Languages
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พัดลมไฟฟ้า  (อ่าน 77194 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2014, 01:56:16 pm »

จากปัญหาเรื่องพัดลมหน้าเครื่องที่ผมเคยลงไว้ในกระทู้นี้
http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=22219.msg563265#msg563265
ทำให้ผมมีความคิดอยากลองพัดลมไฟฟ้าตั้งแต่นั้น...

ตอนนี้ใจพร้อม (แต่ก็มีลังเลนิดๆ จะเปลี่ยนดีไหม... จริงๆของเดิมปัญหาน้อยอยู่แล้ว)
ระบบควบคุมเกือบพร้อม
โครง+พัดลมไฟฟ้าไปสั่งร้านให้เตรียมไว้แล้ว (ในรูปเป็นตัวอย่าง ของรุ่นอื่น ไม่ใช่ปาครับ)

ผมว่าจะลองใส่ภายใน 1-2 อาทิตย์นี้ละครับ
ป๋าท่านใดเปลี่ยนใส่พัดลมไฟฟ้ามาแล้วรบกวนออกความคิดเห็นหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2014, 08:28:06 am »

ไม่มีใครมาให้ข้อมูลเลย งั้นผมไปต่อเรื่อยๆครับ
----------------------

ข้อดีของพัดลมไฟฟ้าในมุมมองของผมมีอะไรบ้าง ทำไมผมถึงอยากลอง?
ผมขอพูดถึงการทำงานแบบสั้นๆของพัดลมระบายความร้อนทั้งสองแบบ
- พัดลมไฟฟ้าติด/ดับตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ (ในบางระบบจะควบคุมความแรงของพัดลมเป็น 2 สเต็ป ตามอุณหภูมิ)
- พัดลมฟรีคลัทช์หมุนตามเครื่อง คือจะทำงานตลอด รอบเครื่องสูงพัดลมก็จะหมุนเร็วตาม (ขอไม่พูดถึงความหนืดของน้ำยาในตัวฟรีคลัทช์นะครับ) ดังนั้นมันจะช่วยระบายความร้อนออกจากหม้อน้ำอยู่ตลอดเวลา (มากน้อยตามรอบเครื่อง)

ทีนี้มาดูข้อดีของพัดลมไฟฟ้าในมุมมองของผมครับ
พัดลมไฟฟ้าจะติด/ดับได้ตรงตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ (รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ) ซึ่งส่งผลเป็นข้อดีคือ
- เครื่องร้อนถึงอุณหภูมิทำงานเร็ว ไม่ต้องรอวอร์มเครื่องนานเพราะพัดลมไฟฟ้าจะไม่ทำงานในขณะที่อุณหภูมิน้ำยังไม่ถึงจุดทำงาน
- ไม่กินกำลังเครื่อง
- เสียงพัดลมคาดว่าจะเงียบกว่า (ขึ้นอยู่กับขนาด ลักษณะใบพัดและความเร็วรอบของพัดลม)
  พัดลมแบบฟรีคลัทช์โดยปกติก็เสียงไม่ดัง แต่บางครั้งก็ดังแบบไม่สมเหตุสมผล  โอ๊ยมึน (บางครั้ง เช่นตอนเหยียบคันเร่งแรง รอบกวาดสูงเร็ว หรือความร้อนสะสมเยอะเช่นเวลาวิ่งทางไกล)
- ความแรงในการหมุนกำหนดได้ชัดเจน (ขึ้นอยู่กับระบบควบคุม) ไม่หมุนแรงตามรอบเครื่องเหมือนพัดลมฟรีคลัทช์
- ควบคุมให้พัดลมหยุดทำงานตอนลงน้ำได้ (จริงๆผมก็ไม่เคยเอาปาไปลุยน้ำขนาดนั้น อย่างมากก็แค่แถวๆไฟตัดหมอกตอนน้ำท่วมปี 54)


บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2014, 06:24:11 pm »

