PM. ที่อยู่มาเดี๋ยวส่งไปให้ เด๋วจะรอนาน
ลอกเอามาจากที่เขียนไว้นานแล้วมาให้ป๋าดูว่า ควรมีสายในรูปไว้ใช้งานเลยจะดีมาก-------วันนี้ผ่า G9 มาดู ได้รับชุดสาย Signal Outlet ของ G9 จากป๋าแอมป์ เมืองสุนทรภู่มา ก็เลยถือวิสาสะผ่าเครื่องออกมาดู อุ๊บะ! Technology เครื่อง Multimedia มันไปไกลดีแท้ อีกหน่อยก็จะเหลือ chip ตัวเดียวแล้วมัง มาเข้าเรื่องดีกว่า..
ตามทีกล่าวไว้ว่าถ้าได้ g9 มาจะเปิดดูภายในสะหน่อย เสั่ยง avoid warranty โดยยอมฉีก label ของการรับประกันออกดูเลย อูยมันแน่นไปหมดก็เลยเอาแต่ดูรอบรอบไปก่อน วันหลังค่อยลึกลงไปอีก พิจารณาดูหลายรอบก็เห็นลางลางแค่ มันมี Socket แบบเอาไว้ใส่สาย Pair แบบ Ribbon อยู่จุดหนึ่ง พยายามส่องไฟอ่านก็ไม่เห็นมีอะไรเขียนไว้ใน board แต่ก็ทำให้รู้ว่า g9 มี Expansion Slot สำหรับทำอะไรไม่รู้อีก Slot หนึ่ง นอกนั้นไม่มีอะไรอื่นก็เลยปิดประกอบไปก่อนเด๋วถอยหลังมองไม่เห็นกล้อง
แต่ก่อนปิดเหล่ ดู เห็นมี Transistor เห็นมี Transistor อยู่ตัวหนึ่งอาศัย Heat Exchange จาก Heat Sink หลังเครื่อง + พัดลม flow อากาศภายในเครื่อง ก็ทำให้เข้าใจว่า อยากแนะนำให้ผู้ที่ฟังเพลงดังนิด เพิ่ม External Power Amplifier ให้มันจะดีกว่ามากเลย ตัวละไม่กี่ตังค์ก็ดีกว่าที่มีอยู่เดืมแล้ว ถ้าไม่รังเกียจ power amp ราคาถูก ก็น่าจะใส่แค่ตัวละ 2-3000 บาทก็พอแล้ว
จะช่วยให้..
-- แบ่งเบาภาระที่ G9 จะต้องจ่ายกระแสมาเลี้ยง internal Power Amp. ทำให้ไม่ร้อน และอายุยืนยาวอีกนิด
-- ไม่ไปเป็นอันตรายกับตัวขับเสียงแหลมราคาที่แพงที่ใส่เข้าไป ด้วยเหตุผลที่ว่า int. power amp. ที่จ่ายกำลังขับให้กับลำโพง มันมีกำลังน้อย เมื่อน้อยแล้วต้องดันตามการเร่งที่ปุ่มปรับเสียงเรา มันก็ทำงานได้แต่เมือ่ถึงจุด ที่มัน คลิบ หรือหมดแรง มันจะปล่อยคลื่นที่เรียกกันว่าคลื่นเสียงหัวตัด ไปทำลาย voice coil ในตัวขับเสียงแหลมได้เป็นอย่างดี ที่เรียกว่าเสียงแหลมขาด ยิ่ง power amp ที่มีกำลังน้อยนิดนี่น่ากลัวกว่าตัวที่มีกำลังขับเยอะเสียอีก และผลพลอยได้เมื่อได้พลังขับที่มีกำลังพอเพียง ลำโพงที่ติดมากับรถก็จะให้เสียงที่ดีกว่าอีกนิดนึง โดยไม่เกิดอาการหมดพลังที่เรียกกันว่า คลิบ (สำหรับการเปิดดังกว่าปรกติ) ก่อน รวมทั้งอีกเหตุผล 1 คือสายไฟที่มาเลี้ยงเครื่อง g9 แล้วแยกไปใช้หลายอย่าง ก็เล็กไปนิด พอเราแยก power amp มาขับข้างนอกก็จะได้สายไฟมาเลี้ยงเส้นใหม่โดยเราเลือกใส่เอง ส่วนภาคขยายเล็ก หรือ Pre amp รวมทั้งอุปกรณ์อื่นอื่นจะได้ รู้สึกว่า ไอ้ตัวกินกระแส (power amp) มันย้ายบ้านไปอยู่บ้านเดี่ยวแล้ว ไม่มาแย่งเรากินกระแสไฟ ต่อไปนี้ pre amp เราจะได้ขยับแข๊งขยับขาให้เต็มประสิทิภาพหน่อย ไอ้ พวกภาคจ่ายไฟก็ไม่เหนื่อยเหงื่อท่วมอีกต่อไป บ้าน G9 ก็เย็นสบายอายุยืนยาวได้อีก ไม่ต้อง mulfunction ตอน Heat ขึ้นเป็นบางครั้งอีก
เนื่องจากว่าใช้ชุด G9 เดิมเดิม เลยขอขยายอีกนิดเด๋ว เพื่อนเพื่อนที่ไม่อยากเสียเวลาศึกษาหรือทดลองจะได้เห็นภาพเลยก่อน จุดที่เอา สัญญาร Sub Out ออกมาก็ให้ป๋าแอมป์ช่วยสั่งซื้อสาย Option G9 ส่งมาให้ ก็เลยต่อออกมาง่ายดายไม่ต้องไปดักเอาจาก ซ้ายขวาอะไรให้ซับซ้อน ขอบคุณป๋าแอมป์อีกที แถมเวลาเปิด Concert 5.1 ยังได้ต่อถูกต้องตาม Sound Engineer ที่อัดมาต้องการให้เสียง Sub ได้ปริมาณสัณญานอย่างถูกต้องอีกด้วย แล้วจากนั้นก็ทำการ ปรับที่ Power Amp ทุกอย่างให้เป็น Flat ก่อน เพราะกะว่าจะ Control เสียงย่านต่ำเหล่านี้จาก G9 เองเลย ให้เจ้า Power Amp มันทำตัวเป็น Pure Power Amp เลย (ไม่ต้องมาช่วยเราปรับแต่งเสียงอะไรเลย) เพราะเด๋วนี้ Power Amp พวกนี้มันฉลาดมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ ขนาด ปุ่มปรับ ยกตัวอย่างเช่นตัด Sub Sonic , ชดเชย Phase ได้ไล่จนถึง' 180' , Wide Signal Type Voltage Control, Linkable each other Power Amp. Etc. ( แล้วทำไมมันขายกันได้ถูกขนาดนี้หว่า)
ที่ G9 ในค่า Audio Setting ก็ มี Sub Woofer Volume มาให้อยู่แล้ว เราก็ปรับจากตรงนี้เลย พอ Sub ใหม่เราขับได้ถึงย่าน 20-250 hz แล้ว เราก็ตัดการทำงานของชุด Full Range เดิมออกมั่ง โดยเลือกตัดออกแถวสัก 120 hz ออกไปเลย ที่มันเขียนว่า Low Freq. off at อะไรทำนองนี้จำไม่ได้ หมายถึงชุดลำโพงเดิมไม่ต้องขยายเสียงย่านต่ำกว่าที่กำหนดออกมา ประโยช์ที่ได้ก็ คือ ลำโพง Full Range เราไม่ต้องทำงานเสียงต่ำย่านนั้นอีก โดย G9 จะตัดความถี่ที่ป้อนเข้า Internal Power Amp ย่านนั้นออกไปโดย Active Cross Over ในตัวมันเอง
บอกแล้วว่าคน Design มันฉลาด การกินกระแสในเครื่อง G9 ก็ลดไปได้มากถึง 35% กันทีเดียว แถมกรวยลำโพง Standard ก็ไม่ต้องเหนื่อยอีก ขับเสียงย่าน Upper than 120 hz อย่างสบายสบาย ลดอาการ คลิป และกระพือของตัวลำโพงและแผงประตูได้อีก ลดไปเยอะมากด้วยนะ เสียงก็สะอาดขึ้น
ส่วนถ้าเราอยากโกง G9 ให้ตัดสัญญาณ Sub out ให้ Sub Power Amp มากกว่า limit ที่ G9 อนุญาติ ก็โกงมันโดย ให้ Function ตัดความถี่ มันเป็น off ไปเลย แล้วไปเลือกจุดตัดที่ Sub Power Amp แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีให้ประมาณ 100-300 hz ให้เลือก ลงตัวในระบบนี้น่าจะเอาสัก 250 hz (ขึ้นอยู่กับว่าชุด Full Range ของเราทำงานได้ดีในช่วงความถี่ต่ำได้แค่ไหนและหูเรา happy กับจุดตัดไหน) เสียงความถี่ต่ำกว่า 120 hz ลงไปหามิติหรือแหล่งกำเนิดเสียงยากหรือไม่ได้เลย ยิ่งอายุระดับผมสัก 300 hz จะหาที่มาของเสียงได้เปล่าเอ่ย 555
พอก่อนละ ว่างมาใหม่