การใช้รถอย่างถูกต้อง และดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
ช่วยให้ประหยัดและยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น
พฤติกรรมผิดๆ ของผู้ใช้รถ ซึ่งอาจส่งผลเสียกับรถยนต์ทันที หรือแสดงผลในภายหลัง
ส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจผิด โดยเฉพาะใน 29 เรื่องต่อไปนี้
ผิด 1. "สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง"
ถูก...อุ่นเครื่องยนต์สักหน่อยก่อนออกรถจะดีกว่า
เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง "เย็น" อยู่ เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า
หรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ
และละลายปนกับฟีล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ
นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้
ยังละลายปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย
ผิด 2. "รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน"
ถูก...รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน
รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอิน
และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป
การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง
หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 รตน. ได้ก็จะดี
และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด พูดถึงเรื่องนี้ เคยมีผู้ใช้รถบางคน
ไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเชค โดยให้เหตุผลว่า เสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้
อย่างนี้ "น่าเสียดาย" แทนจริงๆ เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์จะเรียกร้องเอากับใคร
ผิด 3. "ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดช่วยยืดอายุใบปัด"
ถูก...สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น
ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด
แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี
หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม
อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์
ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา
อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด
ผิด 4. "รถติดไฟแดงค้างเกียร์ D ไว้ดีกว่าเปลี่ยนเกียร์ว่าง"
ถูก...หยุดรถก็โอเค แต่ถ้าติดไฟแดงนานก็ต้องระวังชนคันหน้า
ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่าง และเหยียบเบรคป้องกันรถไหล
คงจะไม่มีใครเหยียบคลัทช์ และเบรค ใส่เกียร์คาไว้ ให้เมื้อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ
กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มแรก เหยียบเบรคโดยค้างเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง "D" กลุ่มที่ 2
เบรคเหมือนกัน แต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง "N" กลุ่มสุดท้าย ดันคันเกียร์มาอยู่ที่ "P"
ไม่เหยียบเบรค
ถ้าติดไฟแดงนานๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุด เพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรค
รถอาจพุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ 2 เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้าย สบายใจได้
แต่อาจจะไม่สะดวกกับการใช้งาน วิธีดีที่สุด คือ ใช้เกียร์ว่าง และดึงเบรคมือ
ผิด 5. "เดินทางไกลลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง"
ถูก...ลมน้อย ยางมีโอกาสระเบิดได้มาก
คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่า
ผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2-
3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล
ลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว
ยังอาจส่งผลเสียกับโครงสร้างยางได้ และมีโอกาสเกิด "ยางระเบิด"
มากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่มีแรงดันลมยางเกินกำหนด
เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี
อ่านต่อจากเว๊ปลิงนะครับ สบายตากว่าครับ เครดิต
http://www.oknation.net/blog/car/2007/06/01/entry-2