วิธีทำภาพให้แจ่มเพื่อโพสในเว็บไซต์
It?s JPEG
JPEG คือไฟล์ภาพที่คุณต้องยุ่งเกี่ยวอยู่เสมอ มันเป็นการบันทึกข้อมูลแบบ ?บีบอัด? ที่ยอมสูญเสียคุณภาพของภาพ นั่นแปลว่าทุกครั้งที่คุณ Save ภาพไปเรื่อย ๆ คุณภาพก็จะหดหายไปเรื่อย ๆ ด้วย วิธีการก็คือ เมื่อคุณได้ไฟล์ Jpeg มาแล้ว ก็ให้ Save as เป็นนามสกุลอื่น ๆ เช่น BMP, TIFF, PNG, PSD ฯลฯ ที่ไม่มีการบีบอัด (หรือมีก็น้อยมาก) และให้ตกแต่งที่ไฟล์นี้ จากนั้นค่อย Save as เป็น JPEG เพื่อเอาไปโพสอีกที จำไว้ว่า Save as แบบ JPEG ให้น้อยครั้งที่สุด
Resize, Rotate, Crop
เราเจอทั้ง 3 ขั้นตอนนี้อยู่บ่อย ๆ ในการปรับและแก้ไขภาพ และทุกครั้งที่เราทำการปรับขนาด, หมุนภาพ และครอบภาพ ตัวโปรแกรมจะทำขั้นตอนที่เรียกว่า Interpolate เพื่อปรับขนาดจุด (Pixel) ของภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพเกิดการสูญเสียความคมชัดบางส่วนไป
ทางที่ดีที่สุดคือวางแผนล่วงหน้าและทำอย่างไรก็ได้ให้ในแต่ละภาพของคุณผ่านขั้นตอนนี้เพียงครั้งเดียว วิธีที่เข้าท่าคือสร้างไฟล์ใหม่ในขนาดที่ต้องการแล้ววางภาพนี้ลงไป ปรับขนาดมันให้ลงได้ภายในครั้งเดียว ไม่ปรับไปปรับมาอีก
Save Preset
ในหัวข้อที่ผ่านมา เรามีบอกเอาไว้ว่าให้สร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาเลยในขนาดที่ต้องการ ทีนี้ถ้าจะต้องมา File > New แล้วกรอกตัวเลขค่าต่าง ๆ กันทุกครั้งก็เกรงว่าจะไม่โปร
หากเราต้องใช้ขนาดหนึ่งเป็นประจำก็สร้างเอาไว้เป็นของเราเองซะเลยก็แล้วกัน เมื่อเลือก File > New และใส่ค่าตั้งทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็คลิ๊กที่ปุ่ม Save Preset มีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้ตั้งชื่อ ก็ตั้งกันไปตามสะดวก คราวหน้าก็เรียกใช้ค่าตั้งชื่อเอาไว้จะไปปรากฏอยู่ในเมนูนั้นเสร็จสรรพ อาจจะไม่ช่วยให้ภาพดูดีขึ้น แต่ทำให้เร็วขึ้นแน่ ๆ
Adobe RGB & sRGB
ฟันธงกันเลยว่า ถ้าหากจะโพสภาพในเว็บแล้ว ต้องใช้ sRGB เพราะระบบการแสดงสีของเจ้า Browser นั้นอ้างอิงกับ sRGB และคุณควรใช้โหมดนี้มาตั้งแต่แรก เพราะหากคุณใช้ AdobeRGB ทำมาพอแปลงเป็น sRGB ทีหลัง สีในภาพก็จะเปลี่ยนไปอีกก็ต้องมาปรับแก้กันใหม่อีกรอบ ถึงใช้ AdobeRGB สีสวยงดงาม แต่พอขึ้นเว็บจริง ๆ อาจจะดูไม่ได้เลยก็เป็นได้
Actual Size
มันคือการดูภาพในขณะปรับแต่งที่หน้าจอด้วยขนาดจริง ๆ เมื่อมันจะขึ้นไปโชว์บนเว็บ การตกแต่งภาพของเราอาจจะเป็นไปได้ทั้งสองแบบ คือแต่งก่อนปรับขนาด หรือปรับขนาดก่อนแล้วค่อยแต่ง แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่าควรดูด้วยขนาดเท่าจริง ไม่หลอกตัวเองด้วยการดูที่ขนาดเล็กหรือใหญ่กว่า ในขณะที่ทำการตกแต่งก็จะช่วยให้เราปรับตั้งค่าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามจริง เพราะหากดูด้วยขนาดอื่น อาจจะปรับค่าต่าง ๆ ผิดก็เป็นได้ สำหรับใน Photoshop ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่เครื่องมือแว่นขยายที่แถบชื่องานของเราก็จะบอกขนาดที่กำลังโชว์อยู่นี้เป็นเปอร์เซ็นด้วย
Sharpen
ก็อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่าเมื่อย่อ-ขยาย, หมุน, ครอบก็จะทำให้ความคมชัดลดลง เราสามารถชดเชยกลับมาได้ด้วยการใช้คำสั่ง Sharpen เพื่อให้ภาพของเราคมชัดยิ่งขึ้น มือใหม่หลายคนไม่รู้เรื่องนี้ ภาพที่เอามาโชว์ก็เลยขนาดความคมชัดไปอย่างน่าเสียดาย
อย่าลืมว่าต้องดูภาพที่ 100% จึงจะเหมาะสมที่สุดและก็ต้องไม่ตั้งค่า Sharpen ให้สูงเกินไป เพราะแทนที่จะได้ภาพคมกำลังดี กลายเป็นภาพคมเกินจนดูไม่สบายตา และต้องจำไว้อย่างหนึ่งด้วยว่า ยิ่งคมมาก Noise หรือจุดรบกวนก็ยิ่งเห็นชัดมาก ดังนั้นอย่าลืมแก้เรื่อง Noise เสียก่อน ทำทุกอย่างให้เรียบร้อยแล้ว ค่อย Sharpen เป็นขั้นตอนสุดท้าย
The Frame
นี่เป็นเคล็ดลับสำคัญอย่างหนึ่งของมืออาชีพ การทำกรอบภาพส่งผลอย่างมากต่อภาพถ่าย บางภาพก็ไม่มีกรอบสวยที่สุด แต่บางภาพได้กรอบเพิ่มเข้ามาช่วยก็ทำให้ดูดีขึ้นมาได้ ดังนั้นบางทีการยอมลดขนาดของภาพเพื่อให้เป็นกรอบก็อาจจะเป็นการตัดสินใจที่คุ้มค่ากรอบภาพที่ดีต้องดูดีและสะอาดสะอ้าน ไม่แย่งความสนใจไปจากตัวภาพ กรอบภาพที่เป็นสีขาวหรือดำจะดีที่สุด (แต่ก็ไม่เสมอไป) อีกสิ่งที่มักจะอยู่ในกรอบก็เช่น ชื่องาน, สถานที่หรือสัญลักษณ์ของเรา ซึ่งตำแหน่งการวางและลักษณะของมันก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ควรดูให้ดี
Save for Web
แทบจะทุกเว็บโพสภาพในปัจจุบันต้องมีการจำกัดขนาดความจุพื้นที่ (File size) เอาไว้เพื่อสงวนเนื้อที่บันทึกข้อมูล ซึ่งดูแล้วก็อาจจะขัดใจด้วยว่าให้พื้นที่มาน้อยเหลือเกินยังมีชาวเว็บอีกมากมายที่ยังใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำอยู่ ไฟล์ใหญ่โหลดนาน อาจจะทำให้เขาลาจากไปก่อนที่จะได้เห็นภาพของเราด้วยซ้ำเราอาจจะกะขนาดไม่ถูกว่าควร Save ไฟล์ที่เท่าไหร่จึงจะพอดี ก็ให้ Save for web ช่วยได้ โดยการคลิ๊กที่มุมขวาบน แล้วเลือกมาที่ Optimize to file size แล้วใส่ขนาดเป็น KB ลงไป ดูอีกทีก่อน Save ว่าผลที่ได้ออกมายอมรับได้หรือไม่? ถ้ายังไม่ได้ ก็ต้องไปลดขนาด กว้าง x ยาวของภาพให้เล็กลง.
เครดิต : tsdmag