นั้นลองตังคำถามเล่นดู
1.มาเล ดูดเอง กลันเอง ขายเอง = ราคาถูกกว่าเมืองไทย (เพราะอะไร)
2.ไทยดูดเอง กลั่นเอง ขายเอง = ราคาโคดแพง (มันใส่อะไรเข้าไปข้างในทีไม่เหมือนเขา)
3.ในเมื่อนำมันดิบเป็นสมบัติของชาติ ขายให้กับประเทศชาติ+ประชาชนชาวไทย =ทำไมไม่ขายราคาแบบไทยๆ ทำไม่ต้องไปอ้างอิงจากต่างประเทศ
:ลองคิดดู ผมเป็นเด็กบ้านนอกสมองเท่าขี้เลื่อย คิดยังไงก็ไม่ออกว่าเพราะอะไรไม่รู้โงจริงๆ
ข้อที่ 1 เพราะมาเลเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันต่างกับไทยที่เป็นประเทศนำเข้า จริงๆแล้ว ปิโตรนาส บ น้ำมันมาเลก็ขายในราคาตลาดสิงค์โปร์เหมือนกัน แต่ที่ราคาขายในมาเลต่ำลงเพราะรัฐบาลมาเลอุดหนุนราคาในประเทศให้ต่ำลง
ข้อที่ 2 ไทยดูดน้ำมันดิบได้เองเพียง 12-15% ดังนั้นน้ำมันที่เรานำเข้ามาจะประมาณ 85-90% ประเทศเราจึงจัดเป็นประเทศนำน้ำมันดิบเข้า ที่ส่งออกนั้นคือน้ำมันสำเร็จรูปครับที่เหลือจากการขายภายในประเทศ ที่เหลือจากการใช้เพราโรงกลั่นกำลังการผลิตมากกว่าความต้องการในประเทศ ทำไมไม่ผลิตให้พอดีกับความต้องการในประเทศก็เพราะอัตราการใช้มีการผันผวน และคงไม่มี บ ไหน อยากผลิตเพียง 80% ของความสามารถในการผลิตของตนเอง
ข้อ 3 1.ทำไมอิงสิงค์โปร์เพราะตลาดสิงค์โปร์เป็นตลาดที่มีความผันผวนน้อยกับความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป Demand & supply ในภูมิภาคนี้
2.เพราะเราเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบคงไม่มีใครกลั่นแล้วขายขาดทุนหร่อกครับที่อิงค์เพราะเป็นราคากลาง เหมือนผักอิงราคาของตลาดไทย ดอกไม้อิงราคาปากคลองตลาด ข้าวอิงกับราคาของกำนันทรง ดังนั้นจะเห็นว่าโรงกลั่นทุกๆประเทศจะขายกันในราคากลางทั้งนั้น กำไรมากน้อยของโรงกลั่นจะขึ้นอยู่กับการลดต้นทุนการผลิตครับ
3.สมมติหากเรากำหนดราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศให้ต่ำ โรงกลั่นยกตัวอย่างเช่นของของ Esso คงไม่ขายในไทยหร่อกครับเค้าก็เอาไปขายในสิงค์โปรเพราะได้กำไรดีกว่าเมื่อนั้นจะเกิดการขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศผลลัพธ์ก็คือราคาก็จจะแพงขึ้นเพราะน้ำมันขาดตลาด แต่หากว่ากำหนดให้ขายแพงกว่าหร่ะสิ่งที่เกิขึ้นคือ ผู้ค้าน้ำมันเช่น ปั๊มปตท ปั๊มเจต ปั๊มคาลเทก ก็จะนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงค์โปร์มาขายเพราะราคาถูกกว่าแทนไงครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ข้อมูลแน่นดีจัง
นั้นถามต่อ
1.พอจะทราบต้นทุน + กำไรตกต่อลิตร์ประมารเท่าไหร่ครับ
-เริ่มจากน้ำมันดิบ+ขบวนการผลิด(โรงกลัน)+ค่าขนส่ง+ภาษี+ใต้โต๊ะ(มีเปล่า)+ค่าโฆษณา+อะไรอีกนึกไม่ออก=ประมาณเท่าไหร่/ลิตร์
-กำไรที่ได้เข้ารัฐกี่ %
2.ก่อนและหลังแปลรูป(ของปตท.)มีผลดี หรือไม่ดีอย่างไรครับ ช่วยให้ข้อมูลหน่อยครับ
ถามเพราอยากรู้จริงๆ
เดี๋ยวจะขออธิบายใส่วนนี้ก่อน เวลาเราซื้อน้ำมันดิบมาป้อนเข้ากระบวนการกลั่นของโรงกลั่น น้ำมันดิบ 1 บาร์เรล (ประมาณ 159 ลิตร) จะกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลายชนิด ไล่มาตั้งแต่ก๊าซหุงต้ม (LPG) น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย (Asphalt)
ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีราคาแตกต่างกัน เช่น เบนซิน ราคา 130-150 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดีเซล ราคา 150-170 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเตาราคา 70-110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดังนี้เป็นต้น ราคารไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ Demand supply
ดังนั้นเวลาคำนวณค่าการกลั่นเราต้องเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดมาหาส่วนต่างกับน้ำมันดิบ จึงจะรู้ว่าน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดมีกำไร/ขาดทุนเท่าไร
