ในปีแรกได้
ประกันภัยรถยนต์แถมมา หรือจะซื้อเองก็ตาม แต่ถ้าต้องการต่อ
ประกันภัยรถยนต์ผ่าน ตัวแทนประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยจะได้ส่วนลดประกันภัยกี่ % และควรต่อกับบริษัทประกันที่เดิม หรือต่อกับประกันที่ใหม่ ดีกว่ากัน
สำหรับการต่อประกันที่เดิม กรณีมีเคลม แล้วซ่อมกับประกันเดิม : ซึ่ง ได้แจ้งเคลมกับทางบริษัทประกันฯ ซึ่งเราเป็นฝ่ายผิด หรือไม่มีคู่กรณี อาจจะต้องดูความเสียหายหรือมูลค่าการซ่อม ที่บริษัทได้จ่ายไป ว่ามากน้อยเพียงใด บางทีมีเคลมนิดเดียว ก็อาจจะให้ประวัติดี 20% และเบี้ยปีหน้าอาจจะถูกลงอีก แต่ถ้าเคลมเยอะ บริษัทประกันจ่ายเยอะ นอกจากจะไม่ได้ประวัติดี แต่อาจจะต้องเสียประวัติไปอีกด้วย ส่งผลให้จ่ายเบี้ยประกันแพงขึ้นมาก
กรณีมีประวัติดี แต่รถเป็นรอย : ปีแรกทำประกันไว้กับบริษัท A ไม่มีเคลม (ไม่แจ้งเคลม เพราะอยากได้ประวัติดี) แต่รถยนต์เป็นรอย ถ้าต่อกับที่เดิมจะได้ประวัติดี เมื่อกประกันฉบับใหม่ให้ความคุ้มครองแล้ว แล้วเราค่อยเคลม ซึ่งจะกลายเป็นว่า ปีที่ 2 เรามีเคลม ทำให้เบี้ยปีที่ 3 เราอาจจะมีประวัติดีเพียง 20% หรือไม่เหลือประวัติดีเลย (ประวัตดี/ประวัติดีลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าการเคลม หรือการซ่อม และนโยบายทางการตลาดของแต่ละบริษัทประกัน)
กรณีมีประวัติดี และรถสภาพดี : สามารถต่อกับที่เดิมก็ได้ หรือต่อกับที่ใหม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเบี้ยใหม่ที่ได้รับ และข้อมูลอื่นๆ ที่จะนำมาประกอบการพิจารณา
สำหรับการต่อประกันที่ใหม่เมื่อ เราเคลมประกัน และซ่อมรถยนต์กับประกันที่เดิมเป็นที่เรียบร้อย จะมองหาประกันที่ใหม่ หลายๆ บริษัทให้ประวัติดีมาเลย 20% เพื่อจูงใจให้ลูกค้าทำประกันกับบริษัทต่างๆ และหากปีที่ 2 ไม่มีเคลม มีประวัติดี ต่อประกันปีที่ 3 จะกลายเป็น 30% ทำให้เบี้ยถูกลงกว่าเดิมครับ (แบบแรก ประวัติดีอาจจะไม่เหลือ เพราะยังไงก็ต้องเคลม)
ข้อแนะนำสำหรับการต่อประกันที่ใหม่ สำหรับ คนที่กำลังมองหา
ประกันภัยรถยนต์บริษัทใหม่ แต่รถยนต์มีรอยต่างๆ ควรรีบแจ้งเคลม และควรรีบจัดซ่อมก่อนประกันจะหมด เพราะหากรถยนต์เรายังมีรอย บริษัทประกันหลายๆ ที่ ก็จะไม่ให้ประวัติดีนะครับ เช่น ประกันจะหมดอีก 2 เดือนข้างหน้า แต่รถมีรอยที่เสียหายพอสมควร ก็ควรรีบแจ้งเคลมไปยังบริษัทประกันภัย และนัดหมายกับทางอู่ประกัน หรือศูนย์ เพื่อเข้าซ่อมแล้วเสร็จ ก่อนประกันเดิมจะหมด มีรถสภาพดี ก็พร้อมทำประกันที่ใหม่ได้แล้ว
เมื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่า ของทั้ง 2 แบบ อาจจะต้องพิจาณาว่า
1. เบี้ยประกันที่ใหม่ ถูก หรือ แพงกว่าที่เดิม อย่างไร
2. การให้บริการของบริษัทฯ ใหม่ จะได้รับการบริการที่ดีหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะต้องเปรียบเทียบ ในมิติต่างๆ (เช่น ความมั่นคง/น่าเชื่อถือ การให้บริการ จำนวนสาขา (มีรองรับพื้นที่เราหรือไม่) การบริการของตัวแทน พนักงานเคลม (มีเพียงพอกับพื้นที่ให้บริการ และเป็นของบริษัทเอง หรือ จ้างเหมามาอีกที) เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ และงานด้านสินไหม)
3. ศูนย์รถยนต์ หรืออู่ ที่ประกันคอนแทคไว้ อยู่ในพื้นที่ที่เราจะสะดวกในการขอรับบริการหรือไม่ และครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในภาพรวมหรือไม่
เกร็ดความรู้ดีๆจาก
ประกันภัยรถยนต์6 ตัวช่วย ทำประกันรถยนต์ ให้คุ้มค่าโดนทุบกระจก ทรัพย์สินสูญหาย…ประกันคุ้มครองหรือไม่เรื่องของ พ.ร.บ.เหยื่อรถชนประกันจ่ายทันทีไม่รอพิสูจน์ถูก-ผิดวิธีประหยัดเบี้ยประกันภัยรถยนต์
กรณีที่ประกันมีสิทธิ์ปฏิเสธความรับผิดชอบ
การใช้เอกสารแบบฟอร์มชนแล้วแยกแลกใบเคลม ( Knock for Knock)