Languages
หน้า: 1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชำเเหละน้ำมันเเพงเพราะ?  (อ่าน 13656 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



« ตอบ #15 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 05:06:58 pm »

นั้นลองตังคำถามเล่นดู
1.มาเล ดูดเอง กลันเอง ขายเอง = ราคาถูกกว่าเมืองไทย (เพราะอะไร)
2.ไทยดูดเอง กลั่นเอง ขายเอง = ราคาโคดแพง (มันใส่อะไรเข้าไปข้างในทีไม่เหมือนเขา)
3.ในเมื่อนำมันดิบเป็นสมบัติของชาติ ขายให้กับประเทศชาติ+ประชาชนชาวไทย =ทำไมไม่ขายราคาแบบไทยๆ ทำไม่ต้องไปอ้างอิงจากต่างประเทศ
:ลองคิดดู ผมเป็นเด็กบ้านนอกสมองเท่าขี้เลื่อย คิดยังไงก็ไม่ออกว่าเพราะอะไรไม่รู้โงจริงๆ
 โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน
ข้อที่ 1  เพราะมาเลเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันต่างกับไทยที่เป็นประเทศนำเข้า  จริงๆแล้ว ปิโตรนาส บ น้ำมันมาเลก็ขายในราคาตลาดสิงค์โปร์เหมือนกัน แต่ที่ราคาขายในมาเลต่ำลงเพราะรัฐบาลมาเลอุดหนุนราคาในประเทศให้ต่ำลง
  ข้อที่ 2  ไทยดูดน้ำมันดิบได้เองเพียง 12-15% ดังนั้นน้ำมันที่เรานำเข้ามาจะประมาณ 85-90% ประเทศเราจึงจัดเป็นประเทศนำน้ำมันดิบเข้า  ที่ส่งออกนั้นคือน้ำมันสำเร็จรูปครับที่เหลือจากการขายภายในประเทศ ที่เหลือจากการใช้เพราโรงกลั่นกำลังการผลิตมากกว่าความต้องการในประเทศ  ทำไมไม่ผลิตให้พอดีกับความต้องการในประเทศก็เพราะอัตราการใช้มีการผันผวน และคงไม่มี บ ไหน อยากผลิตเพียง 80% ของความสามารถในการผลิตของตนเอง
  ข้อ 3 1.ทำไมอิงสิงค์โปร์เพราะตลาดสิงค์โปร์เป็นตลาดที่มีความผันผวนน้อยกับความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป Demand  & supply  ในภูมิภาคนี้ 
           2.เพราะเราเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบคงไม่มีใครกลั่นแล้วขายขาดทุนหร่อกครับที่อิงค์เพราะเป็นราคากลาง เหมือนผักอิงราคาของตลาดไทย  ดอกไม้อิงราคาปากคลองตลาด  ข้าวอิงกับราคาของกำนันทรง ดังนั้นจะเห็นว่าโรงกลั่นทุกๆประเทศจะขายกันในราคากลางทั้งนั้น กำไรมากน้อยของโรงกลั่นจะขึ้นอยู่กับการลดต้นทุนการผลิตครับ
          3.สมมติหากเรากำหนดราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศให้ต่ำ  โรงกลั่นยกตัวอย่างเช่นของของ Esso   คงไม่ขายในไทยหร่อกครับเค้าก็เอาไปขายในสิงค์โปรเพราะได้กำไรดีกว่าเมื่อนั้นจะเกิดการขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศผลลัพธ์ก็คือราคาก็จจะแพงขึ้นเพราะน้ำมันขาดตลาด   แต่หากว่ากำหนดให้ขายแพงกว่าหร่ะสิ่งที่เกิขึ้นคือ ผู้ค้าน้ำมันเช่น ปั๊มปตท  ปั๊มเจต ปั๊มคาลเทก ก็จะนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงค์โปร์มาขายเพราะราคาถูกกว่าแทนไงครับ 
บันทึกการเข้า
kanapot
Jr. Member
**

like: 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 653


ID : 666


« ตอบ #16 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 05:10:14 pm »

 โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน
บันทึกการเข้า

Pajero Sport MY12 Brown Edition
30 December 2011
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



« ตอบ #17 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 05:11:27 pm »

ที่ยกตัวอย่างมานั้น
1.อินโดกับมาเล  เป็นประเทศส่งออกน้ำมันขายครับหมายความว่าน้ำมันในประเทศที่ขุดได้เหลือกินเหลือใช้ครับ
2.พม่าแม้ไม่ได้เป็นประเทศส่งออกน้ำมันแต่ราคาที่เห็นเป็นราคา โควต้าครับแต่ราคาที่ขายจริงๆนั้นไม่ไ้เท่านี้แน่นอนหากไม่เชื่อลองขับรถไปพม่าสิ จะรู้ว่าราคามากกว่านี้เท่าตัว
บันทึกการเข้า
wangpk
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 05:19:43 pm »

เพราะฉะนั้นก็ภาวนาให้ผู้กำหนดนโยบายช่วยทำให้ราคาน้ำมันต่ำกว่านี้  เพราะน้ำมันถือว่าเป็นพลังงานที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของปวงชนชาวไทย  ในขณะนี้
บันทึกการเข้า
wangpk
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 05:38:41 pm »

สรรพสามิตระนอง สั่งคุมเข้มชายแดนสกัดกองทัพมดขนน้ำมันเถื่อน หลังราคาน้ำมันในประเทศพุ่งหวังสกัดการลักลอบนำเข้าน้ำมันจากประเทศเพื่อนบ้านทะลัก จากราคาที่แตกต่าง 10-15 บาทต่อลิตร พร้อมจับตาเป็นพิเศษ การแจ้งส่งออกน้ำมัน แต่ไม่ได้ส่งออกจริงย้อนกลับมาขายฝั่งไทย โดยสุ่มตรวจเรือแทงเกอร์แต่ละลำที่ขนน้ำมัน
 พ.อ.พรศักดิ์    พูลสวัสดิ์    ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 กองกำลังเทพสตรี  รับผิดชอบพื้นที่แนวชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดระนอง, ชุมพร เปิดเผยว่า จากราคาน้ำมันภายในประเทศที่ขยับราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ขณะนี้เริ่มมีกลุ่มทัพมดที่ลักลอบขนน้ำมันจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาจำหน่ายในพื้นที่ โดยเฉพาะในส่วนของชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดระนอง-เกาะสอง เป็นอีกพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากพื้นที่เป็นจุดส่งออกน้ำมันไปยังประเทศพม่า ซึ่งหลายฝ่ายเป็นห่วงว่าอาจจะมีบางส่วนที่อาจจะทะลักกลับเข้ามายังฝั่งไทยอันเป็นเพราะจากราคาที่แตกต่างกัน
 สำหรับพื้นที่ จังหวัดระนองมีแนวพรมแดนติดต่อกับพม่าเป็นระยะทางยาวกว่า 169 กิโลเมตร ทำให้กลายเป็นช่องว่างให้เกิดการกระทำผิดได้ง่าย   ดังนั้นการป้องกันการลักลอบกระทำผิดตามแนวพื้นที่ชายแดน ทางหน่วยเฉพาะกิจฯจึงได้จัดวางกำลังแบ่งเป็น 2 แนว โดยแนวทางแรก ได้วางกำลังเป็นชุดเฝ้าตรวจตามแนวชายแดน เพื่อเฝ้าตรวจ และระวังป้องกัน การกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ตามแนวชายแดน จำนวน 5 ชุด ในความรับผิดชอบของศูนย์เฝ้าตรวจชายแดนที่ 411
 ส่วนแนวทางที่สอง วางกำลังเป็นแนวป้องกันและขจัดภัยคุกคามต่างๆ อันได้แก่การสกัดกั้นการลักลอบขนย้ายแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ยาเสพติด อาวุธสงคราม และสินค้าหนีภาษี โดยเน้นปฏิบัติการในเชิงรุก พร้อมกันนี้ได้จัดวางจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งสามารถควบคุมการเข้า-ออก จากจังหวัดระนองไปยังจังหวัดใกล้เคียงได้ โดยแบ่งเป็น กำลังทางทะเล ชุดเผชิญเหตุ จุดตรวจและจุดสกัด
สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ระนอง ที่เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากปัญหาราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศที่ปรับตัวขึ้น ส่งผลให้เริ่มเกิดปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำมันจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทย  รวมถึงการแจ้งส่งออกน้ำมัน แต่ไม่ได้ส่งออกจริงนำกลับเข้ามาขายในประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
            โดยที่ผ่านมาทางสรรพสามิตพื้นที่ระนอง สามารถติดตามจับกุมกลุ่มผู้ค้าน้ำมันที่แอบลักลอบนำเข้าน้ำมันมาจากประเทศพม่าได้หลายครั้ง โดยได้น้ำมันของกลางเป็นน้ำมันดีเซลกว่า 10,000 ลิตร ทำให้เวลานี้ต้องเดินหน้าคุมเข้มการส่งออกน้ำมันจากประเทศไทยไปยังประเทศพม่า ด้วยการนำเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบการขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปจากรถบรรทุกน้ำมันลงเรือแทงเกอร์ และเรือทัวร์ประมง ที่ส่งออกไปยังประเทศพม่า และบังกลาเทศ ที่ท่าเทียบเรือโกกวด หมู่ที่ 5 ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง เพื่อตรวจสอบน้ำมันว่ามีปริมาณตรงตามใบแจ้งการส่งออกหรือไม่ เป็นการป้องกันการลักลอบนำน้ำมันย้อนกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออก มีราคาต่างกับราคาที่จำหน่ายในประเทศ 10-15 บาทต่อลิตร
          สำหรับน้ำมันที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านจังหวัดระนอง มีปริมาณเฉลี่ยเดือนละ 20 ล้านลิตร มูลค่าประมาณ 360 ล้านบาท หรือประมาณปีละ 4,000 ล้านบาท แยกเป็นน้ำมันที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมสรรพสามิตมีทั้งน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันดีเซล โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินส่งออกในรูปของการขอคืนภาษี ส่วนน้ำมันดีเซลส่งออกในรูปของการขอยกเว้นภาษีสรรพสามิต และน้ำมันที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมศุลกากร ที่เรียกว่าเขตฟรีโซน(FREE ZONE) ซึ่งไม่ต้องขอคืนและขอยกเว้นภาษี แต่ราคาจะเท่ากัน โดยภาครัฐจะไม่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดังกล่าว
          แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า น้ำมันที่ส่งออกจะมีการเติมสารมาร์กเกอร์ผสมในน้ำมัน เพื่อให้มีความแตกต่างจากน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศ เมื่อใช้สารเคมีตรวจสอบสีของน้ำมันที่ผสมสารมาร์กเกอร์จะเปลี่ยนเป็นสีแดง หากมีการนำลักลอบกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศก็จะตรวจเจอทันที โดยมีการส่งเจ้าหน้าที่สายตรวจออกสุ่มตรวจเรือประมงอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการลักลอบนำน้ำมันที่ส่งออกกลับเข้ามาในประเทศ ส่วนทางบกใช้วิธีการตรวจสอบรถบรรทุกน้ำมัน ตั้งแต่ออกจากโรงกลั่นว่าได้แวะถ่ายน้ำมันระหว่างการขนส่งหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการจับกุมได้ในพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากน้ำมันที่ทะลักเข้ามาแล้วบุหรี่ก็เป็นอีกสินค้าที่มีการลักลอบผ่านเข้ามาทางจ.ระนองเป็นจำนวนมาก แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถจับกุมที่ต้นทางได้เนื่องจากขบวนการลักลอบมีวิธีการที่แยบยล ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กำลังสืบทราบพฤติกรรม และดำเนินการติดตามจับกุมต่อไป  โดยกลุ่มเป้าหมายสำคัญของขบวนการค้าน้ำมันหนีภาษี จะเป็นกลุ่มเรือประมงชายฝั่ง เรือหางยาว และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการนำไปใช้ในเครื่องยนต์ทางการเกษตร
          ส่วนกรณีการลักลอบนำเข้าน้ำมันจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้สรรพสามิตพื้นที่ จ.ระนอง ร่วมกับศุลกากรระนองทหารเรือ และตำรวจน้ำ ได้นำเรือออกตรวจการณ์ในน่านน้ำระนองอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการลักลอบนำน้ำมันเถื่อนเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเรือประมงมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,722    15-17  มีนาคม  พ.ศ. 2555

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2012, 05:40:53 pm โดย wangpk » บันทึกการเข้า
PoR ลำลูกกา
No: 828
Full Member
***

like: 25
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1448


Love Suhr Custom Standard


« ตอบ #20 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 05:43:30 pm »



ผมซื้อหุ้น ESSO มีแต่ขาดทุน
ตอนนี้ถือหุ้น บางจาก กับ ปตท. ยิ้มได้หน่อย... แต่ต้องรีบขายก่อนลงหนัก...

เล่นกองทุนทอง ตอนนี้ทองก็ลง เลยมีจังหวะก็เก็บเอา เก็บเอา เพราะทองยังไงก็ขึ้น เพียงแต่บอกไม่ได้ว่าเมื่อไร...
น้ำมันทรงตัวอยู่พักนึงและก็ราคาขึ้นหลังจากอิหร่านโดนอเมริกาเฉ่งเรื่องอาวุธนิวเคลีย ทำให้กลุ่มโอเป็กเริ่มมีการกักตุนน้ำมัน และปั่นราคาในตลาดโลก...

ตลาดหุ้น Nasdaq ที่ผมเล่นก็ผันผวน ผมเล่นแต่กลุ่มสื่อสาร เพราะช่วงนี้มาแรงตามอานิสงค์ของ Apple แต่อาจมีแกว่งบ้างตามการจา่กไปของ สตีฟ จ๊อปส์ แต่ Apple ก็ยังเป็นผู้นำในกลุ่ม Smart Phone
แต่ก็มีความเสี่ยง เำพราะกลุ่มที่ผมเล่นไม่ค่อยขึ้นกับ Nasdaq มากนัก



ผมเป็นเพียงแมงเม่าตัวน้อย ที่ต้องคอยตามข่าวสารให้ถ้วนทั่ว โดยเฉพาะปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนของหุ้นบ้านเรา...
หุ้นบ้านเราเล่นแบบเทคนิคไม่ค่อยได้ เพราะต่างชาติเข้ามาซื้อมาก (ภาษีถูก) ส่วนมากรายย่อยจะเล่นตามข่าว ข่าวไม่ดีก็ขาย ข่าวดีก็ซื้อ (ช้ากว่าเจ้า)

เรื่องน้ำมันก็เหมือนกัน มันมีอะไรมากกว่าข่าวที่ดูจากทีวี หรือหนังสือพิมพ์  บริษัทที่เป็นมหาชนลงในตลาดหลักทรัพย์ เข้าย่อมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ผลกำไร ให้ผู้ถือหุ้นพอใจ ไม่งั้นเค้าก็ขายทิ้งกันหมด...


บันทึกการเข้า

ลากันที... ศูนย์ห่วยๆ...
คนไร้สังกัด
Hero Member
*****

like: 37
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2133



« ตอบ #21 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 05:49:22 pm »

นั้นลองตังคำถามเล่นดู
1.มาเล ดูดเอง กลันเอง ขายเอง = ราคาถูกกว่าเมืองไทย (เพราะอะไร)
2.ไทยดูดเอง กลั่นเอง ขายเอง = ราคาโคดแพง (มันใส่อะไรเข้าไปข้างในทีไม่เหมือนเขา)
3.ในเมื่อนำมันดิบเป็นสมบัติของชาติ ขายให้กับประเทศชาติ+ประชาชนชาวไทย =ทำไมไม่ขายราคาแบบไทยๆ ทำไม่ต้องไปอ้างอิงจากต่างประเทศ
:ลองคิดดู ผมเป็นเด็กบ้านนอกสมองเท่าขี้เลื่อย คิดยังไงก็ไม่ออกว่าเพราะอะไรไม่รู้โงจริงๆ
 โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน
ข้อที่ 1  เพราะมาเลเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันต่างกับไทยที่เป็นประเทศนำเข้า  จริงๆแล้ว ปิโตรนาส บ น้ำมันมาเลก็ขายในราคาตลาดสิงค์โปร์เหมือนกัน แต่ที่ราคาขายในมาเลต่ำลงเพราะรัฐบาลมาเลอุดหนุนราคาในประเทศให้ต่ำลง
  ข้อที่ 2  ไทยดูดน้ำมันดิบได้เองเพียง 12-15% ดังนั้นน้ำมันที่เรานำเข้ามาจะประมาณ 85-90% ประเทศเราจึงจัดเป็นประเทศนำน้ำมันดิบเข้า  ที่ส่งออกนั้นคือน้ำมันสำเร็จรูปครับที่เหลือจากการขายภายในประเทศ ที่เหลือจากการใช้เพราโรงกลั่นกำลังการผลิตมากกว่าความต้องการในประเทศ  ทำไมไม่ผลิตให้พอดีกับความต้องการในประเทศก็เพราะอัตราการใช้มีการผันผวน และคงไม่มี บ ไหน อยากผลิตเพียง 80% ของความสามารถในการผลิตของตนเอง
  ข้อ 3 1.ทำไมอิงสิงค์โปร์เพราะตลาดสิงค์โปร์เป็นตลาดที่มีความผันผวนน้อยกับความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป Demand  & supply  ในภูมิภาคนี้ 
           2.เพราะเราเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบคงไม่มีใครกลั่นแล้วขายขาดทุนหร่อกครับที่อิงค์เพราะเป็นราคากลาง เหมือนผักอิงราคาของตลาดไทย  ดอกไม้อิงราคาปากคลองตลาด  ข้าวอิงกับราคาของกำนันทรง ดังนั้นจะเห็นว่าโรงกลั่นทุกๆประเทศจะขายกันในราคากลางทั้งนั้น กำไรมากน้อยของโรงกลั่นจะขึ้นอยู่กับการลดต้นทุนการผลิตครับ
          3.สมมติหากเรากำหนดราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศให้ต่ำ  โรงกลั่นยกตัวอย่างเช่นของของ Esso   คงไม่ขายในไทยหร่อกครับเค้าก็เอาไปขายในสิงค์โปรเพราะได้กำไรดีกว่าเมื่อนั้นจะเกิดการขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศผลลัพธ์ก็คือราคาก็จจะแพงขึ้นเพราะน้ำมันขาดตลาด   แต่หากว่ากำหนดให้ขายแพงกว่าหร่ะสิ่งที่เกิขึ้นคือ ผู้ค้าน้ำมันเช่น ปั๊มปตท  ปั๊มเจต ปั๊มคาลเทก ก็จะนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงค์โปร์มาขายเพราะราคาถูกกว่าแทนไงครับ 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ข้อมูลแน่นดีจัง
นั้นถามต่อ
1.พอจะทราบต้นทุน + กำไรตกต่อลิตร์ประมารเท่าไหร่ครับ
-เริ่มจากน้ำมันดิบ+ขบวนการผลิด(โรงกลัน)+ค่าขนส่ง+ภาษี+ใต้โต๊ะ(มีเปล่า)+ค่าโฆษณา+อะไรอีกนึกไม่ออก=ประมาณเท่าไหร่/ลิตร์
-กำไรที่ได้เข้ารัฐกี่ %
2.ก่อนและหลังแปลรูป(ของปตท.)มีผลดี หรือไม่ดีอย่างไรครับ ช่วยให้ข้อมูลหน่อยครับ
ถามเพราอยากรู้จริงๆ
 สาธุ
บันทึกการเข้า

เรื่องชาวบ้านกรูไม่ยุ่ง มุ่งแต่แต่งรถ (26/10/2555 11.00)
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



« ตอบ #22 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 06:55:45 pm »

นั้นลองตังคำถามเล่นดู
1.มาเล ดูดเอง กลันเอง ขายเอง = ราคาถูกกว่าเมืองไทย (เพราะอะไร)
2.ไทยดูดเอง กลั่นเอง ขายเอง = ราคาโคดแพง (มันใส่อะไรเข้าไปข้างในทีไม่เหมือนเขา)
3.ในเมื่อนำมันดิบเป็นสมบัติของชาติ ขายให้กับประเทศชาติ+ประชาชนชาวไทย =ทำไมไม่ขายราคาแบบไทยๆ ทำไม่ต้องไปอ้างอิงจากต่างประเทศ
:ลองคิดดู ผมเป็นเด็กบ้านนอกสมองเท่าขี้เลื่อย คิดยังไงก็ไม่ออกว่าเพราะอะไรไม่รู้โงจริงๆ
 โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน โอ๊ยมึน
ข้อที่ 1  เพราะมาเลเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันต่างกับไทยที่เป็นประเทศนำเข้า  จริงๆแล้ว ปิโตรนาส บ น้ำมันมาเลก็ขายในราคาตลาดสิงค์โปร์เหมือนกัน แต่ที่ราคาขายในมาเลต่ำลงเพราะรัฐบาลมาเลอุดหนุนราคาในประเทศให้ต่ำลง
  ข้อที่ 2  ไทยดูดน้ำมันดิบได้เองเพียง 12-15% ดังนั้นน้ำมันที่เรานำเข้ามาจะประมาณ 85-90% ประเทศเราจึงจัดเป็นประเทศนำน้ำมันดิบเข้า  ที่ส่งออกนั้นคือน้ำมันสำเร็จรูปครับที่เหลือจากการขายภายในประเทศ ที่เหลือจากการใช้เพราโรงกลั่นกำลังการผลิตมากกว่าความต้องการในประเทศ  ทำไมไม่ผลิตให้พอดีกับความต้องการในประเทศก็เพราะอัตราการใช้มีการผันผวน และคงไม่มี บ ไหน อยากผลิตเพียง 80% ของความสามารถในการผลิตของตนเอง
  ข้อ 3 1.ทำไมอิงสิงค์โปร์เพราะตลาดสิงค์โปร์เป็นตลาดที่มีความผันผวนน้อยกับความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป Demand  & supply  ในภูมิภาคนี้  
           2.เพราะเราเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบคงไม่มีใครกลั่นแล้วขายขาดทุนหร่อกครับที่อิงค์เพราะเป็นราคากลาง เหมือนผักอิงราคาของตลาดไทย  ดอกไม้อิงราคาปากคลองตลาด  ข้าวอิงกับราคาของกำนันทรง ดังนั้นจะเห็นว่าโรงกลั่นทุกๆประเทศจะขายกันในราคากลางทั้งนั้น กำไรมากน้อยของโรงกลั่นจะขึ้นอยู่กับการลดต้นทุนการผลิตครับ
          3.สมมติหากเรากำหนดราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศให้ต่ำ  โรงกลั่นยกตัวอย่างเช่นของของ Esso   คงไม่ขายในไทยหร่อกครับเค้าก็เอาไปขายในสิงค์โปรเพราะได้กำไรดีกว่าเมื่อนั้นจะเกิดการขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศผลลัพธ์ก็คือราคาก็จจะแพงขึ้นเพราะน้ำมันขาดตลาด   แต่หากว่ากำหนดให้ขายแพงกว่าหร่ะสิ่งที่เกิขึ้นคือ ผู้ค้าน้ำมันเช่น ปั๊มปตท  ปั๊มเจต ปั๊มคาลเทก ก็จะนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงค์โปร์มาขายเพราะราคาถูกกว่าแทนไงครับ  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ข้อมูลแน่นดีจัง
นั้นถามต่อ
1.พอจะทราบต้นทุน + กำไรตกต่อลิตร์ประมารเท่าไหร่ครับ
-เริ่มจากน้ำมันดิบ+ขบวนการผลิด(โรงกลัน)+ค่าขนส่ง+ภาษี+ใต้โต๊ะ(มีเปล่า)+ค่าโฆษณา+อะไรอีกนึกไม่ออก=ประมาณเท่าไหร่/ลิตร์
-กำไรที่ได้เข้ารัฐกี่ %
2.ก่อนและหลังแปลรูป(ของปตท.)มีผลดี หรือไม่ดีอย่างไรครับ ช่วยให้ข้อมูลหน่อยครับ
ถามเพราอยากรู้จริงๆ
 สาธุ

