Languages
หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลสิ้นเปลืองหลังติดLPG ปา2.4  (อ่าน 8161 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Chai .RY No. 495
Hero Member
*****

like: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2072


ชื่อ เล่น : ชัย จ. ระยอง


« ตอบ #15 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 08:32:29 am »

ปัญหารถทึ่ใช้แก๊สคือ บ่าวาล์ว แต่ละยี่ห้ออาการก็จะต่างกัน ไม่มากก็น้อย หรือบางยี่ห้อ บางรุ่น ก็ไม่มีอาการนี้เลยก็มี
 ไม่รู้ว่า  เครื่องยนต์ อย่างไหนพังก่อน ผมว่า อยู่ที่การบำรุงรักษา  การใช้งาน และ ความรู้ เพิ่มเติม ของการใช้เครื่องยนต์ ที่ใช้พลังงานหลากหลายแบบ ครับ
 เบนซิน : เครื่องพัง
  LPG  : เครื่องพัง
  NGV  :เครื่องพัง
   ดีเซล : เครื่องพัง
 Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
 
บันทึกการเข้า

ปลากรอบ(GOFF)
Jr. Member
**

like: 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 411



อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 09:00:05 am »

.       Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
   ก๊าซ (LPG) และ (NGV) เป็นพลังงาน ที่ใช้ในรถยนต์ได้อย่างไร
          จริงแล้วน้ำมันเบนซินเป็นของเหลว แต่ในการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ น้ำมันจะต้องมีการเปลี่ยนสถานะจากของ
          เหลวเป็นไอเสียก่อนจึงจะผสมกับอากาศเป็นส่วนผสมที่เรียกว่า ?ไอดี? ส่วนการใช้ (LPG) และก๊าซ (NGV)
          ก๊าซจะถูกดูดเข้าเครื่องยนต์ใสสถานะไอที่ผสมกับอากาศรวมเป็นส่วนผสมที่เรียกว่า ?ไอดี? เช่นกัน ค่าออกเทน
          ของก๊าซ (LPG) มีค่าอยู่ประมาณ 105 RON ก๊าซ (NGV) มีค่าออกเทน 120 RON ก๊าซทั้งสองชนิดมีค่าออกเทน
          ที่ใกลเคียงกับน้ำมันเบนซิน จึงนำมาดัดแปลงใช้กับเครื่องยนต์ที่กำหนดให้ใช้เบนซินออกเทน 91,95 ได้

            ทำไมเครื่องยนต์ที่ถูกดัดแปลงมาใช้ก๊าซ (LPG) ก๊าซ (NGV) มักจะมีปัญหาเรื่องเสียงดังของวาล์ว
          บ่าวาล์วทรุด และบ่าวาล์วรั่ว
          การเผาไหม้ของก๊าซ (LPG) จะให้ค่าความร้อนสูงประมาณ กว่า 400 ?C การเผาไหม้ของก๊าซ (NGV) จะให้ค่า
          ความร้อนสูงประมาณ กว่า 500 ?C : ซึ่งสูงกว่าการใช้พลังงานน้ำมันเบนซินถึงกว่า 2 เท่า ความร้อนจะทำให้โลหะ
          ชิ้นส่วนของบ่าวาล์วนิ่มและอ่อนตัว ส่งผลให้เกิดการสึกหรอได้อย่างรวดเร็ว น้ำมันเบนซิน จะมีสารปรุงแต่ง (Additive)
          จำพวก สารปกป้องบ่าวาล์ว สารหล่อลื่น สารชะล้างต่างๆ เมื่อเกิดการเผาไหม้ ไอของน้ำมันจะเคลือบอยู่ที่ชิ้นส่วนต่างๆ
          ของบ่าวาล์ว สามารถรับแรงกดแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ส่วนพลังงานก๊าซไม่สามารถปรุงแต่งใดๆ ได้ ไอดีของก๊าซ
          มีลักษณะเป็นไอที่แห้ง ไม่มีสารเคลือบบ่าวาล์ว ทำให้การสึกหรอจากการปิด ? เปิดของวาล์ว เกิดขึ้นอย่างรุนแรง
          ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับค่าความร้อนสูงถึงความร้อนของ ก๊าซ (LPG) และ ก๊าซ
          (NGV) จึงทำให้เครื่องยนต์ที่ถูกดัดแปลงมาใช้พลังงานก๊าซเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว

           เราสามารถใช้น้ำมัน 2T (AUTO LUBE) มาใช้ในการเลี้ยงวาล์วเพื่อป้องกันการสึกหรอของบ่าวาล์ว
          ได้หรือไม่
          ก่อนอื่นต้องขอชมเชยท่านที่คิดค้นและพยายามนำเอาน้ำมัน 2 T ที่ใช้ในการหล่อลื่นในกระบอกสูบของเครื่องยนต์
          2 จังหวะ โดยท่านได้ทรายถึงปัญหาของบ่าวาล์วและได้มีการแก้ไขโดยใช้วิธีเดียวกับมอเตอร์ไซ และถ้าจะถามว่า
          ใช้ได้ผลหรือไม่ ให้พินิจพิจารณาดูจาก

           ก. เครื่องยนต์ที่ใช้ น้ำมัน 2 T เป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะมีรอบกาจจุดระเบิดทุกรอบ แต่เครื่องยนต์ในรถยนต์ เป็น
           เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เครื่องยนต์หมุน 2 รอบแต่มีการจุดระเบิด ให้กำลังงาน 1 รอบ

           ข. เครื่องยนต์ 2 จังหวะและ 4 จังหวะ มีการออกแบบวาล์วไอดีและไอเสียที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน รวมไปถึง
           ลักษณะของแหวนลูกสูบ กล่าวคือ วาล์วของเครื่องยนต์ 2 จังหวะมักจะมีการออกแบบเป็นลักษณะของช่องพอร์ด
           โดยใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิด-ปิดวาล์วไอดีและไอเสีย

           ส่วนเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีวาล์วไอดีไอเสียเป็นลักษณะของดอกเห็ด อยู่ส่วนบนของกระบอกสูบ เปิดปิดโดย
           ใช้เพลาลูกเบี้ยวเป็นตัวเปิด-ปิด

           ค. การออกแบบน้ำมัน 2T ก็ได้มีการออกแบบให้มีลักษณะและองค์ประกอบของน้ำมันในเรื่องของการเผาไหม้
           และการหล่อลื่น ลูกสูบกับกระบอกสูบ และให้ใช้กับเครื่องยนต์ 2 จังหวะที่มีรอบการทำงานที่จัดกว่า เครื่องยนต์
           4 จังหวะ

           ง. อย่างไรก็ดีเครื่องยนต์ 2 จังหวะเมื่อมีการใช้ไปสักระยะหนึ่งก็มักจะต้องพบกับปัญหาเรื่องการสะสมเขม่า
           การอุดตัน หัวเทียนบอด และอื่นๆตามมา

           จ. ปัจจุบันมีการพบรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้ก๊าซพร้อมกับมีการใช้น้ำมัน 2 Tมาเลี้ยงวาล์ว แล้วเกิดความเสียหาย
           ตั้งแต่อาการบ่าวาล์วรั่ว หัวลูกสูบทะลุหนักไปจนถึงจะต้องมีการผ่าเครื่องมาซ่อมบำรุงกันยกใหญ่ แต่ในขณะเดียว
           กันก็ยังมีผู้ที่ใช้ 2T เลี้ยงวาล์วแล้วก็ยังบอกว่าไม่มีปัญหาใดๆ

           ฉ. ในต่างประเทศที่มีการใช้ก๊าซเป็นพลังงานแทนน้ำมันเบนซิน จะไม่มีการใช้ น้ำมัน 2 T มาเลี้ยงวาล์ว เพราะ
           ทราบถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อเครื่องยนต์แล้วไอพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ยังก่อไห้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
           ปัจจุบันในรถมอเตอร์ไซดิ์ได้มีการยกเลิกการใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะเพราะตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวด
           ล้อมนั้นเอง

                การสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเบนซินและใช้น้ำมันสักพัก จะสามารถช่วยเลี้ยงวาล์วได้หรือไม่
            การสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเบนซินจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่ายการสึกหรอ จะน้อยกว่าการสตาร์ทด้วย
            ก๊าซ ส่วนการใช้น้ำมันเบนซินเลี้ยงวาล์วนั้น ยังไม่เคยมีการทำการทดสอบอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงแต่ข้อ
            สันนิฐาน แต่การใช้น้ำมันเบนซินให้บ่อย และนานขึ้นในช่วงก่อนออกรถและก่อนที่จะทำการดับเครื่องยนต์ ก็จะ
            มีส่วนช่วย ให้ไอน้ำมันเบนซินเข้ามาช่วยชะล้างเขม่าหรือขี้เถ้าที่เกิดจากการสันดาปด้วยก๊าซได้ อย่างไรก็ดีทัน
            ที่มีได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซแทนน้ำมันเบนซิน ก็มีแนวคิดในเรื่องของ ความร้อนที่เกิดจากการสันดาปด้วย
            ก๊าซที่ให้ความร้อนที่สูงกว่าน้ำมัน ดังนั้นไอน้ำมันเบนซินที่เคลือบไว้ตามส่วนต่างๆของวาล์วก็จะถูกความร้อนของ
            ก๊าซเผาไหม้ไปไนเวลาต่อมานั้นเอง จึงพิจารณาได้ว่าการเลี้ยงวาล์วด้วยน้ำมันเบนซินไม่น่าจะได้ผลดีเท่าที่ควร
            (ในจังหวะอัด ก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนตัวขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบนเพียงเล็กน้อย หัวเทียนจะจุดประกายเผาไหม้ส่วนผสม
            ไอดีให้ลุกไหม้ ทำให้เกิดพลังงานแรงดันสูงประมาณ 30 ถึง 60 บาร์ และให้ ความร้อนสูงสุด 2000 ถึง 2500 อง
            ศาเซลเซียส และจะลดลงประมาณ 900 ถึง 800 องศาเซลเซียสเมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง)

             ไอของน้ำมันเครื่องมีส่วนช่วยเลี้ยงวาล์วได้หรือไม่
             ก่อนอื่นต้องขอถามว่า ไอน้ำมันเครื่องคืออะไร

             ไอน้ำมันเครื่องที่เราเห็นคือ ไอเสียที่ตกค้างจากการ เผาไหม้ เชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ เป็นแก๊สไอเสีย จะถูกระ
             บายออกจากเครื่องยนต์ผ่านลิ้นไอเสีย จะมีประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ตกค้างจากการเผาไหม้ประมาณ
             20-30 เปอร์เซ็นต์จะเป็น คาร์บอน ซัลเฟอร์ และน้ำ ตกค้างอยู่ในกระบอกสูบ และเมื่อรวมตัวกันจะเกิดเป็นกรด
             กำมะถัน ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเครื่อง จะเกิดแก๊สพิษและโคลนตรงกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ เครื่องยนต์ และ
             เป็นเหตุให้น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพโดยเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการต่อท่อ ระบายแก๊สให้ออกไปจากเครื่องยนต์
             โดยนำไอเสียนี้กลับเข้ามาเผาไหม้ใหม่อีกครั้ง เพื่อลดมลภาวะอากาศเป็นพิษ (เป็นกฎข้อบังคับในการกำจัด
             ไอเสียที่เป็นพิษ) และช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง

             ดังนั้นจึงตอบได้ว่า วิศวกรได้ออกแบบระบบไอน้ำมันเครื่องโดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อนำไอน้ำมันเครื่องมาเลี้ยง
             วาล์วโดยตรง แต่ดูจากระบบแล้ว ไอของน้ำมันเครื่องก็หน้า จะมีส่วนช่วยในการป้องกันการสึกหรอของวาล์วได้
             ไม่มากนัก

                    จะมีวิธีป้องกันปัญหาเรื่องเสียงดังของวาล์ว บ่าวาล์วทรุด และบ่าวาล์วรั่วหรือไม่
              เครื่องจักรทุกชนิดที่มีการเคลื่อนที่เกิดการเสียดสี เกิดการกระแทก ก็ย่อมเกิดการสึกหรอเป็นธรรมดา แต่สำ
              หรับเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซจะมีการสึกหรอมากขึ้นกว่าปกติ ก็เนื่องมาจากความร้อนที่เกิดขึ้นมากกว่า
              นั้นเอง ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาให้หมดไปนั้นจึงไม่สามารถทำได้ แต่หากจะทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลงไปได้บ้าง
              ก็พอจะมีวิธีแนะนำอยู่บ้างเช่น

              - อัตราการสึกหรอของบ่าวาล์วจะลดลงได้ถ้าหากใช้ความเร็วต่ำ

              - ไม่ขับขี่รถยนต์ในเวลาที่มีอากาศร้อนจัดเป็นระยะทางไกล โดยไม่มีการพัก มีการใช้รถอย่างต่อเนื่องแต่ไม่
              ควรเกิน 1 ? 2 ชั่วโมง

              - ควรสลับมาใช้น้ำมันเบนซินในสัดส่วน 1 ต่อ 10 ของการใช้งานจริง

              - ดูแลเรื่องระบบระบายความร้อน ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ และพัดลมให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่อุดตัน และควรใช้
              ผลิตภัณฑ์จำพวกน้ำยาหม้อน้ำควบคู่ไปด้วย

              - ควรใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืด (SAE) ที่สูงขึ้น
             
              - ในส่วนของน้ำมันที่ใช้สำหรับเลี้ยงวาล์ว ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีคุณสมบัติในการใช้งานโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิต
              ได้มีการศึกษาถึงคุณสมบัติที่ใช้งานโดยเฉพาะ ก็จะแก้ปัญหาของการสึกหรอของบ่าวาล์วได้โดยตรงแล้ว จะ
              ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเครื่องยนต์ และสิ่งแวดล้อม ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทดแทนโดยปราศจากความเข้าใจ
              ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพราะนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลดีแล้วยังจะส่งผลเสียให้กับเครื่องยนต์ตามมาอีกด้วย
http://www.s26auto.com/index.php?option=com_content&view=article&id=69:ngv-a-lpg&catid=39:articles04&Itemid=82
                     

   like like like like
บันทึกการเข้า
P@Kaow
ID No.0612
Jr. Member
**

like: 15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 690



« ตอบ #17 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 10:33:04 am »

จากประสบการณ์ใช้รถติดแกสLPGมาสองคัน(CRV) ผมว่าอาการบ่าวาล์วทรุดจะเริ่มประมาณ1แสนโลหลังจากติดแกส แต่เครื่องแต่ละยี่ห้อความทนทานไม่เท่ากันครับ พี่ชายใช้ฟอร์จูนเนอร์ติดแกสใช้เกือบ2แสนโลถึงจะเริ่มมีปัญหา แต่ถามพวกแทคซี่อัลติสที่ติดLPG ต้องตั้งวาล์วเกือบทุกวัน สรุปว่าในระยะยาวมีอาการแน่นอน มากหรือน้อย ช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องก่อนติดแกส การดูแลที่เหมาะสม ความทนทานของเครื่อง แต่การคืนทุนในระยะแสนโลแรกก็คุ้มทุนไปแล้ว แต่ผมว่าเมื่อเครื่องมันเริ่มงอแง จะหมดสนุกในการใช้รถไปเลยครับ ผมเลยหันมาคบดีเซลระยะยาวผมคิดแล้วคุ้มกว่าครับ. Smiley
ขึ้นอยู่กับการใช้รถ
ถ้าวิ่งต่างจังหวัดบ่อยๆก็ได้ระยะทางมากชั่วโมงการติดเครื่องน้อย
ถ้าวิ่งต่างจังหวัดน้อยวิ่งในกรุงเทพเสียส่วนใหญ่ได้ระยะทางน้อยชั่วโมงการใช้งานมาก
ดูแท๊กซี่วิ่งใน กทม.ซิไม่ถึงแสนโลสักคันต้องยกเครื่องแล้ว
บันทึกการเข้า

ปาขาว 2.5GT 4WD MY 2012 รามอินทรา กม.8
http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=5807.0
คิดลบก่อน แล้วคิดบวกที่หลัง
<=INDY=>
Jr. Member
**

like: 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 360


PJS:362 ณ.จรัญ18


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 11:12:45 am »

เยี่ยมมากๆเลยครับ ข้อมูลจากป๋า Wanchai ผมคิดว่าค่อนข้างตรงกับประสพการณ์ส่วนตัวผมเลย

รถคันเก่า แลนเซอร์ CK4 ซื้อมือ1จากศูนย์ เช็คระยะซ่อมทุกอย่างตรงตามกำหนด ไปติดแก๊สหัวฉีด AC ตอน 50000 โล 22000บาท วิ่งดีมาก ไม่เคยมีปัญหาอะไรเลย หลังติดแก๊สเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเครื่อง Mobil 1 และเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ทุก 10000โล  สตาร์ทรถด้วยน้ำมันตลอด และวิ่งน้ำมันประมาณ 10นาทีก่อนเปลี่ยนเป็นแก๊สทุกเช้า และเปลี่ยนเป็นน้ำมันก่อนขับถึงบ้านประมาณ10นาทีทุกเย็น แวะศูนย์แก๊สเช็คกรองแก๊สและปรับตั้งกล่องECU Gas ทุก10000โลเช่นกัน เริ่มมาออกอาการตอนประมาณ 140,000 กม. บ่าวาวล์ทรุด ต้องไปทำใหม่ ปั้มติ๊กพัง และหลังจากนั้นก็มีปัญหานิดๆหน่อยๆมาเรื่อยๆ จนตัดสินใจซื้อน้องปานี้ล่ะครับ แต่ผมก็พอใจนะ เพราะคืนทุนตั้งแต่ปีแรกแล้วล่ะ เก็บเงินได้เยอะเลย แถมมีเหตุอ้าง ผบ.เปลี่ยนเป็นน้องปาอีก  yes!!
บันทึกการเข้า

- CHRISTIAN 145 -
Yo-KK
Jr. Member
**

like: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 596



« ตอบ #19 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 10:29:32 pm »

ขอบคุณป๋า wanchai มากครับ  สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
wongtawan
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


« ตอบ #20 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 10:57:09 pm »

 :)ขอบคุณพี่ wanchai และ ทุกๆ ท่านที่ได้ให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นครับ  Smiley
บันทึกการเข้า
Chai .RY No. 495
Hero Member
*****

like: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2072


ชื่อ เล่น : ชัย จ. ระยอง


« ตอบ #21 เมื่อ: มกราคม 20, 2012, 09:24:04 am »


   ข้อมูล เพิ่มเติม ครับ
การใช้ก๊าซ LPG มีประโยชน์สำหรับตัวท่าน รถยนต์ และสิ่งแวดล้อมรอบกาย สามารถทำให้เครื่องนยต์ทำงานมีประสิทธิภาพสูง และอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น หากได้มีการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง ก๊าซแอลพีจีจะช่วยลดปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาไหม้ได้อย่างมาก ในระยะยาวซึ่งมีผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องยนต์อีกด้วย
:::ความปลอดภัย
ก๊าซแอลพีจี มีมวลน้ำหนักหนักกว่าอากาศ แต่มีมาตราฐานความปลอดภัย คือ ให้มีการเติมกลิ่นเพื่อให้ทราบว่ามีการรั่วไหลของก๊าซ จึงมั่นใจได้ว่าหากเกิดการรั่วสามารถป้องกันการเกิดอันตรายได้ ก๊าซแอลพีจี จะอยุ่ในรูปของเหลว และมีความดันต่ำ ถังก๊าซจะมีความหนาผนังมากกว่าถังน้ำมันเบนซินมาก ทำให้โอกาศที่จะเกิดการระเบิดจากการชนมีได้น้อย
:::ความประหยัด
ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด และไม่ก่อให้เกิดการสกปรกของน้ำมันเครื่อง จึงสามารถยืดอายุการใช้น้ำมันเครื่องได้
ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างใด ทำให้การจุดระเบิดสะอาดหมดจด และยืดอายุการใช้งานได้
มีออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงส่งให้การสตาร์ท และการทำงานของเครื่องยนต์มีความสมบรูณ์มากขึ้น
:::สิ่งแวดล้อม
ก๊าซแอลพีจี ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด จึงช่วยให้ลดไอเสียและส่งผลต่อการลดมลพิษในอากาศได้โดยตรง
ข้อควรระวัง
1. เนื่องจากการติดตั้งเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ จะจ่ายเข้าไปยังช่องไอดี(แบบหัวดูด) พร้อมกับอากาศ และจุดระเบิดโดยหัวเทียน(ทั้งหัวฉีดและหัวดูด) ดังนั้นต้องระวังเรื่อง หัวเทียนบอดบางลูกสูบ ด้วยเพราะเราเห็นว่ารถวิ่งได้แต่จริงๆแล้ว บอดไป 1-2 ตัว ก๊าซที่ไม่ถูกเผาไหม้ "แต่สามารถติดไฟได้ง่าย"จะถูกดันออกมาทางท่อไอเสีย ต้องหัดสังเกตุรอบเครื่องปกติ กับอัตราเร่งว่าตกลงไปหรือเปล่า? 2. ดูแลเรื่องระบบความร้อน พัดลม หม้อน้ำ ด้วย เพราะก๊าซจะให้ความร้อนสูงกว่าน้ำมันและอุปกรณ์อื่นๆข้างเคียงแหล่งความร้อนจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติเพราะตอนออกแบบ จะออกแบบ อายุการใช้งานอุปกรณ์ มากับอุณหภูมิที่ใช้น้ำมัน
  Cheesy :Dทั้งนี่ขอบอกว่า ข้อมูลต่างๆที่นำมา ผมนำจะจาก เวบไซด์ และ บุคคลต่างๆที่ มีความรู้ และประสบการณ์ จากการใช้ครับ เพื่อเผยแพร่ ความรู้ไปสู่ทุกๆๆคน ต่อครับผม good good
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง