กฎหมายพระราชบัญญัติ
รถยนต์ เพื่อให้เพื่อน ๆ วัยรุ่น วัยมันส์ ขาซิ่งทั้งหลายได้รับรู้กันทั่วหน้ากันครับ เริ่มด้วยเรื่องของ
การใส่ Part (ชุดแต่งรอบคัน)
รวม ไปถึงชุดกันชนรอบคันด้วย ซึ่งกรณีนี้ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากลักษณะของ การติดตั้ง หากติดตั้งในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น ไม่ติดยื่น ติดยาวจนเกินไป และไม่มีส่วนหนึ่ง ส่วนใดเป็นสิ่งแหลมคม ยื่นออกมาทำร้ายให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ อันนี้ถือว่าไม่ผิดกฎหมายนะครับ แต่จะผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อติดตั้งในลักษณะ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น ติดยื่น ติดยาวจนเกินไป หรือมีลักษณะเป็นของแหลมคม จนมีคนเดินผ่าน
รถไปเฉี่ยวถูกทำ ร้ายให้ได้รับบาดเจ็บ
ต่อ ไปว่าด้วยเรื่อง กระจกมองข้างแต่ง ซิ่งทรงต่าง ๆ ซึ่งการติดกระจกมองข้างทรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะอันเล็ก อันใหญ่ ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี้
- เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถ สามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้าง และด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวน หรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
อีก เรื่องกับเทรนด์ฮิต ไฟตัดหมอก ซึ่งขอบอกเอาไว้เลยนะครับว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้า
เปิดไฟตัดหมอกพร่ำเพรื่อ ก็มีสิทธิ์โดนจับได้นะครับ มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ไม่ให้เกินงามด้วยเช่นกัน ดังนี้
1. สามารถติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาว หรือแสงเหลือง
มี กำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงฟุ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มี
รถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะ ของแสงไฟ
ดังนั้น สรุปว่า
1. การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1
2. การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2
อีกหนึ่งเรื่องที่วัยรุ่นนั้นขาดไม่ได้เช่นกันนั่นก็คือ ท่อไอเสีย
รถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่า ปรกติ ซึ่งจะมีความผิดหรือไม่นั่นบอกได้เลยว่า ไม่ผิดครับ แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็พอ
คือ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
เรื่องนี้ก็สำคัญ และยังเป็นที่ค้างคาอยู่ในจิตใจของวัยรุ่นมาโดยตลอดกับการโหลดเตี้ย-ยกสูง
ว่า ที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมายนั้นเป็นยังไง (ทำไมรถโหลดเตี้ยชอบโดนจับ แต่ทำไมรถ Off Road ยกสูงถึงไม่ค่อยโดนจับ) กล่าวเลย ก็คือ รถโหลดเตี้ย หรือรถยกสูง ไม่ผิดกฎหมาย เว้นแต่รถโหลดเตี้ย หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไป ทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกฎหมายไปก็จะถือว่ามีความผิดไปด้วย
ซึ่ง เห็น ได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้า
รถผิดไปจากเดิมตามที่ กฎหมายพระราชบัญญัติรถ ยนต์กำหนดไว้ ได้แก่ ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อย กว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม. หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้วลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม. หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกฎหมายครับ สำหรับรถยกสูงหากไฟสูงเกิน 1.35 ม. ก็ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์เช่นเดียวกันครับ
ถ้าโหลดตามรูปก็ผิดนะคับ อิอิ
เรื่อง สุดท้ายกับสิ่งที่ไม่สามารถยั้งใจวัยรุ่นเอาไว้ได้ นั่นก็คือ เรื่องของความเร็วสำหรับวัยรุ่นขาซิ่ง และ การตรวจจับความเร็ว ของทางเจ้าหน้าที่ในลักษณะที่ผิดกฎหมายนั้นก็ได้แก่
1. ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน
1.1 ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ระบุไว้โดยสรุปดังนี้
รถยนต์ส่วนบุคคล รถเก๋ง รถแท๊กซี่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน
- ใช้ความเร็วในเขต กทม.หรือ เขตเทศบาลได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.
- ใช้ความเร็วนอกเขต กทม.หรือนอกเขตเทศบาล ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม./ชม.