เพื่อเป็นการไม่ลำเอียงมาดูข้อดีของพัดลมแบบฟรีคลัทช์กันบ้าง
จริงๆแล้วข้อดีสุดๆเลยก็คือ มันทำงานตลอดที่เครื่องยนต์ทำงาน ไม่เคยงอแง (โอกาสเสียเกือบเป็นศูนย์)
ข้อดีอื่นๆที่เป็นส่วนประกอบของข้อด้านบนเช่น
- ไม่มีส่วนที่เป็นอิเลคทรอนิกส์ เสียยาก
- ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรทั้งนั้น หากอยากจะสนใจมันบ้างก็แค่
  1. ตอนเครื่องเย็น (เครื่องยนต์ไม่ทำงาน) ลองเอามือหมุนใบพัดดู หากใบพัดหมุนตามมือไปนิดหน่อยก็ถือว่าเป็นปกติ แต่หากหมุนตามไปเป็นรอบก็ต้องไปเติมน้ำยาฟรีคลัทช์กันบ้าง
  2. สตาร์ทเครื่อง หากพัดลมหมุนก็จบ

จากความเรียบง่าย ไร้ปัญหา(ในเรื่องการระบายความร้อน) ของเจ้าแบบฟรีคลัทช์นี่แหละที่ทำให้ผมตัดสินใจยากจริงๆที่จะเปลี่ยนไปใช้พัดลมไฟฟ้า... ไม่รู้จะกลายเป็นได้อย่างแต่เสียหลายอย่างหรือเปล่า  อ๋าย!!!!!
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 12:16:41 pm »

กลับเข้ามาเริ่มงานกันครับ
อาทิตย์นี้ได้โครง + พัดลมมาละครับแต่ยังไม่ติดตั้งเพราะผมยังทำระบบควบคุมไม่เสร็จ
จริงๆติดตั้งเลยก็ได้ คันอื่นๆเขาก็ใช้กับแบบนั้น (ติด thermo switch, relay, พัดลม จบ) แต่ระบบผมขอเยอะนิดนึง  อ๋าย!!!!! ลองตามดูนะครับ

ความต้องการของผมในส่วนนี้คือใช้พัดลม 2 ตัว (เผื่อตัวนึงเสียอีกตัวยังพอประคองได้อยู่) และแต่ละตัวทำงานได้ 2 สเตป  Cool
ซึ่งโดยปกติเจ้าพัดลมเชียงกงแบบนี้จะทำงาน 2 สเตปได้อยู่แล้วแต่สายไฟที่ต่อมาให้จะต่อร่วมกันมาเป็นสเตปเดียวคือจ่ายไฟเข้าก็หมุนแรงสเตปเดียวเลย
ดังนั้นผมเลยเอาพัดลมมาแปลงสายใหม่ให้กลับมาเป็น 2 สเตปเสียก่อน
ตามรูปตัวขวาดัดแปลงสายไฟแล้ว ตัวซ้ายยังเดิมๆอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
xenogear
Full Member
***

like: 18
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1056



อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 01:55:45 pm »

กำลังติดตามผลงานอยู่นะครับ น่าสนใจครับ 
บันทึกการเข้า
kung246
Newbie
*

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 135



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 10:51:30 pm »

  รออ่านครับ suadyod
บันทึกการเข้า
PALUM
Newbie
*

like: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2014, 07:36:32 am »

รอติดตามผลงานด้วยคน
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2014, 12:25:53 pm »

ขอบคุณป๋าๆที่แวะเวียนเข้ามาครับ
ช่วงวันทำงานจะไม่ค่อยมีอะไรเพิ่มเติมเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ เลยเอาแนวคิดของผมที่อยากได้ในระบบพัดลมไฟฟ้ามาลงครับ
--------------------------
จากประเด็นที่ว่าพัดลมไฟฟ้ามีโอกาสเสียง่าย (มากกว่าพัดลมฟรีคลัทช์) ดังนั้นระบบที่ผมจะเอามาใช้ก็ต้องออกแบบให้มันมีความเป็น High Availability (ขอใช้ภาษาปะกิตให้ดูสวยหรูนิดครับ  Cheesy) ซึ่งจะทำงานแบบ Active-Active Redundancy (ขออีกนิด) คือเราจะมีระบบทำหน้าที่ระบายความร้อนแบ่งเป็นสองชุดช่วยกันทำงาน
ซึ่งเจ้าระบบระบายความร้อนจะประกอบด้วยพัดลม, รีเลย์, ฟิวส์ รวมถึงชุดสายไฟแยกกันเป็นสองชุด
ทั้งสองชุดจะทำงานพร้อมกัน หากอุปกรณ์ใดๆในชุดหนึ่งๆชำรุด ระบบระบายความร้อนอีกชุดจะยังทำหน้าที่ของมันต่อไป ซึ่งอาจจะระบายไม่ได้ดีเท่าสองชุดแต่ดีกว่าไม่มีเลยแน่นอน

อีกสองส่วนประกอบสำคัญในระบบที่ผมไม่ได้พูดไว้ข้างบนคือเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและวงจรควบคุมการเปิด/ปิดพัดลม
ถึงตรงนี้ป๋าๆหลายท่านที่รู้เรื่องระบบพัดลมไฟฟ้าดีคงสงสัยว่าวงจรควบคุมไม่เห็นจะต้องมีก็ได้ แค่มีเทอร์โมสวิทช์ก็พอแล้ว
แต่ก็อย่างที่ผมบอกครับว่าขอเยอะนิดนึง... วงจรควบคุมที่ว่านี่จะทำหน้าที่เพิ่มเติมเช่น
- สามารถกำหนดอุณหภูมิที่ต้องการให้พัดลมติด/ดับ เช่นสเตป1 ติดที่ 87 องศา/ดับที่ 83 องศา, สเตป2 ติดที่ 95 องศา/ดับที่ 90 องศา   (อันนี้คล้ายๆเทอร์โมสวิทช์)
- ควบคุมพัดลมแบบสเตปเดียวให้ทำงานเป็นสองสเตปได้ (อันนี้ไม่สำคัญ เพราะผมเลือกใช้พัดลมแบบสองสเตปอยู่แล้ว)
- สั่งให้พัดลมหยุดทำงานเมื่อรถอยู่ในน้ำ
- อีกอันที่อยากได้คือให้พัดลมทำงานเฉพาะตอนที่เครื่องยนต์ทำงาน (วงจรพัดลมไฟฟ้าส่วนมากพอบิดกุญแจไป ACC หรือ ON พัดลมก็ทำงานกันแล้ว แบบนี้ไม่ดีกับแบต)
แค่นี้น่าจะเยอะพอแล้วสำหรับผม...

อ้อลืมไปอันนึง ผมจะใช้เซ็นเซอร์อันเดียวกับ Water Temp Gauge ไปเลยครับ ไม่ต้องเจาะหม้อน้ำเพื่อติดเซ็นเซอร์หรือเทอร์โมสวิทช์เพิ่ม  lala

กลับมาพูดถึงเรื่อง High Availability ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เพราะปัญหาอยู่ที่เจ้าเซ็นเซอร์และวงจรควบคุมนี่ละครับที่ยังเป็น Single Point of Failure อยู่
แต่คงจะใช้แค่นี้ไปก่อนเพราะรถทุกคันที่ใช้พัดลมไฟฟ้าก็ไม่ได้มีระบบ redundant พวกนี้
เดี๋ยวใช้งานไปแล้วหากพัดลมไฟฟ้ามันดีสำหรับผมจริงค่อยกลับมาเพิ่มระบบ fail-safe สำหรับเจ้าสองตัวนี้เข้าไปทีหลังครับ

วันนี้มีภาษาอังกฤษเยอะไปหน่อย ผิดๆถูกๆยังไงป๋าๆเข้ามาแนะนำได้เลยครับ  สาธุ
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2014, 01:06:21 pm »

เจ้าเกจดูอุณหภูมิน้ำ (Water Temp Gauge) นี่ผมติดเพิ่มไปก่อนแล้ว เด๊่ยวขอลองค้นหากระทู้ดูก่อน หากไม่มีสมชท่านใดลงไว้ผมจะขอเปิดกระทู้ใหม่อีกซักกระทู้ครับ
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2014, 08:50:36 am »

รูปนี้แปลงสายกลับมารองรับสองสเตปทั้งสองตัวและต่อวงจรรีเลย์ ฟิวส์และสายไฟแยกเป็นสองชุดเรียบร้อยครับ
ซึ่งสายที่ผมแปลงไปแล้วนี้สามารถเลือกต่อได้ทั้งสองแบบคือ
ต่อแบบ 1 รีเลย์คุมพัดลม 1 ตัว แบบนี้ทำงานที่สเตป2 เลย (พัดลมแต่ละตัวมี 2 สเตป มองภาพง่ายๆว่าในพัดลม 1 ตัวมีมอเตอร์ 2 ตัวน่ะครับ หากต่อไฟให้มอเตอร์ทำงานทั้งสองตัว พัดลมก็จะหมุนแรง)
ส่วนที่ผมเลือกใช้จะต่อแบบ 1 รีเลย์ควบคุม 1 มอเตอร์ในพัดลมแต่ละตัว แบบนี้จะทำให้พัดลมทั้งสองตัวทำงานพร้อมกัน  Cool

และจากที่ได้ทดลองเปิดพัดลมเป็นสเตป2 พร้อมกันสองตัวนี่ลมแรงมากๆครับ แบบนี้ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการระบายความร้อน
ส่วนเสียงใบพัดกินลมนี่ดังมากเหมือนกัน หากให้พัดลมสองตัวทำงาน 2 สเตปตลอดนี่ไม่น่าจะไหวครับ ดังเกิน  ทนไม่ได้
ตามที่ออกแบบไว้จะให้ทำสองตัวทำงาน 2 สเตปเมื่ออุณหภูมิถึง 95 องศา ซึ่งแบบนี้น่าจะโอครับ

ส่วนเสียงตอนทำงานสเตป1 สองตัวนี่ก็ดังพอประมาณครับ ต้องรอดูผลตอนใช้งานจริงคงจะรู้ว่าดังมากไปไหม
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2014, 12:31:40 am »

ปรับโปรแกรมกล่องควบคุมสำเร็จละครับ
คงจะวางเจ้ากล่องนี่ไว้ที่คอนโซลเกียร์ชั่วคราวซัก 2 อาทิตย์หลังจากติดตั้งพัดลมแล้วเพื่อดูอุณหภูมิและการทำงานของกล่องครับ มั่นใจเมื่อไหร่ค่อยถอดจอ LCD แสดงผลออก ซีลกันน้ำและย้ายไปไว้ในห้องเครื่อง

หน้าที่หลักๆของเจ้ากล่องนี้คือรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำและสั่งตัดต่อรีเลย์เพื่อจ่าย/ตัดไฟให้พัดลมไฟฟ้าตามเงื่อนไขอุณหภูมิที่เรากำหนดไว้ครับ ส่วนการทำงานอื่นๆก็ออกแบบตามที่ลงไว้ก่อนหน้านี้คือ
- ควบคุมพัดลมแบบสเตปเดียวให้ทำงานเป็นสองสเตปได้ อันนี้ทำไว้เรียบร้อย แต่ผมไม่ได้ใช้  Cheesy
- สั่งให้พัดลมหยุดทำงานเมื่อรถอยู่ในน้ำ ทำไว้เรียบร้อย แต่เซ็นเซอร์ที่สั่งไปยังไม่มา คงจะใช้แบบนี้ไปก่อน  Cool
- พัดลมทำงานเฉพาะตอนที่เครื่องยนต์ทำงาน อันนี้ทำได้ไม่สมบูรณ์เนื่องจากผมใช้วิธีตรวจสอบค่าโวลท์จากแบตเตอรรี่ ซึ่งเจ้าแบตมันทำงานคล้ายคาปาซิเตอร์มีผลคือหลังจากดับเครื่องแล้วค่าโวล์ทเตจจะยังสูงอยู่ซักพักนึงแล้วค่อยๆคายประจุลดลงเรื่อยๆจนนิ่งที่ระดับนึงกล่องถึงจะรู้ว่าเครื่องยนต์ไม่ทำงานแล้ว ส่วนการบิดสวิทช์กุญแจไป ACC, ON ตอนเช้าจะไม่มีปัญหา แรงดันแบตเตอรรี่จะนิ่งดีเพราะไม่ได้เพิ่งผ่านการชาร์ตมา
ลองคิดๆดูแล้วครั้นผมจะใช้ค่าจาก CANBUS เหมือนในโปรเจคน้ำฉีดอินเตอร์ก็จะวุ่นวายต้องต่อสายไฟเยอะและยาวเกินไป ก็เลยพอใจที่แบบนี้ครับ
ใช้ไฟ ON ต่อให้เจ้ากล่องนี้น่าจะโอครับ เนื่องจาก 1. ในห้องเครื่องมีไฟตัวนี้หลายจุดอยู่แล้ว 2. ในการใช้งานจริงเมื่อบิดกุญแจดับเครื่องแก๊กแรกกุญแจจะค้างอยู่ที่ตำแหน่ง ACC ซึ่งไฟ ON จะไม่มีแล้ว  

ได้ตามนี้ผมโอละ ถือว่าระบบไฟสมบูรณ์แล้ว ตอนนี้อยากจะรีบไปติดตั้งเจ้าพัดลมไฟฟ้าลงในรถละครับ จะได้รู้ซักทีว่ามันมีดีอย่างที่คิดไว้หรือเปล่า u
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2014, 07:19:40 am โดย ปาโลมา » บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2014, 12:43:33 am »

ลงรูปไม่ได้ เค้าบอกว่า "โฟล์เดอร์ที่ใช้เก็บไฟล์แนบเต็ม โปรดลองด้วยไฟล์ที่เล็กกว่า หรือติดต่อ ผู้ดำเนินการ"
รอครับ...  Cry
บันทึกการเข้า
azure_abb
Jr. Member
**

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 765



« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2014, 09:15:36 am »

ปรับโปรแกรมกล่องควบคุมสำเร็จละครับ
คงจะวางเจ้ากล่องนี่ไว้ที่คอนโซลเกียร์ชั่วคราวซัก 2 อาทิตย์หลังจากติดตั้งพัดลมแล้วเพื่อดูอุณหภูมิและการทำงานของกล่องครับ มั่นใจเมื่อไหร่ค่อยถอดจอ LCD แสดงผลออก ซีลกันน้ำและย้ายไปไว้ในห้องเครื่อง

