Languages
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คิดยังงัย...รัฐจะห้ามติด GAS LPG ในรถยนต์  (อ่าน 34225 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 16 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
xenogear
Full Member
***

like: 18
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1056



อีเมล์
« ตอบ #60 เมื่อ: เมษายน 01, 2013, 09:03:52 pm »

ผมชอบคำนี้ของป๋ามากเลยครับ "รวยกระจุก จนกระจาย" มันโดนครับ  like like like  good good good
บันทึกการเข้า
Choke PK
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


choke.w@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #61 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 09:02:25 am »

ครับไปหาข้อมูลมาให้ครับ


  "การเข้ามาในตลาดกาซ LPG ของภาคขนส่งของบริษัท ปตท.อย่างเต็มตัว จากที่เคยปิด ๆ บัง ๆ กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่ยอมให้ผู้ค้ายกป้าย ปตท.เหมือนในอดีต น่าจะเป็นผลมาจากจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งกาซ LPG มีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับบริษัท ปตท.เป็นทั้งผู้ผลิตและนำเข้ากาซ LPG จากต่างประเทศ ด้วยวิธีการที่พิสดาร กล่าวคือ นำเข้ามาในราคาตลาดโลก แต่ต้องมาจำหน่ายในราคาขาดทุนตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ ปตท.เป็นผู้อุดหนุนส่วนต่างราคากาซทั้ง LPG/NGV ไปก่อน โดยกาซที่ผลิตและนำเข้ามาดังกล่าว ปตท.ต้องขายให้ผู้ค้ากาซรายอื่นๆ ในราคาอุดหนุนเช่นกัน"
          ที่ผ่านมา ผู้ค้ากาซทุกรายต่างได้รับอานิสงส์จากการอุดหนุนราคากาซ LPG จาก ปตท. ตรงนี้จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมปัมกาซ LPG ของบริษัทสยามแกส-เวิลด์แกส-ยูนิค-ปิคนิค จึงขยายตัวขึ้นทุกปี จากส่วนต่าง "กำไร" ที่เกิดขึ้นจากการขายปลีก
          ในขณะที่บริษัท ปตท.ต้องนั่งมองคนอื่นโกยกำไรจากการที่ตัวเองอุดหนุนราคาให้เขาไปเฉย ๆ สุดท้ายก็ต้องตัดสินใจลงมาเล่นในตลาดปัมกาซ LPG อย่างเต็มตัวในที่สุด ทั้ง ๆ ที่ดูขัดแย้งกับนโยบายส่งเสริมให้ใช้กาซ NGV ที่ตัวเองผลิต/จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน


จากแหล่งข่าว
http://www.its.in.th/index.php/component/content/article/1-latest-news/9155-32lpg--cng-

ป๋าอยู่ในองค์กร ปตท.ไหมครับ ที่อยากทราบคือ ข้อมูลภายในที่พอจะเปิดเผยได้
ไม่ได้อยากทราบข้อมูลที่ลิ๊งกันไปลิ๊งกันมา เพราะแหล่งข่าวอื่นๆ ผมก็ติดตามมาเรื่อยๆครับ
ส่วนมากสื่อจะโดนซื้อหมดแล้ว น้ำท่วมปากกัน ข้อมูลเลยจะเชื่อถือไม่ค่อยได้ครับ

ผมอยากทราบว่าคำถามต่อไปนี้ จริง หรือ ไม่ ครับ

1.จริงไหมที่ ปิโตรเคมีซึ่งเป็นองค์กรของคนแค่บางกลุ่ม ใช้ LPG ในราคาที่ถูกกว่าประชาชนทุกคน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากร
2. จริงไหมที่ ปิโตรเคมี ขยายตัวจน LPG ในประเทศไม่พอใช้ จึงต้องนำเข้า หรือ หาวิธีลดปริมาณการใช้ เช่น ไม่ให้ใช้ในรถยนต์

ขอแค่ 2 ข้อนี้ก่อนครับ คำตอบเป็นความเห็นส่วนตัวก็ได้นะครับ ป๋าทุกท่านช่วยตอบได้นะครับ พร้อมเหตุผล
ไม่ต้องทำลิ๊งไปที่ไหนในเลอะเทอะนะครับ ขอเป็นแบบความเห็นส่วนตัวจากข้อมูลที่เคยได้รับมาก็ได้ครับ
สั้นๆ กระชับๆครับ


ประเทศไทยโชคดีมากที่แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยนั้นเป็นแหล่งก๊าซชนิดเปียก (Wet Gas) ซึ่งสามารถนำมาเข้าโรงแยกก๊าซแล้วแยกก๊าซที่มีคุณค่าสูง เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน ออกมาใช้เป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสำหรับใช้ในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ สามารถเพิ่มมูลค่าได้อย่างมหาศาล

โดยก๊าซธรรมชาติที่ผ่านโรงแยกก๊าซแล้วนำไปป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานปิโตรเคมีนั้นจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 5.3 เท่า ในขณะที่ถ้านำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มมูลค่าได้เพียง 1.1 เท่า และถ้านำไปใช้ในภาคครัวเรือนหรือขนส่งจะเพิ่มมูลค่าได้เพียง 1.8 เท่า เท่านั้น