- ซึ่งความเร็วดังกล่าวข้างต้นรวมถึงบนทางด่วนทุกขั้น (ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ด้วย
1.2 ยก เว้นทางมอเตอร์เวย์ มีกฎหมายระบุไว้เป็นการเฉพาะให้วิ่งได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. เหตุที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า เพราะมอเตอร์เวย์เป็นทางในระดับพื้นราบ ไม่มีทางโค้ง หรือจุดที่เกิดอันตรายมาก และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตรง ๆ ไม่ค่อยมีทางร่วมหรือทางเชื่อม ทำให้
รถสามารถใช้ความเร็วได้มากอย่างปลอดภัย แต่บนทางด่วน มีทางเชื่อม ทางขึ้นลง ทางแยก รวมทั้ง มีทางโค้ง โค้งหักศอก เป็นทางยกระดับ ทางลาดชัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากใช้ความเร็วสูง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อย ๆ กรณีรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ตกลงจากทางด่วนลงมาพื้นราบ ทำให้คนที่ไม่มรู้ เรื่องรู้ราวด้านล่างตายไปหลายกรณี แล้ว
1.3 กรณีการ ปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ส่วนใหญ่จะบังคับใช้ หรือเข้มงวดกับรถที่ขับรถเร็วจนผิดปกติ หรือใกล้จุดที่น่าจะเกิดอันตราย เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้น และจะมีการใช้เครื่องเรดาห์ ในการตรวจจับโดยเครื่องดังกล่าว ได้รับการรับรองความมาตรฐานจากกองทัพอากาศ เป็นระยะ ๆ เพื่อกันปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางด่วนจะ มีการเรียกตรวจจับที่คว ามเร็วเกินกว่า 110 กม./ชม. โดยผู้ขับขี่จะถูกเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถ และออกใบแทน (ใบสั่ง) ให้รับไป ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนจะปรับไม่เกิน 500 บาท แต่จะถูกยึดใบขับขี่ตามมาตรการบันทึกคะแนนไว้ 15 วัน หลังจากนั้น มารับใบขับขี่คืนได้ที่โรงพักที่เราเสียค่าปรับ
ปกติ การจับกุมผู้ขับขี่รถเร็วกว่า กม.กำหนดก็ได้ทำเป็นเหตุการณ์ประจำวันอยู่ แล้ว แต่บาง สน.ไม่มีพื้นที่ให้จับเนื่องจากไม่มีระยะทางไกล ๆ ในการยิงด้วยเครื่องตรวจจับ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ราย
การ ขับ
รถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. อาจดูช้าไปบ้างในเขตกรุงเทพฯ แต่เป็นความเร็วที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะลด ความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ รวมทั้งเป็นความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน ในยุคพลังงานเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนผลต่างของเวลาระหว่าง 90 กม./ชม. กับ 110 กม./ชม. จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
เครดิต
ขอขอบคุณ ที่มา หนังสือ The Truck ฉบับ ส.ค.51
ท่าน chp__chp จาก cm-club
จากคุณ : bigkeymouse PANTIP.com
http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126.htmlเกร็ดความรู้ดีๆจาก
ประกันภัยรถยนต์หลากทางเลือกตัวช่วย..เมื่อรถคุณยางแตกสาเหตุ หนึ่งของรถติดแก๊สไฟไหม้กรมการขนส่งแจ้ง ทะเบียนแตกลายงาเปลี่ยนฟรี วันนี้ – 30 ก.ย. 56รถโดนชนแล้วหนี จะทำอย่างไร10 วิธีง่ายๆ ดูรถมือสองก่อนจะซื้อใครที่มีรถโปรดระวัง !!!ทำไมถึงต้องมีการตรวจสภาพรถเตือน!เปิดไฟตัดหมอกพร่ำเพรื่อผิดกฎหมายหลากทางเลือกตัวช่วย..เมื่อรถคุณยางแตกกรมการขนส่งแจ้ง ทะเบียนแตกลายงาเปลี่ยนฟรี วันนี้ – 30 ก.ย. 56กฏหมายใหม่ “เมาแล้วโดยสาร” ก็ถูกจับ