Languages
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเข้าใจผิดของผู้คน เรื่องโช้คอัพ  (อ่าน 15334 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Juonmgt
Newbie
*

like: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 139


รณรงค์ให้คนรักน้องปาขับรถอย่างมีน้ำใจ


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 02:58:26 pm »

ความเข้าใจผิดของผู้คน เรื่องโช้คอัพ

คัดลอกจาก Racingweb.net

วันก่อน ผมไปนั่งฟังกลุ่มคนแต่งรถกลุ่มหนึ่งนั่งคุยกันเรื่องโช้คอัพ เค้าเข้าใจผิดกันหมดเลยอะ เลยคิดว่า จะมาอธิบายไว้ในนี้ เพื่อให้ผู้สนใจ ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องนะครับ (ผมไม่ใช่ Expert มาจากไหนน่ะนะครับ เพียงแต่เคยเข้ารับการอบรมที่โรงงานผลิตโช้คในเยอรมนีซึ่งเป็น OEM ให้กับ Benz, BMW, Volvo, VAG, ETC.)

ผมจะเริ่มอธิบายล่ะนะครับ
โช้คอัพ มาจากคำว่า Shock Absorber เป็นตัวช่วยหน่วงเวลาไม่ให้สปริงมีการเคลื่อนตัวเร็วเกินไป ช่วงล่างของรถยนต์ไม่ได้ใช้โช้คอัพรองรับน้ำหนักนะครับ เซียน(หรือไม่)แต่งรถกลุ่มนั้นเข้าใจกันว่าโช้คมีไว้รองรับน้ำหนักรถ ซึ่งเข้าใจผิดมหันต์เลยครับ จริงๆแล้ว ตัวรับน้ำหนักและแรงกระเทกทั้งปวงคือสปริงครับ แต่ถ้ารถคุณมีแต่สปริง พอเจอถนนขรุขระ รถคุณก็จะเด้งขึ้นเด้งลงตามค่า K ของสปริงกันจนมึนไปเลย, Shock Ab จึงถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อหน่วงไม่ใช้สปริงมีการเคลื่อนตัวได้มากนัก เวลาเลือกโช้คอัพมาใส่รถ คุณต้องได้อย่างเสียอย่างเสมอ ถ้ารถคุณอยากได้โช้คนิ่ม มันจะหน่วงสปริงได้น้อย นั่งแล้วนิ่มขึ้น แต่เวลาเข้าโค้ง รถเอียงข้างเลยครับ แรงจากศูนย์กลางมาเพียบเลย แต่ถ้าคุณเลือโช้คหนึบ ความนิ่มจะหายไป สปริงจะเคลื่อนที่ได้น้อยมาก แต่เวลาเข้าโค้ง หรือขับซิกแซก รุถคุณนิ่งอย่างแรงครับ ไม่มีเอียง

โช้คอัพเดิมทีคือการใช้น้ำมันในการหน่วงโดยน้ำมันนี้ จะมีอยู่ในกระบอกโช้คนะครับ แท่งแกนโช้คถูกสอดลงไปในกระบอกนี้ มีก้อนวาล์วอยู่ตรงปลาย กั้นทำให้เกิดห้องสองห้องขึ้นในกระบอกโช้ค มีห้องบน และห้องล่าง ทั้งสองห้องมีน้ำมันอยู่ครับ เวลาจังหวะโช้คยืดตัวขึ้น น้ำมันจากห้องบนจะต้องถูกดันให้หนีลงมาห้องล่าง แต่วาล์วที่กั้นห้องนั้น มีรูและซอกเล็กมากให้น้ำมันผ่านได้จำกัดมาก ทำให้น้ำมันผ่านได้ช้าลง ผลก็คือเกิดการหน่วงไม่ให้ก้านสูบเลื่อนขึ้นเร็วเกินไป ในจังหวะโช้คกดตัวลงก็เช่นกันครับ น้ำมันจากห้องล่างจะพยายามหนีขึ้นห้องบนเพราะโดนดัน (ลองวาดรูปตาม น่าจะเข้าใจง่ายขึ้น) วาล์วก็เป็นตัวหน่วงอีกเช่นกัน การไหลผ่านร่องวาล์วเล็กๆในกระบอกสูบ หนืดไม่หนืด ขึ้นอยู่กับขนาดวาล์วและการออกแบบช่องทางเดินน้ำมันในวาล์วครับ
ส่วนโช้คแก้ส คือการพัฒนาเอาโช้คเดิม มากั้นห้องไว้ข้างล่างสุดหนึ่งห้องเป็นห้องโล่งๆแล้วอัดแก้สลงไป มีจุดประสงค์หลักคือทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้น ฟองอากาศที่จะเกิดในน้ำมันซึ่งเป็นปัญหาเดิมจะลดลง (เวลาโช้คทำงานปกติที่ถนนธรรมดา โช้คมีการขยับขึ้นลงมากกว่า 10 ครั้งต่อวินาที มีความร้อนเกิดจากการขยับนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำมันเกิดฟองอากาศครับ) โช้คแก้สจึงมีความแข็งมากกว่า


ประเด็นสำคัญ สิ่งที่เรียกว่าโช้คน้ำมันกึ่งแก้สนั้น เป็นความเข้าใจผิดครับ
โช้คแก้ส ก็ยังใช้น้ำมันในการไหลผ่านวาล์วเหมือนเดิม แก้สไม่เกี่ยวเลย อยู่ห้องข้างล่างอย่างเดียว ดังนั้น ขอให้เข้าใจกันใหม่ด้วยนะครับ ว่าโช้คนั้นมีแค่เป็นน้ำมันล้วน กับแบบเอาแก้สมาอัดช่วยดันห้องล่าง แค่นั้น โช้คแก้สเปล่าๆ ไม่มีแน่นอนครับ (ถ้ามีแต่แก้สเปล่าๆ เค้าเรียกแก้สสปริง ซึ่งมีไว้แทนสปริงตรงฝาท้ายพวกรถแวกอนนะครับ คนละเรื่องกับการหน่วงในระบบช่วงล่าง แต่คนไทยเรียกเหมาหมดว่าโช้คอะ)
ข้อสังเกตุสำคัญว่า โช้คคุณเป็นน้ำมันหรือมีแก้สด้วย ให้ลองวางตั้งกะพื้นนะครับ เอามือกดก้านสูบลงไปจนสุด แล้วปล่อย ถ้าเป็นโช้คน้ำมัน มันจะจมอยู่งั้นแหละ แต่ถ้าเป็นโช้คที่มีแก้สอยู่ด้วย มันจะค่อยๆยืดขึ้นมาเองช้าๆจนสุด ที่เป็นอย่างนี้ เพราะมีห้องแก้สอยู่ล่างสุดช่วยดันให้น้ำมันในห้องล่างดันลูกสูบขึ้นไปในตำแหน่งปกติ

ความหนืดของโช้คอัพ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับการออกแบบวาล์วที่ลูกสูบเท่านั้น ดังนั้น อย่างเช่น Volvo 940 or 960 ติดรถมาจากสวีเดน ก็เป็นโช้คน้ำมันครับ แล้วก็หนึบโคตรๆด้วย ถ้าคุณเปลี่ยนโช้คไปเป็นแก้ส ก็มั่นใจได้อย่าง ว่ามันแข็งขึ้นแหงๆครับ ถ้าวาล์วถูกออกแบบมาเหมือนกัน

ปัญหาของโช้คอัพ มีเรื่องสำคัญๆอยู่เรื่องเดียว คือน้ำมันรั่วออกมาทางด้านบน ทำให้โช้คอัพสูญเสียน้ำมันไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะทำให้มันสูญเสียความสามารถในการหน่วงไป ทำให้รถคุณวิ่งเหมือนเด้งอยู่บนสปริง ถ้าเป็นไม่มาก เช็คยางดูก็ได้ครับ ถ้าสึกเป็นบั้งๆในแนวขวาง รถคุณมีปัญหากะโช้คอัพแล้วล่ะ สาเหตุสำคัญที่น้ำมันจะรั่วได้ ก็มาจากซีลยางที่อยู่ด้านบนของกระบอกโช้คนะครับ ซีลยางนี้ มีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาอยู่แล้ว ตามระยะของผู้ผลิตโช้ค คุณควรเปลี่ยนโช้คอัพเมื่อรถวิ่งไปได้ 100000 กิโล หรือห้าปี โดยไม่ต้องรอให้รั่ว เพราะซีลมันเสื่อมแล้ว ถ้ารถคุณไม่ค่อยได้ใช้เลย ซีลยางคุณจะยิ่งแย่กว่าปกติ เพราะทุกครั้งที่โช้คขึ้นลง ก้านแกนโช้คจะนำเอาน้ำมันออกมาเล็กน้อยด้วยช่วยหล่อลื่นซีลครับ ถ้าคุณไม่ใช้รถเลย จอดไว้เป็นอาทิตย์เฉยๆ ซีลจะแข็งเป๊ก และฉีกง่ายมากๆ โช้ครั่วก็จะตามมาแน่นอนครับ
อ้อ เวลาติดตั้งโช้ค อย่าลืมเตือนช่างไม่ให้ใช้คีมในการจับแกนโช้คตอนขันน้อตนะครับ เพราะมันจะทำให้แกนโช้คเป็นรอย ซึ่งเมื่อคุณเอารถไปข้บ รอยนี้มันจะไปเสียดสีให้ซีลยางมันขาด ซึ่งก็จะนำมาซึ่งการรั่วอีกน่ะแหละ ดังนั้นเวลาเจอโช้ครั่วเร็ว บางทีก็อย่าโทษแต่ผู้ผลิตโช้คล่ะครับ มันมีปัจจัยเพียบเลย ตอนขันน้อตก็เหมือนกัน ถ้าคุณขันแน่นเกินไปก่อนเอาลงจากฮอยส์ ลงมาปุ๊ป โช็คงอปั๊ปเลยครับ เพราะตอนอยู่บนฮอยส์ ช่วงล่างคุณทั้งยวงมันห้อยครับ มันไม่ได้อยู่ในตำแหน่งปกติ วิธีที่ถูกคือต้องขันแต่พออยู่ อย่าแน่น พอเอารถลงแล้ว ค่อยขันแน่นครับ เพราะเมื่อโช้คท่านงอ เวลาเอาไปวิ่ง มันก็ไปขูดซีลยางอีกน่ะแหละ (แหม ไอ้ซีลยางนี่ช่างเจ้าปัญหาซะจริงเลยนะ)
อธิบายมาซะยาว ขอสรุปแล้วนะครับ


