รถที่ผลิตในประเทศไทยเราผู้ใช้รถจำเป็นที่ต้องเสียภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.อากรขาเข้า ผู้ ผลิตจะนำชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาจากต่างประเทศเป็นบางรายการ จะถูกจัดเก็บตามอัตรา
ที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดหรือพิกัดของชิ้นส่วนนั้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ
30% ของราคา CIF
ถ้าใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศทั้งหมดก็จะไม่เสียภาษีในส่วนนี้
2.
ภาษี สรรพสามิต (อันนี้นี่แหละที่เขาจะคืนให้สำหรับรถคันแรก) จะถูกจัดเก็บอัตราเดียวกับการนำเข้ารถทั้งคันจากต่างประเทศ
โดยคำนวณจากราคาหน้าโรงงาน และกรมสรรพสามิตจะพิจารณารับราคาหน้าโรงงานนี้ไม่ต่ำกว่า
76% ของราคาขายปลีกที่ขายให้กับผู้บริโภค คือ ถ้าราคาขายปลีกอยู่ที่ 100 บาท (รถยนต์ไม่เกิน 2,000 ซีซี)
ก็จะใช้ราคาหน้าโรงงานที่ 76 บาทมาคำนวณตามสูตร "ฝังใน" เพื่อให้ได้ภาษีสรรพสามิต
3.
ภาษีมหาดไทย คิดที่อัตรา
10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย
4.
ภาษี มูลค่าเพิ่ม 7% กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ เหมือนกรณีที่ 1 สมมติให้รถขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี
ราคารถหน้าโรงงานอยู่ที่ 100 บาท ภาษีสรรพสามิตก็จะอยู่ที่ 80.60 บาท บวกด้วยภาษีมหาดไทย 8.1 บาท
และภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.2 บาท ก็จะได้ราคาขายปลีกเท่ากับ 201.9 บาท
หรือถ้าคิดในมุมกลับภาษีรวมของรถที่ผลิตในประเทศจะมีมูลค่าประมาณ 40-70% ของราคาขายปลีก
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ ยิ่งปริมาตรกระบอกสูบมาก มูลค่าภาษีก็จะสูงตาม
ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อรถที่ผลิตในประเทศ เครื่องยนต์ 1,800 ซีซี ในราคา 7 แสนบาท
หมายความว่า เราได้จ่ายภาษีให้รัฐประมาณ 2.8-3 แสนบาท
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1347549398&grpid=09&catid=00&subcatid=0000