ดังนั้นถ้าพิจารณาในแง่ของยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ เราย่อมต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่สร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงที่สุดก่อน ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของการสร้างโรงแยกก๊าซก็คือ ต้องการก๊าซเพื่อมาป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด

ซึ่งภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยก็สามารถใช้ความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบแข่งขันกับต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยสามารถพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จนทำรายได้จากการส่งออกได้เป็นเงินหลายแสนล้านบาท ติดอันคับ 1 ใน 5 ของประเทศ และมีการจ้างงานประมาณ 5 แสนคน

-------
จากข้อมูลข้างบน ผมสรุปได้ว่า กำไรที่ได้จากภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง ยังน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับกำไรที่ได้จากภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องลดการใช้ก๊าสจากภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง หรือไม่ก็ขึ้นราคาให้มีกำไรเพิ่มขึ้น

ประชาชนโดยรวมทั้งประเทศ ได้ประโยชน์อะไรจากการให้ความสำคัญกับการมุ่งทำกำไรมากมายของ ปิโตรเคมี 
แต่ประชาชนต้องใช้แก๊สแพงขึ้น หรือ บังคับให้ลดการใช้ทั้งประเทศ

ทำกำไรได้มาก แต่ประชาชนอดอยาก ข้าวของแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น แล้วกำไรที่ว่ามันไปตอบแทนประชาชนอย่างไรครับ
รวยกระจุก จนกระจายหรือเปล่าครับ


ที่ผมเอาข้อมูลนี้มาให้ดูก็เพราะอยากให้รู้ครับ ว่าพวก ปตท.มันคิดแบบนี้ไงครับ มันหวังแต่กำไรสูงสุด แล้วก็มาตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จอ้างโน่นนี่นั่นในการขึ้นราคา ทั้งๆที่ ปตท.นำเข้าก๊าซLPGมาใช้ในอุตสาหกรรมของตัวเองแต่ให้รัฐบาลอุดหนุนราคาให้ โดยที่ความเป็นจริงรัฐบาลควรอุดหนุนราคาLPGให้เฉพาะภาคขนส่งกับภาคครัวเรือนเท่านั้น เพื่อนๆผมทำงานอยู่ใน ปตท.หลายคน เจอกันเมื่อไหร่ ผมก็ด่ามันเรื่อง ปตท.มันโกง ผมก็ไม่เห็นว่าพวกมันจะเถียง แต่พวกมันพูดอะไรไม่ได้ เพราะเค้าจ้างแพงใครจะทุบหม้อข้าวตัวเองล่ะ
บันทึกการเข้า

"ประสบการณ์ คือ สิ่งที่คุณได้ เมื่อคุณไม่ได้สิ่งที่คุณต้องการ"
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



อีเมล์
« ตอบ #62 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 06:57:46 pm »

ขอตอบก่อนน่ะครับ


ป๋าอยู่ในองค์กร ปตท.ไหมครับ ที่อยากทราบคือ ข้อมูลภายในที่พอจะเปิดเผยได้
ไม่ได้อยากทราบข้อมูลที่ลิ๊งกันไปลิ๊งกันมา เพราะแหล่งข่าวอื่นๆ ผมก็ติดตามมาเรื่อยๆครับ
ส่วนมากสื่อจะโดนซื้อหมดแล้ว น้ำท่วมปากกัน ข้อมูลเลยจะเชื่อถือไม่ค่อยได้ครับ

ผมอยากทราบว่าคำถามต่อไปนี้ จริง หรือ ไม่ ครับ

1.จริงไหมที่ ปิโตรเคมีซึ่งเป็นองค์กรของคนแค่บางกลุ่ม ใช้ LPG ในราคาที่ถูกกว่าประชาชนทุกคน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากร  ไม่จริงครับ ข้อมูลการถือหุ้นสามรถตรวจสอบได้จาก Setrade.com  ส่วนบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ ปิโตรเคมีคือ ปตท.โกลบอล (PTTGC) และระยองโอเลฟิน ROC  ของปูนซีเมนท์ไทย      ส่วนก๊าซ  LPG ปิโตรเคมีจะอ้างอิงกับราคาผลิตภัณฑ์ของเม็ดพลาสติกครับ  ซึ่งจะขึ้นลงตามดีมานของการใช้เม็ดพลาสติกในโลกครับ   ซึ่งอาจจะแพงกว่าหรือถึงกว่าราคาของภาคครัวเรือนก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแต่ละช่วงเวลานั้นๆครับ  