สมมติว่าเราเอาราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เป็นมาตรฐานในการคิด (ซึ่งจริงๆโรงกลั่นในประเทศไทยอาจไม่ได้ใช้น้ำมันชนิดนี้ก็ได้) แต่เป็นน้ำมันดิบที่ใช้อ้างอิงในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเราถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด
ถ้าเราใช้ราคาน้ำมันดิบ Dubai และราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์มาคิดค่าการกลั่น เราจะได้ส่วนต่าง (Spread) ของน้ำมันแต่ละชนิดคร่าวๆดังนี้ครับ
1. ราคาน้ำมันเบนซิน = 137 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 14 $/บาร์เรล
2. ราคาน้ำมันดีเซล = 163 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 40 $/บาร์เรล
3. ราคาน้ำมันเตา = 95 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = -28 $/บาร์เรล
โรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆได้ไม่เท่ากัน บางแห่งกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้มาก กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย (Complex Refinery) แต่บางโรงกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้น้อย กลั่นน้ำมันเตาได้มาก (Simple Refinery) ดังนั้นเวลาคิดค่าการกลั่นของโรงกลั่นแต่ละโรง ต้องเอาสัดส่วนน้ำมันที่ผลิตได้มาคิดด้วย เพราะถ้าโรงกลั่นไหนกลั่นน้ำมันเตาซึ่งมีส่วนต่างติดลบได้มาก ค่าการกลั่นจะต่ำกว่าโรงกลั่นที่กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย ดังนี้เป็นต้น
ความสับสนอยู่ตรงนี้ครับ มีความเข้าใจผิด (จริงๆ) เพราะไม่รู้และมีความพยายามจะทำให้เข้าใจผิด โดยเอาส่วนต่างระหว่างน้ำมันดีเซลและราคาน้ำมันดิบซึ่งในระยะนี้สูงถึง 40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (เป็นบางช่วงเท่านั้นนะครับ โดยทั่วไปจะอยู่ที่เฉลี่ย 25-35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลเท่านั้น) มาบอกว่าเป็นค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยและบอกว่าโรงกลั่นมีกำไรมากเกินไป
จริงๆแล้วเราต้องเอาส่วนต่าง (Spread) ของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมาคิดค่าการกลั่น โดยคิดตามสัดส่วนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่โรงกลั่นนั้นๆกลั่นได้
ยกตัวอย่างเช่น โรงกลั่นแห่งหนึ่งกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ตามสัดส่วนดังนี้
• น้ำมันเบนซิน 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 14 $/บาร์เรล
• น้ำมันดีเซล 40% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 40 $/บาร์เรล
• น้ำมันเตา 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ -28 $/บาร์เรล
เวลาคำนวณค่าการกลั่นต้องคำนวณดังนี้
• น้ำมันเบนซิน 14 x 0.30 = 4.2 $/บาร์เรล
• น้ำมันดีเซล 40 x 0.40 = 16.0 $/บาร์เรล
• น้ำมันเตา -28 x 0.30 = -8.4 $/บาร์เรล
ฉะนั้นค่าการกลั่นของโรงกลั่นโดยเฉลี่ยทั้งเบนซิลดีเซล = 11.8 $/บาร์เรล = 2.41 บาทต่อลิตร (สมมติอัตราแลกเปลี่ยน1$=32.50บาท)
ค่าเฉลี่ยทั้งเดือน ทั้งปีอาจสูงหรือต่ำกว่านี้ก็ได้ และการคำนวณนี้เป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ จริงๆแล้วเราต้องเอาราคา LPG ซึ่งขายต่ำกว่าต้นทุน หรือราคายางมะตอยซึ่งราคาต่ำกว่าน้ำมันเตามาคำนวณด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าการกลั่นต่ำลงไปอีก
เห็นอย่างนี้แล้วหากยังจะบอกว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันในบ้านเราสูงเกินไปผมก็จนใจ พูดมากไปเดี๋ยวจะหาว่าผมเข้าข้างบริษัทน้ำมันอีก เอาเป็นว่าถ้าไม่เชื่อลองเปิดประมูลให้มีการสร้างโรงกลั่นใหม่ในบ้านเราดูก็ได้ครับ ดูสิจะมีใครสนใจมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ได้ BOI หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ เพราะโรงกลั่นใหม่เดี๋ยวนี้ลงทุนอย่างต่ำ 120,000 ล้านบาทครับ!