ถามว่า โช้คไม่ดี ไม่เห็นเป็นไร ไม่เปลี่ยนไม่ได้เหรอ ขับมาสิบปีแล้ว ไม่เห็นเคยเปลี่ยนสักครั้ง
ตอบเลยนะครับ ว่าถ้าคุณวิ่งปกติดี มันก็แล้วไปครับ แต่ถ้าคุณไปเจอสถานการณ์คับขัน เบรคกะทันหัน เมื่อถึงเวลานั้น คุณจะเข้าใจว่า โช้คนั้นสำคัญกับการทรงตัวของรถขนาดไหน คุณจะแลกเงินไม่กี่พันบาท กับความปลอดภัยของชีวิตหรือครับ




ค่า K ของสปริงคืออะไร
ค่า k ของสปริงรถยนต์คือค่าความแข็งของ ขดสปริงรถยนต์หรือคอลย์สปริง ที่ใช้ในระบบรองรับน้ำหนักรถยนต์

สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ เมื่อทำการออกแบบระบบรองรับน้ำหนักรถยนต์ วิศวกรจะต้องกำหนดค่า k ของคอลย์สปริงให้เหมาะสมกับการใช้งานและน้ำหนักของรถยนต์ เพื่อให้ได้สมรรถนะการขับขี่และยึดเกาะถนนที่ดี รวมถึงการทรงตัว และความนุ่มนวลในการขับขี่ โดยสอดคล้องกับการใช้งานจริง

รถยนต์ในแต่ละยี่ห้อจะมีค่า k ที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ในรถบางรุ่นที่ใช้ตัวถังเดียวกัน แต่ต้องดูว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง เช่น ขนาดของเครื่องยนต์ ตำแหน่งการจัดวางเครื่อง การออกแบบระบบขับเคลื่อน ระบบกันสะเทือน น้ำหนักรถยนต์รวมทั้งความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกขณะใช้งาน


ค่า k ของสปริงแข็ง เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ใช้ความเร็วสูง จะช่วยให้ยึดเกาะถนนทรงตัวดี แต่หากใช้กับการใช้งานทั่วไปที่ความเร็วต่ำจะขาดความนุ่มนวลไปบ้าง แต่ก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นประกอบ

ค่า k ของสปริงอ่อน เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ใช้งานในความเร็วต่ำๆ ซึ่งจะให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ แต่เมื่อใช้ความเร็วสูงๆ จะทำใหรถมีอาการโยนตัวหรือโคลงได้

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า หลายคนเมื่อซื้อรถยนต์ใหม่ก็อยากที่จะไปตกแต่งระบบกันสะเทือนใหม่ โดยใช้วิธีเปลี่ยนล้อ เพิ่มขนาดล้อ ดัดแปลงคอลย์สปริงด้วยการตัดหรือเปลี่ยนใหม่ แม้กระทั่งยกชุดเปลี่ยนโช้คอัพใหม่ทั้ง 4 ตัว ตามร้านประดับยนต์ทั่วไป

ดังนั้น หากผู้ใช้รถมีความประสงค์ที่จะดัดแปลงระบบช่วงล่างให้แตกต่างจากโรงงานกำหนด ควรคำนึงถึงค่า k ว่าเหมาะสมกับการใช้งานจริงหรือไม่ หรือสอบถามผู้ที่ชำนาญก่อนตัดสินใจ

 

เพิ่มเติมเองอีกนิดนะครับ ตามที่ได้ข้อมูลมาจากหนังสืออีกเล่ม(นิตยสาร FMM NO:11 JUNE 2007) เดี๋ยวจาพิมพ์ให้อ่านกัน
ไอ้ตัวค่า K ที่พูดกันมันก็คือ Sping Rate ซึ่งค่านี้จะมีผลกับความนุ่มนวลของช่วงล่างโดยตรง

Sping rate (k) คือค่าความแข็ง-อ่อนคงที่ของสปริงที่จะยุบตัวเป็นส่วนตามน้ำหนักที่กดทับ โดยทั่วไปของญี่ปุ่น จะใช้หน่วยเป็น Kg/mm. กิโลกรัม/มม.
ซึ่งบ้านเราจะคุ้นเคยกับหน่วย Kg/mm. มากกว่า แต่ก็มีบ้างที่ใช้หน่วยเป็น N/mm. และ lbf/in...
โดย 1Kg/mm. จะเท่ากับ 56 lbs/in และ 9.86 N/mm. นั่งเอง

ยกตัวอย่าง
คอยล์สปริงของรถรุ่นเดียวกัน แต่ค่า k ต่างกัน คือ

ตัวแรกอยู่ที่ 8Kg/mm.
ตัวที่สองอยู่ที่ 12 Kg/mm.

เท่ากับว่า สปริงตัวแรกจะยุดตัวลง 1มม. เมื่อมีน้ำหนัก ขนาด 8 กก. มากดทับ ในขณะที่ตัวที่สอง ต้องใช้น้ำหนักถึง 12 กก. สปริงจึงจะยุบตัวลง 1 มม.

ซึ่งนั่นเท่ากับว่าสปริงตัวที่ 2 แข็งกว่าสปริงตัวแรกนั่นเอง


มีข้อวิเคราะห์คร่าวๆ ได้ด้วยตาเปล่าครับ

1.ความโตของสปริง ที่ยิ่งข้อใหญ่ก็จะยิ่งแข็งนั่นเอง
2.เส้นผ่าศูนย์กลางของคอยล์สปริง หากได้โดยเอาเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของคอยล์สปริง "ลบ" ด้วยความโตของเส้นสปริง (หน่วยเป็น มม.) ก็จะได้ตัวเลขของ
เส้นผ่านศูนย์กลางของคอยล์สปริงนั่นเอง ซึ่งถ้าตัวเลขของเส้นผ่านศูนย์กลางยิ่งมาก (วงกว้างขึ้น) ค่า k ก็จะยิ่งลดลง
3.จำนวน และรูปแบบของขดสปริง สปริงที่มีจำนวนขดน้อยกว่า จะมีค่าความแข็งสูงกว่า แต่ก็ยังมีตัวแปรในส่วนของรูปแบบของขดสปริงเกี่ยวข้องอีก โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ
3.1 Linear spring ก็คือ สปริงที่มีระยะห่างระหว่างขดเท่ากันโดนตลอดทั้งชิ้น สมมติว่าสปริงแต่ละขดห่างกัน 15 มม. มันก็จะห่างเท่ากันยังงั้นตลอดทั้งเส้น ซึ่งค่า k ของสปริงแบบนี้จะเป็นค่าเดียว
3.2 step spring สปริงแบบนี้จะมีระยะห่างแต่ละขด แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ มีทั้งขดถี่และห่าง ในวงเดียวกัน เช่น 15 กับ 30 มม. เท่ากับว่ามีค่า k 2 ระดับในคอยล์สปริงขดเดียว คือ เมื่อมีน้ำหนักมากดทับที่ตัวสปริง ขอที่ถี่จะยุบตัวก่อน(ค่า k น้อย) จนเมื่อน้ำหนักมากขึ้น ขดสปริงที่ห่าง (ค่า k สูงกว่า) ก็จะเข้ามารับผิดชอบต่อ เป็นการผสานซึ่งความลงตัวของความนุ่มนวลในขณะคลานและมั่นคงในการขับขี่ยามกระหน่ำคันเร่งหนักๆ ได้อย่างดี
3.3 Progressive Sping แบบนี้จะมีระยะห่างระหว่างขดไม่เท่ากันเลย คือ จะชิด แล้วค่อยๆเพิ่มระยะความห่างไปเรื่อยๆ ค่า k ของสปริงแต่ละขดก็จะไม่เท่ากันด้วย เท่ากับว่าสปริงแบบ Progressive จะนำเสนอตั้งแต่แรงกดน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มอย่างต่อเนื่องไปจนถึงค่า k สูงสุดเลยทีเดียว

สรุปนะครับ

การเลือกใช้สปริงแต่งที่ตรงกับรูปแบบการใช้งานนั้น นอกจากจะทำให้เกิดตัวรถเตี้ยลงแบบพอดีๆ แล้ว (ใช้งานไม่ลำบาก) ยังช่วยให้การทรงตัวของรถดีขึ้น ควบคุมได้ง่าย และนิ่งกว่า แต่ก็ต้องยอมรับกับความแข็ง และความหนืดที่เพิ่มขึ้นมา เนื่องจากระยะการทำงานของตัวช็อค และสปริงน้อยลง ค่าความแข็งของสปริงก็ต้องเพิ่มขึ้นเพื่อกันไม่ให้ล้อ และซุ้มล้อมาชนกัน เพราะฉะนั้นจะให้นุ่มสบายเหมือนของเดิมติดรถคงจะไม่ได้.. อยู่ที่คุณแล้วหล่ะว่าจะเลือกแบบ ...นุ่มนวล หรือ นิ่งหนึบ
บันทึกการเข้า
tiger98
We Can Do It
Newbie
*

like: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 156



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 03:33:12 pm »

 สาธุ  ขอบคุณคร๊าบ สำหรับข้อมูลดีๆแก่เพื่อนสมาชิก   ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

Pajero Sport 2.4 GLS  ID No.3326
PjOe_RayOng
Jr. Member
**

like: 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 367


Pajero Sport No.306


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 03:54:45 pm »

 สาธุ
 good
บันทึกการเข้า
Liverpool(ชาติ)
Hero Member
*****

like: 101
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8658

You'll Never Walk Alone


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 05:27:53 pm »

ข้อมูลถูกต้องทุกประการครับ..ขอบคุณมากๆเลย สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
suPreme
Global Mod
Hero Member
*

like: 46
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2418


ปาไทยแลนด์ 2805


« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 05:40:51 pm »

อ่านเพลินเลย ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ  สาธุ
บันทึกการเข้า

"พรีม" คือชื่อลูกสาวผมคร๊าบ แต่ตัวเองชื่อว่า "เก๋"
Tee_Kb
Global Mod
Hero Member
*

like: 107
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14140



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 08:41:16 pm »

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆคับ สาธุ good
บันทึกการเข้า

มีปาพาไปหามิตร....มิตรภาพดีๆหาได้ที่นี่
www.Pajerosport-thailand.com
Siraphom
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 08:53:44 pm »

ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว ขอบคุณครับ สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
chan
Jr. Member
**

like: 12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 337



« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 09:48:18 pm »

 like  จัดไป ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ไปให้สุดแล้ว.......หยุดที่คำว่าพอ.....
Kitti.teero
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 10:18:43 pm »

 like good
บันทึกการเข้า
ton (3692)
Newbie
*

like: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 74



อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2013, 10:20:06 pm »

 like like like สาธุ
บันทึกการเข้า
Paje(ป๊ะเจ)
Jr. Member
**

like: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 566


just keep swimming...


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2013, 03:44:42 am »

 like
บันทึกการเข้า
wasan784
Jr. Member
**

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 365



อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2013, 07:33:46 am »

 ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
kamol
Jr. Member
**

like: 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 441


Pajerosport-Thailand 030 ThaiTritonclub 243


« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 20, 2014, 10:22:51 pm »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ถ้าความกลัวไม่เกิด ความกล้าก็จะไม่ตามมา กมลค๊าบ 085-1241650
moocbr
มันอยู่ในสายเลือด ID:2378
Newbie
*

like: 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 290



« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2014, 07:00:32 pm »

 like like like like like
บันทึกการเข้า

@@@ก็รู้อยู่ว่าคนดีนะมันเป็นยาก แต่ผมก็ยังอยากเป็นคนดี@@@
@@@089-0921443 หมูครับ@@@
ต้อง_หมอยา
Jr. Member
**

like: 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 328


"เลือกเพราะชอบและคิดว่าดีสำหรับเรา"


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2014, 07:17:27 pm »

ได้ความรู้เพียบ...ขิอบคุณครับ สาธุ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 21 คำสั่ง