เรามักจะได้ยิน มีส่วนลด 20 - 50% และเมื่อมีส่วนลดขนาดนั้นแล้ว เบี้ยประกันภัยควรอยู่ที่เท่าไร
อันดับแรก มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยนั้น มีกี่แบบ และแบบไหน คือ ส่วนลดจริง ๆ ที่ได้ประโยชน์
ผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามฉบับ
Mr.Prakanpai ดังนี้
1. ลดทั่วไป คือ ส่วนลดที่แต่ละบริษัทประกันทำกันทุกที่ ตลอดเวลาอยู่แล้ว บางข้อเป็นไปตามกฎที่ คปภ.
ประกาศ และบังคับใช้อยู่แล้ว ตัวแทน นายหน้า และโบรคเกอร์ มักจะเอาส่วนลดเหล่านี้เป็นตัวดึงลูกค้า ผู้เอาประกันภัย
ต้องละเอียด โดยเฉพาะข้อ 1.4 ที่คนขายอาจแอบใส่ให้ เพื่อให้เบี้ยต่ำ โดยที่ลูกค้าไม่รู้ว่ามีส่วนร่วมด้วย รายละเอียด
ดังต่อไปนี้ครับ
1.1 ส่วนลดจากการระบุผู้ขับขี่ สามารถระบุได้ 2 คน โดยถือเอาอายุคนที่น้อยกว่าเป็นเกณฑ์ในการคำนวน
ส่วนมากได้เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ ดังนี้
ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%
ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%
ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%
ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%
1.2 ส่วนลดประวัติดี หรือส่วนลด NCB รถที่เอาประกันภัยไม่เรียกร้องสินไหมเป็นฝ่ายประมาท
จะได้รับส่วนลดประวัติดี ตามลำดับขั้นในแต่ละปี สูงสุดถึง 50% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ
***ขั้นที่ 1 (ปีแรก) รับส่วนลด 20%
***ขั้นที่ 2 (ปีสอง) รับส่วนลด 30%
***ขั้นที่ 3 (ปีสาม) รับส่วนลด 40%
***ขั้นที่ 4 (ปีสี่ขึ้นไป)รับส่วนลด 50%
1.3 ส่วนลดกลุ่ม กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป
สามารถขอส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10% ได้
1.4 ส่วนลดจากการกำหนดค่าเสียหายส่วนแรก ในการทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถลดเบี้ยประกันภัย
ได้ตามจำนวนเงินที่ต้องการระบุ(โดยประมาณ) ส่วนลดจากการกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกนี้ผู้ทำประกันภัย
สามารถกำหนดเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 2,000 บาท สูงสุดถึง 5,000 บาท
2. ลดใช้งาน เป็นแพ็คเกจที่แต่ละบริษัทคิดค้นขึ้น โดยต้องได้รับความเห็นชอบเป็นทางการจาก คปภ.
แพ็คเกจเหล่านี้ บางครั้งไม่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นเกมการตลาดของบริษัทประกันภัย ในการช่วงชิงความได้เปรียบ
บางครั้งออกมาแล้ว เกิดภาวะขาดทุน หรือไม่ได้ผล ก็จะยุบ หรือเปลี่ยนไปค่อนข้างรวดเร็ว เช่น
2.1 ส่วนลดจากวิชาชีพ เช่น ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ แพทย์ พยาบาล จะได้รับสิทธิพิเศษ ในการรับส่วนลด
เบี้ยประกันรถยนต์ (ปัจจุบันเริ่มหยุดขาย เพราะขาดทุน)
2.2 ส่วนลดกำหนดพื้นที่ใช้งาน จากผลการสำรวจการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์พบว่าพื้นที่กรุงเทพ นนทบุรี
สมุทรปราการ และปทุมธานี มีการเกิดอุบัติมากกว่าพื้นที่ต่างจังหวัด จึงทำให้กำหนดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่มี
ป้ายทะเบียนต่างจังหวัด ได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้น
2.3 ส่วนลดการใช้รถ ตามหลักตรรกะรถยนต์ที่ขับขี่น้อย โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมีน้อยลง
ทำให้บางบริษัทกำหนดอัตราเบี้ยที่ลดลงได้
3. ลดวัดใจ เป็นส่วนลดที่มีเป้าหมายต้องการลูกค้าโดยยอมนำเอารายได้ของตน เช่น คอมมิชชั่น
ของตนมาลดให้ลูกค้า ซึ่ง ส่วนลดบางประเภท อาจเข้าข่ายผิดกฎตามที่ คปภ. ประกาศและบังคับใช้
ส่วนลดในข้อนี้ออกแนวรุนแรง และชัดเจนกว่าข้อ 1 และข้อ 2 เป็นส่วนลดที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็ม ๆ ครับ
3.1 ส่วนลดแรกเข้า(แคมเปญ) โดยปกติ รถยนต์ที่เคยทำประกันรถยนต์ที่บริษัทประกันภัยอื่นมาแล้ว (อาจจะมีเคลม)
บริษัทประกันแห่งใหม่จะให้ส่วนลดได้ไม่เกิน 20% แต่เมื่อมีความต้องการยอด บางครั้งให้กัน 30 - 40%
ผู้เอาประกันภัยจึงได้ประโยชน์ครับ
3.2 ส่วนลดคอมมิชชั่น เป็น ส่วนลดที่ ตัวแทน นายหน้า หรือโบรคเกอร์ ยอมนำเอารายได้ของตน เช่น คอมมิชชั่น
ของตนมาลด โดยมีเป้าหมาย เช่น ยอดขาย ความสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้เอาประกันภัย จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากส่วนลดนี้
และถ้าได้ส่วนลดแล้วตามหัว (3.3) ด้วย จะเป็นเบี้ยประกันภัยที่ถูกที่สุดครับ
3.3 ส่วนลดแบบเป้าหมาย เป็นการร่วมมือ ของตัวแทน นายหน้า หรือโบรคเกอร์ ที่มีการเจรจา
และร่วมมือกับบริษัทประกันภัย โดยมีข้อตกลง และมีการท้าทายทั้งยอดขาย และผลประกอบการ
ทำให้ได้เบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่าท้องตลอดอย่างเด่นชัด คนทำต้องมืออาชีพ และมีเป้าหมายที่ท้าทายค่อนข้างมาก
ส่วนลดต่าง ๆ ผมได้อธิบายในฉบับของ Mr.Prakanpai แล้ว ผู้เอาประกันภัย สามารถนำไปใช้ในการ
เลือกซื้อประกันภัยได้ และเบี้ยประกันภัยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ในการประกอบการตัดสินใจ สิ่งที่มีความสำคัญ
ไม่น้อยกว่า คือ ความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันภัย และรูปแบบประกันภัยที่เหมาะสมกับตัวท่านหรือยัง
หวังว่าข้อความนี้ จะช่วยให้ท่านได้เบี้ยประกันภัยที่ตรงใจครับ