2. จริงไหมที่ ปิโตรเคมี ขยายตัวจน LPG ในประเทศไม่พอใช้ จึงต้องนำเข้า หรือ หาวิธีลดปริมาณการใช้ เช่น ไม่ให้ใช้ในรถยนต์  กลุ่มปิโตรเคมีได้เพิ่มสัดส่วนการส่ง LPG ไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือThe National Economic and Social Development Plan  โดยได้มีแผนล่วงหน้ามาอยู่แล้ว  โดยก่อนการนำเข้าได้มีการคำนวณไว้แล้วว่า  LPG ที่ผลิตได้ตั้งจ่ายเข้ากลุ่มปิโตรเท่าไรโดยไม่มีการนำเข้า    แต่จาก 3-4 ปีที่ผ่านมากลับพบว่าสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากผิดปกติแบบก้าวกระโดดคือกลุ่มที่ใช้กับยานยนต์ครับ  จนจากที่เหลือส่งออกและส่งออกให้กับกลุ่มปิโตรกลับกลายเป็นว่าจะต้องนำเข้ามาจาก  ตปท  โดยราคานำเข้าจะนำเข้าในราคาตลาดโลกครับ  โดยผ่านบริษัท ปตท จะเป็นผู้นำเข้าโดยรัฐจะจ่ายส่วนต่าง ให้กับ ปตท เอง  โดยปัจจุบัน ราคาขายหน้าโรงแยกจะราคา Fix  ไว้ที่ 333 US per ton  สมมติว่าราคาตลาดโลกราคา 400  รัฐจะจ่ายคืน ปตท  67 US per ton (รัฐไม่ได้จ่ายคืนให้กลุ่มปิโตรน่ะครับเพราะกลุ่มปิโตรราคาอิงเม็ดพลาสติก)     ส่วนที่รัฐไม่อยากให้เติมยานยนต์ก็อาจเนื่องมาจากที่ต้องมาเสียส่วนต่างราคานี่แหร่ะครับ   แต่ถ้าหากกลุ่มยานต์ยนต์ยอมที่จะให้เป็นไปตาราคาตลาดโลกรัฐเค้าคงไม่ห้ามหร่อกครับ

ขอแค่ 2 ข้อนี้ก่อนครับ คำตอบเป็นความเห็นส่วนตัวก็ได้นะครับ ป๋าทุกท่านช่วยตอบได้นะครับ พร้อมเหตุผล
ไม่ต้องทำลิ๊งไปที่ไหนในเลอะเทอะนะครับ ขอเป็นแบบความเห็นส่วนตัวจากข้อมูลที่เคยได้รับมาก็ได้ครับ
สั้นๆ กระชับๆครับ
 ส่วนบางลิ้งผมจะเอาที่เป็นหน่วยงานที่เชื่อถือได้มาให้ดูครับ  หากผมพูดแบบนี้ไม่มีคนเชื่อผมหร่อก


[/quote]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2013, 07:09:54 pm โดย nopphadolptt » บันทึกการเข้า
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



อีเมล์
« ตอบ #63 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 07:06:48 pm »

ประเทศไทยโชคดีมากที่แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยนั้นเป็นแหล่งก๊าซชนิดเปียก (Wet Gas) ซึ่งสามารถนำมาเข้าโรงแยกก๊าซแล้วแยกก๊าซที่มีคุณค่าสูง เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน ออกมาใช้เป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสำหรับใช้ในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ สามารถเพิ่มมูลค่าได้อย่างมหาศาล

โดยก๊าซธรรมชาติที่ผ่านโรงแยกก๊าซแล้วนำไปป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานปิโตรเคมีนั้นจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 5.3 เท่า ในขณะที่ถ้านำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มมูลค่าได้เพียง 1.1 เท่า และถ้านำไปใช้ในภาคครัวเรือนหรือขนส่งจะเพิ่มมูลค่าได้เพียง 1.8 เท่า เท่านั้น

ดังนั้นถ้าพิจารณาในแง่ของยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ เราย่อมต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่สร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงที่สุดก่อน ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของการสร้างโรงแยกก๊าซก็คือ ต้องการก๊าซเพื่อมาป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด

ซึ่งภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยก็สามารถใช้ความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบแข่งขันกับต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยสามารถพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จนทำรายได้จากการส่งออกได้เป็นเงินหลายแสนล้านบาท ติดอันคับ 1 ใน 5 ของประเทศ และมีการจ้างงานประมาณ 5 แสนคน

-------
จากข้อมูลข้างบน ผมสรุปได้ว่า กำไรที่ได้จากภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง ยังน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับกำไรที่ได้จากภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องลดการใช้ก๊าสจากภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง หรือไม่ก็ขึ้นราคาให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
จากหั่วจั่วก็ดูมีเหตุผลนะครับ  แต่ช่วงท้ายนี่คุณเข้าใจผิดไปแล้วหร่ะว่า ปตท  ได้กำไรจากการขายก๊าซให้กับ  ภาคครัวเรือน  ราคาขายเข้าถูกกำหนดราคาไว้แค่ 330  คุณไม่คิดเหรอว่าต้นทุนมันเท่าไร ข้อมูลที่ผมมีเข้าใจว่าโรงแยกขาดทุนการขายแอลพีจีให้ภาคครัวเรือนนะ  ยิ่งยานยนต์ไม่ต้องพูดถึงกลุ่มยานยนต์ก็เอาจากภาคครัวเรือนนี่แหร่ะไปขายต่อ
บันทึกการเข้า
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



อีเมล์
« ตอบ #64 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 07:14:11 pm »


