หน้าที่ของน้ำมันเครื่องมีดังนี้ครับ
1. หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ที่เคลื่อนไหวภายในเครื่อง ลดแรงเสียดทาน และป้องกันการสึกหรอ
เครื่องยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนโลหะที่เคลื่อนไหวอยู่หลายส่วนด้วยกัน เมื่อเครื่องยนต์ทำหน้างาน ชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีการเคลื่อนที่จะเสียดสีกัน ทำให้เกิดความฝืด เกิดแรงเสียดทาน และเกิดการสึกหรอ น้ำมันเครื่องจะสร้างฟิล์มบางๆ เข้าไปแทรกอยู่ระหว่างผิวหน้าของชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านั้น เพื่อป้องกันการสัมผัสกันโดยตรงของโลหะ ลดการเสียดสี ลดแรงเสียดทาน และลดการสึกหรอ ทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
2. ช่วยระบายความร้อนให้แก่เครื่องยนต์
ขณะเครื่องยนต์ทำงานจะเกิดความร้อนขึ้นกับชิ้นส่วนภายในเครื่อง น้ำมันเครื่องจะเข้าไปช่วยดูดซับความร้อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนต่างๆ ออกมา และควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ให้เหมาะสม เพื่อจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้
เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะก่อให้เกิดสิ่งสกปรกหรือเขม่าตกค้างจากการเผาไหม้เกาะติดอยู่เป็นจำนวนมาก น้ำมันเครื่องจะมีสารชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ เมื่อไหลเวียนไปตามจุดต่างๆ ของเครื่องยนต์ก็จะชะล้างสิ่งสกปรกหรือเขม่า และตะกอนที่สะสมอยู่ไหลปะปนมากับน้ำมันเครื่อง แล้วเข้าสู่ไส้กรองน้ำมันเครื่อง
4. ช่วยในการรักษากำลังอัดของเครื่องยนต์
น้ำมันเครื่องจะแทรกเข้าไประหว่างลูกสูบ แหวนลูกสูบ และกระบอกสูบ ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างแรงดัดให้กับเครื่องยนต์ ป้องกันก๊าซที่เป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศไม่ให้เล็ดลอดผ่านช่างห่างระหว่างแหวน เพื่อไม่ให้กำลังอัดของเครื่องยนต์ที่อยู่บริเวณบนหัวลูกสูบรั่วไหลออกจากห้องเผาไหม้ จนทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
5. ป้องกันสนิมและการกัดกร่อนของชิ้นส่วนเครื่องยนต์
กรดที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ถูกกัดกร่อน น้ำมันเครื่องจะเคลือบผิวชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม และทำให้ความเป็นกรดลดลง
ข้อมูลจาก :
http://www.veloil.com/TestimonialsContent.php?tmid=OA==ในหน้าที่ข้อที่ 3 เหมือนซักผ้าครับ ถ้าน้ำยาซักผ้าดีก็จะดึงคราบสกปรกออกมาจากผ้ามาอยู่ในน้ำได้เยอะน้ำก็จะดำแทน แต่ถ้าน้ำยาไม่ดีเสื้อผ้าก็สกปรกเหมือนเดิมแต่น้ำที่ซักผ้าก็ยังคงความใส
ถ้าอยากให้สะอาดต้องล้างหลายๆน้ำครับ แต่กรณีของน้ำมันเครื่อง ใสแป๊บเดียวเดี๋ยวก็ดำแล้ว