ขอผู้รู้แนะนำรายละเอียดและร้านด้วย(สุโขทัยหาที่ติดยากมากเลย)
:Dขออนุญาติส่งข้อมูลนะครับ ระหวาง L และ N ป๋าwinai7777 l ตัดสินใจ เลือกตามที่ป๋าwinai7777 l ต้องการเลยครับ ป๋าเลือกเอง ไมว่า L หรือ N ก็เป็นพลังงานทางเลือกทั้งคู่ครับ ประหยัดดีครับ
ก๊าซ (LPG) และ (NGV) เป็นพลังงาน ที่ใช้ในรถยนต์ได้อย่างไร
จริงแล้วน้ำมันเบนซินเป็นของเหลว แต่ในการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ น้ำมันจะต้องมีการเปลี่ยนสถานะจากของ
เหลวเป็นไอเสียก่อนจึงจะผสมกับอากาศเป็นส่วนผสมที่เรียกว่า ?ไอดี? ส่วนการใช้ (LPG) และก๊าซ (NGV)
ก๊าซจะถูกดูดเข้าเครื่องยนต์ใสสถานะไอที่ผสมกับอากาศรวมเป็นส่วนผสมที่เรียกว่า ?ไอดี? เช่นกัน ค่าออกเทน
ของก๊าซ (LPG) มีค่าอยู่ประมาณ 105 RON ก๊าซ (NGV) มีค่าออกเทน 120 RON ก๊าซทั้งสองชนิดมีค่าออกเทน
ที่ใกลเคียงกับน้ำมันเบนซิน จึงนำมาดัดแปลงใช้กับเครื่องยนต์ที่กำหนดให้ใช้เบนซินออกเทน 91,95 ได้
ทำไมเครื่องยนต์ที่ถูกดัดแปลงมาใช้ก๊าซ (LPG) ก๊าซ (NGV) มักจะมีปัญหาเรื่องเสียงดังของวาล์ว
บ่าวาล์วทรุด และบ่าวาล์วรั่ว
การเผาไหม้ของก๊าซ (LPG) จะให้ค่าความร้อนสูงประมาณ กว่า 400 ?C การเผาไหม้ของก๊าซ (NGV) จะให้ค่า
ความร้อนสูงประมาณ กว่า 500 ?C : ซึ่งสูงกว่าการใช้พลังงานน้ำมันเบนซินถึงกว่า 2 เท่า ความร้อนจะทำให้โลหะ
ชิ้นส่วนของบ่าวาล์วนิ่มและอ่อนตัว ส่งผลให้เกิดการสึกหรอได้อย่างรวดเร็ว น้ำมันเบนซิน จะมีสารปรุงแต่ง (Additive)
จำพวก สารปกป้องบ่าวาล์ว สารหล่อลื่น สารชะล้างต่างๆ เมื่อเกิดการเผาไหม้ ไอของน้ำมันจะเคลือบอยู่ที่ชิ้นส่วนต่างๆ
ของบ่าวาล์ว สามารถรับแรงกดแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ส่วนพลังงานก๊าซไม่สามารถปรุงแต่งใดๆ ได้ ไอดีของก๊าซ
มีลักษณะเป็นไอที่แห้ง ไม่มีสารเคลือบบ่าวาล์ว ทำให้การสึกหรอจากการปิด ? เปิดของวาล์ว เกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับค่าความร้อนสูงถึงความร้อนของ ก๊าซ (LPG) และ ก๊าซ
(NGV) จึงทำให้เครื่องยนต์ที่ถูกดัดแปลงมาใช้พลังงานก๊าซเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว
เราสามารถใช้น้ำมัน 2T (AUTO LUBE) มาใช้ในการเลี้ยงวาล์วเพื่อป้องกันการสึกหรอของบ่าวาล์ว
ได้หรือไม่
ก่อนอื่นต้องขอชมเชยท่านที่คิดค้นและพยายามนำเอาน้ำมัน 2 T ที่ใช้ในการหล่อลื่นในกระบอกสูบของเครื่องยนต์
2 จังหวะ โดยท่านได้ทรายถึงปัญหาของบ่าวาล์วและได้มีการแก้ไขโดยใช้วิธีเดียวกับมอเตอร์ไซ และถ้าจะถามว่า
ใช้ได้ผลหรือไม่ ให้พินิจพิจารณาดูจาก
ก. เครื่องยนต์ที่ใช้ น้ำมัน 2 T เป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะมีรอบกาจจุดระเบิดทุกรอบ แต่เครื่องยนต์ในรถยนต์ เป็น
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เครื่องยนต์หมุน 2 รอบแต่มีการจุดระเบิด ให้กำลังงาน 1 รอบ
ข. เครื่องยนต์ 2 จังหวะและ 4 จังหวะ มีการออกแบบวาล์วไอดีและไอเสียที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน รวมไปถึง
ลักษณะของแหวนลูกสูบ กล่าวคือ วาล์วของเครื่องยนต์ 2 จังหวะมักจะมีการออกแบบเป็นลักษณะของช่องพอร์ด
โดยใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิด-ปิดวาล์วไอดีและไอเสีย
ส่วนเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีวาล์วไอดีไอเสียเป็นลักษณะของดอกเห็ด อยู่ส่วนบนของกระบอกสูบ เปิดปิดโดย
ใช้เพลาลูกเบี้ยวเป็นตัวเปิด-ปิด
ค. การออกแบบน้ำมัน 2T ก็ได้มีการออกแบบให้มีลักษณะและองค์ประกอบของน้ำมันในเรื่องของการเผาไหม้
และการหล่อลื่น ลูกสูบกับกระบอกสูบ และให้ใช้กับเครื่องยนต์ 2 จังหวะที่มีรอบการทำงานที่จัดกว่า เครื่องยนต์
4 จังหวะ
ง. อย่างไรก็ดีเครื่องยนต์ 2 จังหวะเมื่อมีการใช้ไปสักระยะหนึ่งก็มักจะต้องพบกับปัญหาเรื่องการสะสมเขม่า
การอุดตัน หัวเทียนบอด และอื่นๆตามมา
จ. ปัจจุบันมีการพบรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้ก๊าซพร้อมกับมีการใช้น้ำมัน 2 Tมาเลี้ยงวาล์ว แล้วเกิดความเสียหาย
ตั้งแต่อาการบ่าวาล์วรั่ว หัวลูกสูบทะลุหนักไปจนถึงจะต้องมีการผ่าเครื่องมาซ่อมบำรุงกันยกใหญ่ แต่ในขณะเดียว
กันก็ยังมีผู้ที่ใช้ 2T เลี้ยงวาล์วแล้วก็ยังบอกว่าไม่มีปัญหาใดๆ
ฉ. ในต่างประเทศที่มีการใช้ก๊าซเป็นพลังงานแทนน้ำมันเบนซิน จะไม่มีการใช้ น้ำมัน 2 T มาเลี้ยงวาล์ว เพราะ
ทราบถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อเครื่องยนต์แล้วไอพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ยังก่อไห้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันในรถมอเตอร์ไซดิ์ได้มีการยกเลิกการใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะเพราะตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวด
ล้อมนั้นเอง
การสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเบนซินและใช้น้ำมันสักพัก จะสามารถช่วยเลี้ยงวาล์วได้หรือไม่
การสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเบนซินจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่ายการสึกหรอ จะน้อยกว่าการสตาร์ทด้วย
ก๊าซ ส่วนการใช้น้ำมันเบนซินเลี้ยงวาล์วนั้น ยังไม่เคยมีการทำการทดสอบอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงแต่ข้อ
สันนิฐาน แต่การใช้น้ำมันเบนซินให้บ่อย และนานขึ้นในช่วงก่อนออกรถและก่อนที่จะทำการดับเครื่องยนต์ ก็จะ
มีส่วนช่วย ให้ไอน้ำมันเบนซินเข้ามาช่วยชะล้างเขม่าหรือขี้เถ้าที่เกิดจากการสันดาปด้วยก๊าซได้ อย่างไรก็ดีทัน
ที่มีได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซแทนน้ำมันเบนซิน ก็มีแนวคิดในเรื่องของ ความร้อนที่เกิดจากการสันดาปด้วย
ก๊าซที่ให้ความร้อนที่สูงกว่าน้ำมัน ดังนั้นไอน้ำมันเบนซินที่เคลือบไว้ตามส่วนต่างๆของวาล์วก็จะถูกความร้อนของ
ก๊าซเผาไหม้ไปไนเวลาต่อมานั้นเอง จึงพิจารณาได้ว่าการเลี้ยงวาล์วด้วยน้ำมันเบนซินไม่น่าจะได้ผลดีเท่าที่ควร
(ในจังหวะอัด ก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนตัวขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบนเพียงเล็กน้อย หัวเทียนจะจุดประกายเผาไหม้ส่วนผสม
ไอดีให้ลุกไหม้ ทำให้เกิดพลังงานแรงดันสูงประมาณ 30 ถึง 60 บาร์ และให้ ความร้อนสูงสุด 2000 ถึง 2500 อง
ศาเซลเซียส และจะลดลงประมาณ 900 ถึง 800 องศาเซลเซียสเมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง)
ไอของน้ำมันเครื่องมีส่วนช่วยเลี้ยงวาล์วได้หรือไม่
ก่อนอื่นต้องขอถามว่า ไอน้ำมันเครื่องคืออะไร