[/quote]
ที่ผมเอาข้อมูลนี้มาให้ดูก็เพราะอยากให้รู้ครับ ว่าพวก ปตท.มันคิดแบบนี้ไงครับ มันหวังแต่กำไรสูงสุด แล้วก็มาตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จอ้างโน่นนี่นั่นในการขึ้นราคา ทั้งๆที่ ปตท.นำเข้าก๊าซLPGมาใช้ในอุตสาหกรรมของตัวเองแต่ให้รัฐบาลอุดหนุนราคาให้ โดยที่ความเป็นจริงรัฐบาลควรอุดหนุนราคาLPGให้เฉพาะภาคขนส่งกับภาคครัวเรือนเท่านั้น เพื่อนๆผมทำงานอยู่ใน ปตท.หลายคน เจอกันเมื่อไหร่ ผมก็ด่ามันเรื่อง ปตท.มันโกง ผมก็ไม่เห็นว่าพวกมันจะเถียง แต่พวกมันพูดอะไรไม่ได้ เพราะเค้าจ้างแพงใครจะทุบหม้อข้าวตัวเองล่ะ
[/quote]  คนใน ปตท  ไม่ได้รู้เรื่องการกำหนดราคาโครงสร้างราคาทุกคนหร่อกครับ   ที่เค้าไม่เถียงไม่ใช่ว่าที่คุณพูดมันจะจริงเขาเลยไม่ตอบมั่ว    ส่วนคนที่มั่วด่าแต่ตัวเองยังไม่รู้เรื่องที่ตัวเองด่า  แล้วยังด่าไปทั่ว  เค้าเรียกว่า....
บันทึกการเข้า
Choke PK
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


choke.w@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #65 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 10:18:15 pm »

 like like like like like
ผู้สนับสนุนการกอบโกย
บันทึกการเข้า

"ประสบการณ์ คือ สิ่งที่คุณได้ เมื่อคุณไม่ได้สิ่งที่คุณต้องการ"
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



อีเมล์
« ตอบ #66 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 10:35:47 pm »

like like like like like
ผู้สนับสนุนการกอบโกย
กอบโกยอะไรเหรอครับเขาดำเนินธุรกิจมันก่ต้องมีกำไร   แต่ต้องดูว่ากำไรมันสมเหตุสมผลไหม  หากคุณมีข้อมูลว่ามันไม่สมเหตุสมผลก่เอาข้อมูลมาแย้งอย่ามาอคติมั่วคิดเองเออเอง  ผมถามว่าคุณทำนาขายข้าวขาดทุนคุณทำไหม  บริษัทต่างชาติมาเปิดโรงงานเมืองไทยใช้แรงงานคนไทยทรัพยากรในไทยต้องขายขาดทุนให้คนไทยหรอมีที่ไหรเขาทำกันครับ  อ่อผมไม่ได้ทำงาน ปตท  น่ะเข้าใจผิด   ผมทำงานด้านการตรวจราคาพลังงาน ของ สนง ตรวจเงินแผ่นดิน ผมก่เห็นมันยังปกติดี  แอลพีจีในรถผมก่ใช้ครับ แต่ผมเข้าใจและยอมรับในโลกความเป็นจริงไม่ใช่เอะอะโวยวายอยากใช้ของถูกแล้วมานั่งแบมือขอรัฐบาล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2013, 10:37:23 pm โดย nopphadolptt » บันทึกการเข้า
Choke PK
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


choke.w@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #67 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 10:40:54 pm »

 
บันทึกการเข้า

"ประสบการณ์ คือ สิ่งที่คุณได้ เมื่อคุณไม่ได้สิ่งที่คุณต้องการ"
suPreme
Global Mod
Hero Member
*

like: 46
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2418


ปาไทยแลนด์ 2805


« ตอบ #68 เมื่อ: เมษายน 02, 2013, 11:56:51 pm »

ขอบคุณป๋าทุกท่านที่พยายามช่วยกันชี้แจงข้อมูลที่ตัวเองมี สุดท้ายยังไงก็ขออย่าขัดแย้งจนถึงขั้นเรียกว่าเราทะเลาะกันนะครับป๋าๆ  good  
ทุกอย่างที่เกิดตอนนี้เหมือนมันเป็นปัญหาเพราะต้องการหาทางออกที่เรียกได้ว่าแก้กันไปวันๆ แต่ก็อย่างที่ป๋าบอกว่าธุรกิจทำต้องมีกำไร ทุกอย่างมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องหมด แต่หากกำไรนั้นวนกลับมาให้ประชาชนก็คงจะดีกว่า ทุกวันนี้อะไรๆ รัฐก็ทำเองไม่ได้ ใช้การขายสัมปทานไปเพื่อให้ได้การพัฒนา ก็ยังคิดๆอยู่ต่อไปประเทศเราจะมีสมบัติอะไรเหลือไว้ให้ลูกหลานบ้าง
แต่ยังไงฉันก็รักเธอนะ ...ประเทศไทย... hi  red heart
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2013, 11:58:23 pm โดย suPreme » บันทึกการเข้า

"พรีม" คือชื่อลูกสาวผมคร๊าบ แต่ตัวเองชื่อว่า "เก๋"
URC Garage (เบียร์)
^ ^V
Newbie
*

like: 8
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 278


รายงานตัว

phenic_@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #69 เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 12:35:21 am »

อย่าทะเลาะกันครับ อย่าด่าว่ากันแรงๆ ผมอยากคุยกันให้ทราบถึงเหตุผลที่มันต้องเป็นแบบนี้