หน้าที่หลักๆของเจ้ากล่องนี้คือรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำและสั่งตัดต่อรีเลย์เพื่อจ่าย/ตัดไฟให้พัดลมไฟฟ้าตามเงื่อนไขอุณหภูมิที่เรากำหนดไว้ครับ ส่วนการทำงานอื่นๆก็ออกแบบตามที่ลงไว้ก่อนหน้านี้คือ
- ควบคุมพัดลมแบบสเตปเดียวให้ทำงานเป็นสองสเตปได้ อันนี้ทำไว้เรียบร้อย แต่ผมไม่ได้ใช้  Cheesy
- สั่งให้พัดลมหยุดทำงานเมื่อรถอยู่ในน้ำ ทำไว้เรียบร้อย แต่เซ็นเซอร์ที่สั่งไปยังไม่มา คงจะใช้แบบนี้ไปก่อน  Cool
- พัดลมทำงานเฉพาะตอนที่เครื่องยนต์ทำงาน อันนี้ทำได้ไม่สมบูรณ์เนื่องจากผมใช้วิธีตรวจสอบค่าโวลท์จากแบตเตอรรี่ ซึ่งเจ้าแบตมันทำงานคล้ายคาปาซิเตอร์มีผลคือหลังจากดับเครื่องแล้วค่าโวล์ทเตจจะยังสูงอยู่ซักพักนึงแล้วค่อยๆคายประจุลดลงเรื่อยๆจนนิ่งที่ระดับนึงกล่องถึงจะรู้ว่าเครื่องยนต์ไม่ทำงานแล้ว ส่วนการบิดสวิทช์กุญแจไป ACC, ON ตอนเช้าจะไม่มีปัญหา แรงดันแบตเตอรรี่จะนิ่งดีเพราะไม่ได้เพิ่งผ่านการชาร์ตมา
ลองคิดๆดูแล้วครั้นผมจะใช้ค่าจาก CANBUS เหมือนในโปรเจคน้ำฉีดอินเตอร์ก็จะวุ่นวายต้องต่อสายไฟเยอะและยาวเกินไป ก็เลยพอใจที่แบบนี้ครับ
ใช้ไฟ ON ต่อให้เจ้ากล่องนี้น่าจะโอครับ เนื่องจาก 1. ในห้องเครื่องมีไฟตัวนี้หลายจุดอยู่แล้ว 2. ในการใช้งานจริงเมื่อบิดกุญแจดับเครื่องแก๊กแรกกุญแจจะค้างอยู่ที่ตำแหน่ง ACC ซึ่งไฟ ON จะไม่มีแล้ว  

ได้ตามนี้ผมโอละ ถือว่าระบบไฟสมบูรณ์แล้ว ตอนนี้อยากจะรีบไปติดตั้งเจ้าพัดลมไฟฟ้าลงในรถละครับ จะได้รู้ซักทีว่ามันมีดีอย่างที่คิดไว้หรือเปล่า u


เอ ผมขอออกความเห็นได้ป่าว เราไม่ลองใช้พวก พัดลม PWM ตัวใหญ่ของพวก altis ดูละครับไหนๆก็เก่งโปรแกรมกว่าผม
น่าจะควบคุมได้ละเอียดดีกว่า คิดว่านะ kiki kiki
บันทึกการเข้า

ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2014, 02:12:09 pm »

เอ ผมขอออกความเห็นได้ป่าว เราไม่ลองใช้พวก พัดลม PWM ตัวใหญ่ของพวก altis ดูละครับไหนๆก็เก่งโปรแกรมกว่าผม
น่าจะควบคุมได้ละเอียดดีกว่า คิดว่านะ kiki kiki

ยินดีให้ออกความคิดเห็นเต็มที่เลยครับป๋า แชร์ไอเดียกันเป็นเรื่องดีและอยากให้มีเยอะๆครับ  Ok..

เรื่องพัดลมอัลติสน่าจะเป็นพัดลมไฟฟ้าธรรมดาเหมือนกัน แต่ทำ 2 สเตป (2 สปีด) หรือมากกว่าโดยมีสายต่อไปแค่ 2 สายก็คือเขาใช้ PWM ตามที่ป๋าว่ามาถูกต้องแล้วครับ
พัดลมไฟฟ้า (มอเตอร์) ทุกๆตัวรวมถึงตัวที่ผมเอามาลงสามรถปรับลดความแรงได้โดยใช้ PWM ครับ ไม่เฉพาะของอัลติส
ในกล่องควบคุมที่ผมทำก็ใช้ PWM ครับ ตามข้อนี้ "ควบคุมพัดลมแบบสเตปเดียวให้ทำงานเป็นสองสเตปได้ อันนี้ทำไว้เรียบร้อย แต่ผมไม่ได้ใช้" เพราะพัดลมที่ผมใช้ 1 ตัวมีสองมอเตอร์อยู่แล้ว ซึ่งดีกว่าการใช้ PWM ครับ 
แต่ที่ผมไม่ได้พูดถึง PWM ไว้ในกระทู้เลยเพราะกลัวว่าจะเยอะเกินครับ ผมเข้าใจว่าป๋าๆที่ขับปาส่วนมากไม่สนใจลงลึกขนาดนั้น

