อ้างอิงจาก ป๋ายูโทเปีย พระาม9
2.5 ธรรมดา บูทเท่ารัยครับ ถ้าจะเพิ่ม ต้องทำยังงัยบ้างครับ
โดยประมาณที่ 1 บาร์ หรือ 14.7 ปอนด์ แต่ผมตีเป็น 15 ปอนด์ก็แล้วกันนะครับง่าย ๆ ดี การเพิ่มบูสท์ทำได้หลายวิธิครับ
รองแหวนขาเวสเกต 4 มิล / หมุนโข่งหน้าเทอร์โบ / ปรับบูสท์มือ ซึ่งการปรับดังกล่าวสามารถเพิ่มอัตราบูสท์ได้
ประมาณ 3-10 ปอนด์ครับ แล้วแต่วิธีแต่ในรถเดิม ๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มการเพิ่มอัตรบูสท์
ทำได้เต็มที่ไม่เกิน 17-18 ปอนด์ครับ เพราะกล่องหลักจำกัดอัตราบูสท์เอาไว้เท่านั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นในระบบ หากมีแรงดันในท่อร่วมเกินกว่าที่กำหนด
กล่องหลักจะ Drop การทำงานของเครื่องยนต์ทันที (หัวทิ่ม) เพราะรถจะตื้อลงทันที ความเร็วที่ขับได้แค่ 60 เท่านั้น ไฟรูปเครื่องจะโชว์ทันที ต้องจอดดับเครื่องแล้วสตาร์ทใหม่เพื่อให้ไฟรูปเครื่องดับ ต้องดับเครื่องและสตาร์ททิ้งไว้ 5 วิแล้วดับเครื่องสตาร์ทใหม่ ทำประมาณ 2 ครั้งครับ ไฟรูปเครื่องโชว์ถึงจะดับ
การเพิ่มอัตราบูสท์นั้นคือ การทำให้ขาสปริงภายในของเวสเกตแข็งขึ้นเพื่อให้ทนต่อแรงดันปริมาณไอเสียมากขึ้นทำให้เวสเกตเปิดช้าลง จึงได้อัตราบูสท์ที่สูงขึ้นครับ ถ้ารถไม่ได้ทำอะไรเพิ่ม เช่นการกล่องพ่วงต่าง ๆ หรื่อลงโปรแกรมเครื่อง 3.2 (เรียกกันว่า โปร 3.2) ในเครื่อง 2.5 การเพิ่มอัตราบูสท์เทอร์โบก็ไม่เห็นผลมากนัก เพราะปริมาณแรงดันและน้ำมันในระบบก็ยังเท่าเดิม อากาศมาได้มากแต่น้ำมันเท่าเดิม ส่วนผสมไม่พอดีกัน ก็เห็นผลได้ไม่มากครับ
ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วยครับ
รถเดิมๆ เขากำหนดบูสมาเพื่อให้รอยต่อเกียร์สมูท ฉะนั้นอย่าปรับเยอะ
เพราะบูสที่วิ่งดีที่สุดคือบูสที่สัมพันธ์กับการไหลของความสมดุย์การสันดาปของการจุดระเบิดและการคลายไอเสีย ในความเร็วรอบต่างๆ การปรับบูสที่เกินความจำเป็นมีแต่การเพิ่มการสึกหรอของเครื่องยนต์ แต่แรงบิดและแรงม้าที่เพิ่มขึ้นตามมาในช่วงที่ปรับเกินความพอดีขึ้นมานั้น จะใช้ไม่ได้ประสิทธิภาพดีเท่าการปรับจูนที่พอดีกับความสมดุลย์ ที่ Hardware ของเครื่องยนต์
กรณีรถที่มีการปรับแต่งทั้งกล่อง หรือหัวฉีด หรืออะไรก็ตาม ยกตัวอย่างรถผม ลองขับที่ boost สูงกว่าจุดตัดความสัมพันธ์นั้น ก็เห็นว่าดีกว่า แรงกว่า มันส์กว่า แต่พอลดบูสลงมานิด กลับไม่ดีเท่าแต่ชอบกว่า เพราะเป็นธรรมชาติและเนียนต่อเนื่องดีกว่า (ที่อ้างอิงนี้ ไม่พาดพิงถึงการตกแต่งเพื่อความแรง นะครับ คนละเป้าหมายกัน)
ในรถที่เป็นพวกเทอร์โบแปรผัน จะมีการทำงานแปรผันตามกำลังรอบเครื่องยนต์และมีการเพิ่มกำลังอัดอากาศขึ้นเองจากการออกแบบใบพัดกวาดไอดีภายในตัวเทอร์โบ โดยที่รอบของแกนเทอร์โบหมุนเท่าเดิม แต่ข้อดีตรงนี้ยังมีข้อด้อนแผงอยู่ก็คือ จังหวะที่ใบกำลังจะสลัดไม่สลัดออกมานั้น จะมีอาการบูสไม่นิ่ง หากไปขับให้รอบเครื่องยนต์อยู่ในช่วงนั้น อาจเกิดการสำลักหรือสดุดได้บ้าง แต่หากเป็นการกดคันเร่งแบบต่อเนื่องส่งผ่านรอบเครื่องขึ้นไป จนการทำงานของเทอร์โบแปรผันไปตามรอบนั้น จะใช้ประโยชน์จากบูสที่มากขึ้นนี้ ในขณะที่ความเร็วรอบของแกนเทอร์โบเท่าเดิม และต้องสัมพันธ์กับหัวฉีดที่รุ่น VG ใส่มาให้ 7 รู ด้วย จึงจะเห็นว่าการออกแบบลักษณะแบบนี้ มีความแตกต่างชัดเจนและได้ผลดีกว่า
สำหรับรถที่เทอร์โบไม่แปรผัน อย่าเพิ่งเสียใจ เพราะเทอร์โบแบบเดิมๆที่ไม่แปรผันหากมีการปรับจูนที่สัมพันธ์กันแล้ว ช่วงรอบเครื่องจะสมูทดีกว่าแบบแปรผัน แต่จังหวะดึงอาจต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้ว ไม่หนีกันชัดเจนและขึ้นอยู่กับความได้เปรียบของเจ้าของรถที่รู้จังหวะอัตราตอบสนองของรถตัวเองมากกว่า
เพื่อเป็นข้อมูล รบกวนหาข้อมูลจากที่อื่นเปรียบเทียบอีกครั้งก่อนพิจารณาตัดสินใจ ครับ