เท่าที่เคยเห็นกราฟการใช้ LPG ในประเทศ ก้าวกระโดดจะเป็นกลุ่มปิโตรเคมีไม่ใช่หรือครับ มีการเติบโตเร็วมาก
เพราะกำไรเยอะ เพราะได้ใช้แก๊สในราคาถูกกว่าประชาชนทุกคนมาตลอด โดยการอิงราคาเม็ดพลาสติค
ซึ่งแปลกไหมครับ ตั้งราคาต้นทุนแปรผันตามราคากลางสินค้า ถ้าจะเป็นแบบนั้น ในภาคครัวเรือน
หรือ ยานยนต์ทำเหมือนกันได้ไหมครับ กระทรวงพานิชย์ตั้งราคากลางข้าวแกงจานละกี่บาท
ก็ไปกำหนดราคาLPGที่ซื้อจากปตท.ได้

ผมไม่ได้ติดใจเรื่องราคาขายLPG ให้กับประชาชนจะแพงหรือไม่
แต่ติดในตรงที่วิธีการทำแบบนี้มันถูกต้องยุติธรรมไหม
ปิโตรเคมี มาแบ่งการใช้มากจนไม่พอใช้เนื่องจากเติบโตเร็ว
จึงต้องนำเข้าแล้วพอนำเข้ามาในราคาที่แพงจึงต้องขึ้นราคา
ในทุกภาคส่วน

สมมติเป็นนิทานนะครับ

ถ้ามีชาย 2 คนอยู่ร่วมห้องเดียวกันในหอพักแห่งหนึ่ง

คนที่หนึ่งชื่อ นายครัวเรือน
คนที่สองชื่อ นายยานยนต์
อยู่กันอย่างมีความสุขดีมาหลายสิบปี หุงข้าวกินด้วยกันมาในหม้อข้าวใบหนึ่ง
ซึ่งข้าวก็ส่งมาจากญาติที่อยู่ต่างจังหวัดของทั้งสองคนทุกเดือนอย่างพอเพียง

ต่อมา มีเพื่อนตัวอ้วนมาขออยู่ด้วยชื่อ นายปิโตรเคมี มาขอข้าวในหม้อข้าวใบนี้ไปทำข้าวผัดขายนะได้กำไรเยอะด้วย
ปรากฎว่าขายดีได้กำไรเยอะ ข้าวในหม้อก็เลยไม่พอ ก็เลยบอกว่าให้นายยานยนต์ นายเลิกกินข้าวหม้อนี้เหอะ
เราไม่พอขาย และข้าวที่ส่งมาจากญาติต่างจังหวัดก็ไม่พอด้วย จึงต้องซื้อมาเพิ่ม โดยให้นายครัวเรือนช่วยแชร์ค่าใช้จ่ายด้วย

ถามว่ายุติธรรมกับนายยานยนต์ กับ นายครัวเรือนไหมครับ?

และกำไรที่นายปิโตรเคมีขายข้าวได้ กลับมาให้ประโยชน์อะไรกับนายยานยนต์ และ นายครัวเรือนบ้างไหม?

ปิโตรเคมมี เป็นของคนกี่คน คนพวกนั้นเดือดร้อนเรื่องเงินกันไหม
ภาคยานยนต์ และ ภาคครัวเรือนเป็นกลุ่มประชาชนใช่หรือไม่
จะมีประชาชนกี่คนที่เดือดร้อน เขาร่ำรวยกันไหมครับ
แก๊สในภาคประชาชนเป็นเรื่องของปากท้อง ปัจจัยพื้นฐานเลยนะครับ

ถ้ายานยนต์ยอมถอย ตอนนี้พอใช้ ต่อไปปิโตรเคมีขยายจนไม่พออีก
ภาคครัวเรือนต้องถูกบังคับให้ไปใช้เตาถ่าน หรือ เตาไฟฟ้าไหมครับ

ผมแค่ตั้งกระทู้ให้เห็นภาพ ที่ผมเห็น ซึ่งถ้าตรงไหนไม่จริงก็คุยกันด้วยเหตุและผล
ป๋านพดลPTT ไม่ใช่คนของปตท.ก็ไม่เป็นไร ถือว่าคุยกันครับ

ผมว่าตอนนี้มันซึมลึกไปแล้ว จะให้เลิกการเอาเปรียบโดยสันติคงจะยากมาก
แต่ก็ไม่อยากให้มีการนองเลือดกัน ไม่อยากให้เป็นเหมือนกับว่าเกลียด ปตท.
เกลียดพนักงานปตท.เกลียดนักการเมืองบางคน จนต้องมีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น

และก็ไม่เข้าใจว่าจะเอาเงินทอง ทรัพย์สมบัติเยอะๆไปทำไมกันนักหนา
อายุเท่าไหร่กันแล้วครับ อีกไม่กี่สิบปีก็ตายกันหมดแล้วนะครับ ทำความดีติดตัวกันไปดีกว่าครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 03, 2013, 01:00:51 am โดย URC Garage (เบียร์) » บันทึกการเข้า

skanet
Pajero Sport 2.4GLS ID: 2718
Jr. Member
**

like: 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 494


Happiness

kanet2518@hotmail.com
« ตอบ #70 เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 08:34:17 am »

อย่าทะเลาะกันครับ อย่าด่าว่ากันแรงๆ ผมอยากคุยกันให้ทราบถึงเหตุผลที่มันต้องเป็นแบบนี้

เท่าที่เคยเห็นกราฟการใช้ LPG ในประเทศ ก้าวกระโดดจะเป็นกลุ่มปิโตรเคมีไม่ใช่หรือครับ มีการเติบโตเร็วมาก
เพราะกำไรเยอะ เพราะได้ใช้แก๊สในราคาถูกกว่าประชาชนทุกคนมาตลอด โดยการอิงราคาเม็ดพลาสติค
ซึ่งแปลกไหมครับ ตั้งราคาต้นทุนแปรผันตามราคากลางสินค้า ถ้าจะเป็นแบบนั้น ในภาคครัวเรือน
หรือ ยานยนต์ทำเหมือนกันได้ไหมครับ กระทรวงพานิชย์ตั้งราคากลางข้าวแกงจานละกี่บาท
ก็ไปกำหนดราคาLPGที่ซื้อจากปตท.ได้

ผมไม่ได้ติดใจเรื่องราคาขายLPG ให้กับประชาชนจะแพงหรือไม่
แต่ติดในตรงที่วิธีการทำแบบนี้มันถูกต้องยุติธรรมไหม
ปิโตรเคมี มาแบ่งการใช้มากจนไม่พอใช้เนื่องจากเติบโตเร็ว
จึงต้องนำเข้าแล้วพอนำเข้ามาในราคาที่แพงจึงต้องขึ้นราคา
ในทุกภาคส่วน

สมมติเป็นนิทานนะครับ

ถ้ามีชาย 2 คนอยู่ร่วมห้องเดียวกันในหอพักแห่งหนึ่ง

คนที่หนึ่งชื่อ นายครัวเรือน
คนที่สองชื่อ นายยานยนต์
อยู่กันอย่างมีความสุขดีมาหลายสิบปี หุงข้าวกินด้วยกันมาในหม้อข้าวใบหนึ่ง
ซึ่งข้าวก็ส่งมาจากญาติที่อยู่ต่างจังหวัดของทั้งสองคนทุกเดือนอย่างพอเพียง

ต่อมา มีเพื่อนตัวอ้วนมาขออยู่ด้วยชื่อ นายปิโตรเคมี มาขอข้าวในหม้อข้าวใบนี้ไปทำข้าวผัดขายนะได้กำไรเยอะด้วย
ปรากฎว่าขายดีได้กำไรเยอะ ข้าวในหม้อก็เลยไม่พอ ก็เลยบอกว่าให้นายยานยนต์ นายเลิกกินข้าวหม้อนี้เหอะ
เราไม่พอขาย และข้าวที่ส่งมาจากญาติต่างจังหวัดก็ไม่พอด้วย จึงต้องซื้อมาเพิ่ม โดยให้นายครัวเรือนช่วยแชร์ค่าใช้จ่ายด้วย

ถามว่ายุติธรรมกับนายยานยนต์ กับ นายครัวเรือนไหมครับ?

และกำไรที่นายปิโตรเคมีขายข้าวได้ กลับมาให้ประโยชน์อะไรกับนายยานยนต์ และ นายครัวเรือนบ้างไหม?

ปิโตรเคมมี เป็นของคนกี่คน คนพวกนั้นเดือดร้อนเรื่องเงินกันไหม
ภาคยานยนต์ และ ภาคครัวเรือนเป็นกลุ่มประชาชนใช่หรือไม่
จะมีประชาชนกี่คนที่เดือดร้อน เขาร่ำรวยกันไหมครับ
แก๊สในภาคประชาชนเป็นเรื่องของปากท้อง ปัจจัยพื้นฐานเลยนะครับ

ถ้ายานยนต์ยอมถอย ตอนนี้พอใช้ ต่อไปปิโตรเคมีขยายจนไม่พออีก
ภาคครัวเรือนต้องถูกบังคับให้ไปใช้เตาถ่าน หรือ เตาไฟฟ้าไหมครับ

ผมแค่ตั้งกระทู้ให้เห็นภาพ ที่ผมเห็น ซึ่งถ้าตรงไหนไม่จริงก็คุยกันด้วยเหตุและผล
ป๋านพดลPTT ไม่ใช่คนของปตท.ก็ไม่เป็นไร ถือว่าคุยกันครับ

ผมว่าตอนนี้มันซึมลึกไปแล้ว จะให้เลิกการเอาเปรียบโดยสันติคงจะยากมาก
แต่ก็ไม่อยากให้มีการนองเลือดกัน ไม่อยากให้เป็นเหมือนกับว่าเกลียด ปตท.
เกลียดพนักงานปตท.เกลียดนักการเมืองบางคน จนต้องมีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น

และก็ไม่เข้าใจว่าจะเอาเงินทอง ทรัพย์สมบัติเยอะๆไปทำไมกันนักหนา
อายุเท่าไหร่กันแล้วครับ อีกไม่กี่สิบปีก็ตายกันหมดแล้วนะครับ ทำความดีติดตัวกันไปดีกว่าครับ



เห็น​ภาพได้ชัดเจนเลยครับ​
บันทึกการเข้า

ขอบคุณมิตรภาพดีๆ ณ.สถานที่แห่งนี้น่ะครับ
suPreme
Global Mod
Hero Member
*

like: 46
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2418


ปาไทยแลนด์ 2805


« ตอบ #71 เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 09:00:09 am »

ไม่ได้เชียร์ใคร แต่ขอกด  like +1 ให้ป๋า URC Garage (เบียร์)   สำหรับนิทานดีๆ  good
บันทึกการเข้า