ไอน้ำมันเครื่องที่เราเห็นคือ ไอเสียที่ตกค้างจากการ เผาไหม้ เชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ เป็นแก๊สไอเสีย จะถูกระ
บายออกจากเครื่องยนต์ผ่านลิ้นไอเสีย จะมีประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ตกค้างจากการเผาไหม้ประมาณ
20-30 เปอร์เซ็นต์จะเป็น คาร์บอน ซัลเฟอร์ และน้ำ ตกค้างอยู่ในกระบอกสูบ และเมื่อรวมตัวกันจะเกิดเป็นกรด
กำมะถัน ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเครื่อง จะเกิดแก๊สพิษและโคลนตรงกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ เครื่องยนต์ และ
เป็นเหตุให้น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพโดยเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการต่อท่อ ระบายแก๊สให้ออกไปจากเครื่องยนต์
โดยนำไอเสียนี้กลับเข้ามาเผาไหม้ใหม่อีกครั้ง เพื่อลดมลภาวะอากาศเป็นพิษ (เป็นกฎข้อบังคับในการกำจัด
ไอเสียที่เป็นพิษ) และช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้นจึงตอบได้ว่า วิศวกรได้ออกแบบระบบไอน้ำมันเครื่องโดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อนำไอน้ำมันเครื่องมาเลี้ยง
วาล์วโดยตรง แต่ดูจากระบบแล้ว ไอของน้ำมันเครื่องก็หน้า จะมีส่วนช่วยในการป้องกันการสึกหรอของวาล์วได้
ไม่มากนัก
จะมีวิธีป้องกันปัญหาเรื่องเสียงดังของวาล์ว บ่าวาล์วทรุด และบ่าวาล์วรั่วหรือไม่
เครื่องจักรทุกชนิดที่มีการเคลื่อนที่เกิดการเสียดสี เกิดการกระแทก ก็ย่อมเกิดการสึกหรอเป็นธรรมดา แต่สำ
หรับเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซจะมีการสึกหรอมากขึ้นกว่าปกติ ก็เนื่องมาจากความร้อนที่เกิดขึ้นมากกว่า
นั้นเอง ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาให้หมดไปนั้นจึงไม่สามารถทำได้ แต่หากจะทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลงไปได้บ้าง
ก็พอจะมีวิธีแนะนำอยู่บ้างเช่น
- อัตราการสึกหรอของบ่าวาล์วจะลดลงได้ถ้าหากใช้ความเร็วต่ำ
- ไม่ขับขี่รถยนต์ในเวลาที่มีอากาศร้อนจัดเป็นระยะทางไกล โดยไม่มีการพัก มีการใช้รถอย่างต่อเนื่องแต่ไม่
ควรเกิน 1 ? 2 ชั่วโมง
- ควรสลับมาใช้น้ำมันเบนซินในสัดส่วน 1 ต่อ 10 ของการใช้งานจริง
- ดูแลเรื่องระบบระบายความร้อน ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ และพัดลมให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่อุดตัน และควรใช้
ผลิตภัณฑ์จำพวกน้ำยาหม้อน้ำควบคู่ไปด้วย
- ควรใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืด (SAE) ที่สูงขึ้น
- ในส่วนของน้ำมันที่ใช้สำหรับเลี้ยงวาล์ว ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีคุณสมบัติในการใช้งานโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิต
ได้มีการศึกษาถึงคุณสมบัติที่ใช้งานโดยเฉพาะ ก็จะแก้ปัญหาของการสึกหรอของบ่าวาล์วได้โดยตรงแล้ว จะ
ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเครื่องยนต์ และสิ่งแวดล้อม ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทดแทนโดยปราศจากความเข้าใจ
ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพราะนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลดีแล้วยังจะส่งผลเสียให้กับเครื่องยนต์ตามมาอีกด้วย