อันนี้แสดงว่าป๋า azure_abb มีความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ MCU และการโปรแกรมมิ่งแน่ๆเลย หากป๋าสนใจเราแอบคุยกันหรือขอเปิดกระทู้/เปิดห้องใหม่มาแลกเปลี่ยนกันได้ก็จะดีครับ
เข้าใจว่าป๋าๆหลายท่านรู้เรื่องพวกนี้เยอะ(แต่ผ่านจุดที่จะลงมือเองไปแล้ว)คงจะได้เข้ามาแชร์กันครับ ผมออกตัวก่อนเลยว่าผมแค่มือสมัครเล่นทำเป็นงานอดิเรกนะครับ 
บันทึกการเข้า
azure_abb
Jr. Member
**

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 765



« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2014, 02:25:54 pm »

เอ ผมขอออกความเห็นได้ป่าว เราไม่ลองใช้พวก พัดลม PWM ตัวใหญ่ของพวก altis ดูละครับไหนๆก็เก่งโปรแกรมกว่าผม
น่าจะควบคุมได้ละเอียดดีกว่า คิดว่านะ kiki kiki

ยินดีให้ออกความคิดเห็นเต็มที่เลยครับป๋า แชร์ไอเดียกันเป็นเรื่องดีและอยากให้มีเยอะๆครับ  Ok..

เรื่องพัดลมอัลติสน่าจะเป็นพัดลมไฟฟ้าธรรมดาเหมือนกัน แต่ทำ 2 สเตป (2 สปีด) หรือมากกว่าโดยมีสายต่อไปแค่ 2 สายก็คือเขาใช้ PWM ตามที่ป๋าว่ามาถูกต้องแล้วครับ
พัดลมไฟฟ้า (มอเตอร์) ทุกๆตัวรวมถึงตัวที่ผมเอามาลงสามรถปรับลดความแรงได้โดยใช้ PWM ครับ ไม่เฉพาะของอัลติส
ในกล่องควบคุมที่ผมทำก็ใช้ PWM ครับ ตามข้อนี้ "ควบคุมพัดลมแบบสเตปเดียวให้ทำงานเป็นสองสเตปได้ อันนี้ทำไว้เรียบร้อย แต่ผมไม่ได้ใช้" เพราะพัดลมที่ผมใช้ 1 ตัวมีสองมอเตอร์อยู่แล้ว ซึ่งดีกว่าการใช้ PWM ครับ 
แต่ที่ผมไม่ได้พูดถึง PWM ไว้ในกระทู้เลยเพราะกลัวว่าจะเยอะเกินครับ ผมเข้าใจว่าป๋าๆที่ขับปาส่วนมากไม่สนใจลงลึกขนาดนั้น

อันนี้แสดงว่าป๋า azure_abb มีความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ MCU และการโปรแกรมมิ่งแน่ๆเลย หากป๋าสนใจเราแอบคุยกันหรือขอเปิดกระทู้/เปิดห้องใหม่มาแลกเปลี่ยนกันได้ก็จะดีครับ
เข้าใจว่าป๋าๆหลายท่านรู้เรื่องพวกนี้เยอะ(แต่ผ่านจุดที่จะลงมือเองไปแล้ว)คงจะได้เข้ามาแชร์กันครับ ผมออกตัวก่อนเลยว่าผมแค่มือสมัครเล่นทำเป็นงานอดิเรกนะครับ 

อู๊ย ผมก็ปลาๆงูๆล่ะครับงานอดิเรกเหมือนกัน อิๆ เดี๋ยวมีไอเดีย แล้วจะ pm หานะครับ Ok..
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 21 คำสั่ง