"พรีม" คือชื่อลูกสาวผมคร๊าบ แต่ตัวเองชื่อว่า "เก๋"
Punpun
MIVEC switch — at 4750 rpm
Hero Member
*****

like: 105
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2652


อีเมล์
« ตอบ #72 เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 10:10:46 am »

ข้อมูลดี  ความคิดดี  คำเหน็บแนมไม่เอาได้ไหมจ๊ะ......... อ่านแล้วไม่มันส์ .. เอาใหม่ครับลดเหน็บ ลดแนม เอาเนื้อเนื้อ  รอฟังข้อมูลครับ   เจ้าของกระทู้ตอบสามารถแก้ไขสิ่งที่พิมพ์ได้ทุกเวลาครับ  แค่กดคำว่า แก้ไข   
เชิญคุยกันต่อ  ชอบฟัง  ผมเริ่มฉลาดขึ้นเรื่อยเรื่อยครับ
บันทึกการเข้า

เพื่อประโยชน์โดยรวมของสมาชิก  เราจะทำต่อไป....
sodsai
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


อีเมล์
« ตอบ #73 เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 01:00:44 pm »

ผมว่าก็ดีนะ ถ้าปั๊ม NGV มีมากพอที่จะให้บริการ และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ เพราะทุกวันนี้ บริษัทผลิตรถยนต์ต่างๆ ก็ผลิตรถที่ใช้ CNG ออกมาจากโรงงานแล้ว ซึงมันมีมาตรฐานกว่าการมาติดตั้งกันเองเยอะเลย จะได้ทั้งประหยัดทั้งปลอดภัย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรจะมีการจัดการความพร้อมทางด้านปั๊ม และน่าจะมีแรงจูงใจหรือให้การช่วยเหลือผู้ที่ติด LPG ไปแล้ว ทางด้านการเงิน เช่นส่วนลดในการติดตั้ง...ความเห็นส่วนตัวนะครับ
บันทึกการเข้า
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



อีเมล์
« ตอบ #74 เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 01:11:58 pm »

อย่าทะเลาะกันครับ อย่าด่าว่ากันแรงๆ ผมอยากคุยกันให้ทราบถึงเหตุผลที่มันต้องเป็นแบบนี้

เท่าที่เคยเห็นกราฟการใช้ LPG ในประเทศ ก้าวกระโดดจะเป็นกลุ่มปิโตรเคมีไม่ใช่หรือครับ มีการเติบโตเร็วมาก  มันเติบโตเป็นไปตามแผนเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 5 ครับ  โดยจุดประสงค์ของการสร้างโรงแยกก๊าซ ก็สร้างมาเพื่อรองรับของภาคปิโตรเคมี  โดยไม่มีแผนที่จะให้ใช้ที่ภาคครัวเรือน   แต่เนื่องจากยุคนึงรัฐบาลใส่ใจเรื่องตัดไม้ทำลายป่า  จึงได้ให้แอลพีจีเป็นพลังงานทางเลือก   จนนานวันเข้าคนมีความเคยชินคิดว่าแอลพีจีมันมีให้ภาคครัวเรือน  
เพราะกำไรเยอะ เพราะได้ใช้แก๊สในราคาถูกกว่าประชาชนทุกคนมาตลอด โดยการอิงราคาเม็ดพลาสติค ที่อ้างอิงราคาเม็ดพลาสติกเพื่อรัฐจะได้จัดเก็บภาษีได้มากกว่า  เพราะราคาเม็ดพลาสติก  มันแพงกว่าราคาก๊าซที่เป็นวัตถุดิบ   ที่ตรวจสอบมาผมยังไม่เห็นว่าราคาก๊าซเข้ากลุ่มปิโตรมันถูกกว่าภาคครัวเรือนนะครับ โปรดเข้าใจใหม่ด้วย
ซึ่งแปลกไหมครับ ตั้งราคาต้นทุนแปรผันตามราคากลางสินค้า ถ้าจะเป็นแบบนั้น ในภาคครัวเรือน
หรือ ยานยนต์ทำเหมือนกันได้ไหมครับ กระทรวงพานิชย์ตั้งราคากลางข้าวแกงจานละกี่บาท    
ก็ไปกำหนดราคาLPGที่ซื้อจากปตท.ได้ ขอตอบน่ะครับว่ากลุ่มครัวเรือนยานต์นี้ใช้ถูกกว่าราคากลางน่ะครับ  

ผมไม่ได้ติดใจเรื่องราคาขายLPG ให้กับประชาชนจะแพงหรือไม่
แต่ติดในตรงที่วิธีการทำแบบนี้มันถูกต้องยุติธรรมไหม ถ้าบอกว่าราคาปัจจุบันมันไม่ยุติธรรมสำหรับ  ปตท  คุณจะเชื่อไหมหร่ะ  เพราะเคยบอกแล้วว่า  ปตท  ขาดทุนในการขายแอลพีจีให้กับภาคครัวเรือน
ปิโตรเคมี มาแบ่งการใช้มากจนไม่พอใช้เนื่องจากเติบโตเร็ว
จึงต้องนำเข้าแล้วพอนำเข้ามาในราคาที่แพงจึงต้องขึ้นราคา
ในทุกภาคส่วน

