รถยนต์ตกท่อระบายน้ำ บริษัทรับ
ประกันภัยรถยนต์ ฟ้องหน่วยงานทางปกครองรับผิด ปล่อยปละละเลยไม่ดูแลให้ถนนอยู่ในสภาพใช้การได้โดยปลอดภัย
เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เกิดจากลูกจ้างของบริษัท ม. จำกัด ได้ขับ
รถยนต์ไปบนถนนหลวงและรถยนต์ตกท่อระบายน้ำที่มีฝาท่อระบายน้ำถูกเปิดออก ทำให้
รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายรายการ ผู้ฟ้องคดีในฐานะบริษัทผู้รับ
ประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว จึงได้ซ่อมแซม
รถยนต์ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดังเดิม และเข้ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ม. จำกัด เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายในการซ่อมแซม
รถยนต์ โดยนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษา ให้ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมทางหลวง) ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีต่อสู้ว่าแม้ถนนบริเวณที่เกิดเหตุจะเป็นเขตทางหลวงแผ่นดิน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดี แต่ได้มอบพื้นที่ให้กรมโยธาธิการ (หรือกรมทางหลวงชนบท (ปัจจุบัน)) รับไปดูแลตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และอุบัติเหตุเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ ที่ขับรถด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวัง สังเกตดูทางข้างหน้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าฝาท่อระบายน้ำเปิดออก และจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องก็สูงเกินกว่าความเป็นจริง
คดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเด็นแรก คือ ผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ ?และการที่
รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ ถือเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ? มีข้อกฎหมายสำคัญ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า
“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
และพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้กรมทางหลวงมีภารกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างและบำรุงรักษาทางหลวงเพื่อให้ประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาทางหลวง
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ถนนบริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีตามกฎหมาย ที่ต้องตรวจตราและดูแลรักษาถนนให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้อย่างปลอดภัย เมื่อปรากฏว่าบริเวณที่เกิดเหตุ ไม่มีไฟส่องสว่างและไม่มีสัญญาณหรือเครื่องหมายใดๆ ที่แจ้งเตือนในระยะห่างพอสมควร และไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ทั้งไม่ปรากฏว่าลูกจ้างของบริษัท ม. จำกัด ได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษาทางหลวงและติดตั้งเครื่องหมายสัญญาณเตือนความปลอดภัย ในการขับขี่อย่างเพียงพอจึงถือได้ว่า อุบัติเหตุและความเสียหายเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 และข้อ 1 ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ.2545 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
รถยนต์ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้รับ
ประกันภัยรถยนต์ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากบริษัท ม. จำกัด ตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับ
ประกันภัยรถยนต์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับ
ประกันภัยรถยนต์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอา
ประกันภัยรถยนต์ และของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น) การที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้มอบพื้นที่เกิดเหตุให้แก่กรมโยธาธิการเพื่อก่อสร้างและต่อมากรมโยธาธิการได้โอนงาน และมอบพื้นที่ให้กรมทางหลวงชนบทแล้วก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในระหว่างหน่วยงานด้วยกัน จึงไม่อาจนำมาใช้ยันผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
ประเด็นที่สอง ผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงใด? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่
รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายรายการและผู้ฟ้องคดีได้เสนอเอกสารหลักฐานตามใบเสนอราคาและใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
รถยนต์ที่เสียหายตามความเป็นจริง ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า ค่าเสียหายรายการใดบ้างที่สูงเกินความจริง และค่าเสียหายที่แท้จริงควรเป็นจำนวนเท่าใด ศาลจึงกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทน ให้ตามเอกสารหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีแสดงต่อศาล พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 359/2555)
คดีนี้นอกจากจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดี สำหรับหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาทางสาธารณะ ทั้งที่เป็นทางบกหรือทางน้ำ ที่จะต้องหมั่นดูแลและตรวจสอบทางสาธารณะให้อยู่ในสภาพใช้งานได้โดยปลอดภัยอยู่เสมอ เพราะหากปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ จนทำให้ผู้ที่สัญจรไปมาได้รับความเสียหายในชีวิตร่างกายหรือทรัพย์สินก็จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย
โดยเฉพาะคดีนี้อาจมีปัญหาข้อสงสัยว่า บริษัทผู้รับ
ประกันภัยรถยนต์ที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอา
ประกันภัยรถยนต์ไปแล้ว จะมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่? เนื่องจากไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้รับ
ประกันภัยรถยนต์ เป็นผู้ที่ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอา
ประกันภัยรถยนต์ ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของกรมทางหลวงและมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองครับ
เกร็ดความรู้ดีๆจาก
ประกันภัยรถยนต์กรมการขนส่งแจ้ง ทะเบียนแตกลายงาเปลี่ยนฟรี วันนี้ – 30 ก.ย. 56กฏหมายใหม่ “เมาแล้วโดยสาร” ก็ถูกจับเซ็นเซอร์อินฟาเรดดีอย่างไรคู่มือป้องกัน ไฟไหม้ รถใช้ก๊าซ ประมาท..อาจจะบึ้ม!รถยนต์ถูกขโมยทั้งที่บัตรจอดรถยังเก็บไว้กับตัว ห้างต้องรับผิดชอบเมื่อรถป่วย!จะไปศูนย์หรืออู่ซ่อมดี?เมื่อไหร่ที่ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง