พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ร่างดังกล่าวจะแก้ไข 2 ประเด็นสำคัญคือ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142 เกี่ยวกับกำหนดข้อสันนิษฐานในกรณีผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบว่าหย่อนความ สามารถในการขับขี่โดยไม่มีเหตุอันควร ซึ่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมใหม่จะให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้า หน้าที่สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ เมื่อเห็นว่ารถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ และในกรณีที่ผู้ขับขี่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าเสี่ยงเมาสุรา หรือขับรถในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือขณะเมาสุราหรือของเมาอย่าง อื่นหรือไม่
กฎหมายใหม่ระบุอำนาจเจ้าพนักงานจราจรว่า สามารถสั่งให้ผู้ขับขี่ขับรถเข้าช่องทางที่มีกรวยวางตั้งไว้ ให้ไขกระจกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ยื่นอุปกรณ์เข้าไปตรวจวัดแอลกอฮอล์เข้าไปในรถ ได้ หรือเรียกให้ผู้ขับขี่เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์ รวมทั้งสั่งให้ลงจากรถเพื่อดูว่าร่างกายสามารถรักษาสมดุลของการเดินได้หรือ ไม่ หากผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าหน้าที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นเมาสุรา เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีฐานขับรถขณะเมาสุราได้
สำหรับบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนร่างกฎหมายใหม่ กรณีผู้ขับขี่ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานในการทดสอบ เดิมระวางโทษปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท กรณียินยอมให้ทดสอบแต่พบว่าเมาสุราขณะขับรถ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบขับขี่ แต่กฎหมายใหม่ได้ปรับเพิ่มความเข้มงวดในการเอาผิดทางกฎหมาย โดยกรณีไม่ยินยอมให้ทดสอบให้สันนิษฐานว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาไว้ก่อนจะ มีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ถูกกล่าวหาไปสืบพยานหักล้างในศาลได้
เหตุผลที่ต้องเพิ่มบทลงโทษ เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้ขับขี่มักปฏิเสธให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ อีกทั้งการขับรถขณะเมาสุรามีโทษน้อยมาก จึงมักละเลยขับรถโดยประมาท ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมจึงถือเป็นมาตรการป้องปรามและขอความร่วมมือ จากประชาชนเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ทางหนึ่ง โดยร่างกฎหมายดังกล่าวจะอยู่ระหว่างรอการนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อผ่าน ร่างและมีผลบังคับใช้ต่อไป
สรุปความสั้น ๆ ต่อไปไม่ให้ตรวจแอลกอฮอล์ เท่ากับเมาแล้วขับ เกร็ดความรู้ดีๆ จาก
ประกันภัยรถยนต์ เมาแค่ไหนประกันภัยไม่คุ้มครอง