ ทำให้ความร้อนขึ้น ต้องเติมน้ำเป็นพักๆ แบบนี้บ่อยๆแหละหลาน"
ผมก็ได้แต่ อ๋อ เป็นเช่นนี้เอง ปีต่อมาผมก็เจอคุณน้า ทำแบบนี้อีกแล้ว ด้วยความสงสัยจึงถามคุณน้าไปว่า "คุณน้า ยังไม่ได้เปลี่ยน ฝาหม้อน้ำอีกหรือ น้า"
คุณน้าก็ตอบมาว่า "ฝาหม้อน้ำรุ่นนี้หายากมาก เพราะว่าเป็นรถรุ่นเก่า เวลาก็ไม่มี ต้องส่งของอยู่ประจำเลย ก็อาศัยเติมน้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆก่อน"
ผมก็คิดในใจนะครับว่า "แหม ถ้าเป็นผม ผมจะหาแผ่นยางมาตัดทำปะเกนแปะเปลี่ยนที่ฝาของเดิมที่ ชำรุด ก็สิ้นเรื่อง"

นี่ก็ผ่านไปหลายปี คุณน้าก็อายุมากแล้ว ตอนนี้ก็ไม่ได้ขับรถแล้ว แต่ตัวอย่างข้างบนที่ผมเล่ามา พอจะเป็นตัวอย่างให้ผู้ใช้รถรู้ว่า การที่เรารู้ว่ารถเรามีการรั่วในระบบระบายความร้อนนั้น ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิดเท่าไหร่หรอกครับ
บันทึกการเข้า

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Kaka
Sr. Member
****

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1645



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 28, 2014, 09:38:38 pm »

   good
บันทึกการเข้า

No:1438 นายพิชัย อร่ามจันทร์ (เค) 081-3489470 line:p12976694p
วันนี้ขับ PJS SPORT VG 178 HP ขาวมุข 4x4 ปี 2012 เพราะเมื่อก่อนขับ TRITON PLUS 140 HPดำ 4x2 ปี 2009
TAYONG
Full Member
***

like: 57
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1218


ปาเจโร่โซนตะวันตก ป๋าโย่ง คอนถมทีม 082-350-23สามห้า


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2014, 11:33:55 pm »

 Cheesy ขอบคุณครับ   suadyod  suadyod
บันทึกการเข้า
Ricer1
Newbie
*

like: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 113


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2014, 08:51:04 am »

 suadyod   เยี่ยมมักคับ
บันทึกการเข้า
seto16(เอก)
Hero Member
*****

like: 51
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2189


Soil Science is my life


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2014, 09:59:56 am »

 suadyod suadyod
บันทึกการเข้า

ไม่เคยคิดเอาชนะใคร แค่เอาชนะตัวเองก็พอแล้ว...
"อยากให้เกษตรกรไทย ใช้ปุ๋ยและสารเคมีอย่างถูกต้อง ไม่น้อยไปจนผลผลิตเสียหาย หรือมากไปจนผู้บริโภคอันตราย"
babebam
Newbie
*

like: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 122



« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2014, 12:41:06 pm »

ขอบคุณครับ  suadyod
บันทึกการเข้า

2.5 GT 4WD 2012
tee_noi
Full Member
***

like: 18
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1130


ID 1766


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2014, 08:52:32 pm »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ    suadyod
บันทึกการเข้า

จะไปทุกที่..ที่อยากไป..
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 21 คำสั่ง