สมมติเป็นนิทานนะครับ

ถ้ามีชาย 2 คนอยู่ร่วมห้องเดียวกันในหอพักแห่งหนึ่ง

คนที่หนึ่งชื่อ นายครัวเรือน
คนที่สองชื่อ นายยานยนต์
อยู่กันอย่างมีความสุขดีมาหลายสิบปี หุงข้าวกินด้วยกันมาในหม้อข้าวใบหนึ่ง
ซึ่งข้าวก็ส่งมาจากญาติที่อยู่ต่างจังหวัดของทั้งสองคนทุกเดือนอย่างพอเพียง

ต่อมา มีเพื่อนตัวอ้วนมาขออยู่ด้วยชื่อ นายปิโตรเคมี มาขอข้าวในหม้อข้าวใบนี้ไปทำข้าวผัดขายนะได้กำไรเยอะด้วย
ปรากฎว่าขายดีได้กำไรเยอะ ข้าวในหม้อก็เลยไม่พอ ก็เลยบอกว่าให้นายยานยนต์ นายเลิกกินข้าวหม้อนี้เหอะ
เราไม่พอขาย และข้าวที่ส่งมาจากญาติต่างจังหวัดก็ไม่พอด้วย จึงต้องซื้อมาเพิ่ม โดยให้นายครัวเรือนช่วยแชร์ค่าใช้จ่ายด้วย

ถามว่ายุติธรรมกับนายยานยนต์ กับ นายครัวเรือนไหมครับ?

และกำไรที่นายปิโตรเคมีขายข้าวได้ กลับมาให้ประโยชน์อะไรกับนายยานยนต์ และ นายครัวเรือนบ้างไหม?

ปิโตรเคมมี เป็นของคนกี่คน คนพวกนั้นเดือดร้อนเรื่องเงินกันไหม
ภาคยานยนต์ และ ภาคครัวเรือนเป็นกลุ่มประชาชนใช่หรือไม่
จะมีประชาชนกี่คนที่เดือดร้อน เขาร่ำรวยกันไหมครับ
แก๊สในภาคประชาชนเป็นเรื่องของปากท้อง ปัจจัยพื้นฐานเลยนะครับ

ถ้ายานยนต์ยอมถอย ตอนนี้พอใช้ ต่อไปปิโตรเคมีขยายจนไม่พออีก
ภาคครัวเรือนต้องถูกบังคับให้ไปใช้เตาถ่าน หรือ เตาไฟฟ้าไหมครับ

ผมแค่ตั้งกระทู้ให้เห็นภาพ ที่ผมเห็น ซึ่งถ้าตรงไหนไม่จริงก็คุยกันด้วยเหตุและผล
ป๋านพดลPTT ไม่ใช่คนของปตท.ก็ไม่เป็นไร ถือว่าคุยกันครับ

ผมว่าตอนนี้มันซึมลึกไปแล้ว จะให้เลิกการเอาเปรียบโดยสันติคงจะยากมาก
แต่ก็ไม่อยากให้มีการนองเลือดกัน ไม่อยากให้เป็นเหมือนกับว่าเกลียด ปตท.
เกลียดพนักงานปตท.เกลียดนักการเมืองบางคน จนต้องมีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น

และก็ไม่เข้าใจว่าจะเอาเงินทอง ทรัพย์สมบัติเยอะๆไปทำไมกันนักหนา
อายุเท่าไหร่กันแล้วครับ อีกไม่กี่สิบปีก็ตายกันหมดแล้วนะครับ ทำความดีติดตัวกันไปดีกว่าครับ

กลุ่มปิโตรเคมีมันมีมานานแล้วครับ  มีก่อนที่รัฐบาลจะเอามาให้ประชาชนเป็นก๊าซเชื้อเพลิงอีกครับ  หากอิงราคาจริงๆตามตลาดโลกก็ราคาแพงกว่านี้แน่นนอนจึงเป็นเหตุผลที่โรงแยกขาดทุนเพราะรัฐบาลกำหนดให้ขายถ
ภาคครัวเรือนในราคา 333 US per ton ตั้งแต่ให้มีการใช้ในภาคครัวเรือน  จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการปรับราคาให้อีกเลย  แต่ต้นทุนการผลิตกับเพิ่มขึ้นทุกวันๆ  และแน่นอนหากมีการนำเข้ามาจาก  ตปท  รัฐจะต้องจ่ายเงินส่วนต่างราคา 333 กับราคานำเข้าให้กับ ปตท  ซึ่งรัฐบาลก็คงไม่อยากจ่ายเองหร่อก  เลยมีการกำหนดให้มีการเก็บเงินกองทุนน้ำมัน  เพื่อส่วนนึงเอามาอุดหนุนแอลพีจีภาคครัวเรือนจึงเป็นสาเหตุให้ราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิลมันแพงไงครับ
 ส่วนทำไมต้องมีกลุ่มปิโตร  เพราะรัฐบาลเล็งเห็นคุณค่าของการที่จะเอาแอลพีจีไปใช้ประโยชน์มากกว่าการเผาเป็นเชื้อเพลิง  เปรียบเหมืือนไม้สักเอาไปเผาถ่านคงไม่คุ้มค่าอย่างไงอย่างนั้น    อีกทั้งในธุรกิจปิโตรเคมีจะสร้างงานและรายได้ให้กับประเทศ  อีกทั้งยังทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ประจำวันถูกลงอีกมากครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 21 คำสั่ง