            เดี๋ยวจะขออธิบายใส่วนนี้ก่อน    เวลาเราซื้อน้ำมันดิบมาป้อนเข้ากระบวนการกลั่นของโรงกลั่น น้ำมันดิบ 1 บาร์เรล (ประมาณ 159 ลิตร) จะกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลายชนิด ไล่มาตั้งแต่ก๊าซหุงต้ม (LPG) น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย (Asphalt)

                ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีราคาแตกต่างกัน เช่น เบนซิน ราคา 130-150 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดีเซล ราคา 150-170 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเตาราคา 70-110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดังนี้เป็นต้น ราคารไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ Demand supply
                ดังนั้นเวลาคำนวณค่าการกลั่นเราต้องเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดมาหาส่วนต่างกับน้ำมันดิบ จึงจะรู้ว่าน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดมีกำไร/ขาดทุนเท่าไร
                สมมติว่าเราเอาราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เป็นมาตรฐานในการคิด (ซึ่งจริงๆโรงกลั่นในประเทศไทยอาจไม่ได้ใช้น้ำมันชนิดนี้ก็ได้) แต่เป็นน้ำมันดิบที่ใช้อ้างอิงในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเราถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด
          ถ้าเราใช้ราคาน้ำมันดิบ Dubai และราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์มาคิดค่าการกลั่น เราจะได้ส่วนต่าง (Spread) ของน้ำมันแต่ละชนิดคร่าวๆดังนี้ครับ

1. ราคาน้ำมันเบนซิน = 137 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 14 $/บาร์เรล

2. ราคาน้ำมันดีเซล = 163 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 40 $/บาร์เรล

3. ราคาน้ำมันเตา = 95 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = -28 $/บาร์เรล

                โรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆได้ไม่เท่ากัน บางแห่งกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้มาก กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย (Complex Refinery) แต่บางโรงกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้น้อย กลั่นน้ำมันเตาได้มาก (Simple Refinery) ดังนั้นเวลาคิดค่าการกลั่นของโรงกลั่นแต่ละโรง ต้องเอาสัดส่วนน้ำมันที่ผลิตได้มาคิดด้วย เพราะถ้าโรงกลั่นไหนกลั่นน้ำมันเตาซึ่งมีส่วนต่างติดลบได้มาก ค่าการกลั่นจะต่ำกว่าโรงกลั่นที่กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย ดังนี้เป็นต้น
               ความสับสนอยู่ตรงนี้ครับ มีความเข้าใจผิด (จริงๆ) เพราะไม่รู้และมีความพยายามจะทำให้เข้าใจผิด โดยเอาส่วนต่างระหว่างน้ำมันดีเซลและราคาน้ำมันดิบซึ่งในระยะนี้สูงถึง 40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (เป็นบางช่วงเท่านั้นนะครับ โดยทั่วไปจะอยู่ที่เฉลี่ย 25-35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลเท่านั้น) มาบอกว่าเป็นค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยและบอกว่าโรงกลั่นมีกำไรมากเกินไป
                 จริงๆแล้วเราต้องเอาส่วนต่าง (Spread) ของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมาคิดค่าการกลั่น โดยคิดตามสัดส่วนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่โรงกลั่นนั้นๆกลั่นได้

ยกตัวอย่างเช่น โรงกลั่นแห่งหนึ่งกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ตามสัดส่วนดังนี้
         • น้ำมันเบนซิน 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 14 $/บาร์เรล
         • น้ำมันดีเซล 40% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 40 $/บาร์เรล
         • น้ำมันเตา 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ -28 $/บาร์เรล
เวลาคำนวณค่าการกลั่นต้องคำนวณดังนี้
         • น้ำมันเบนซิน 14 x 0.30 = 4.2 $/บาร์เรล
         • น้ำมันดีเซล 40 x 0.40 = 16.0 $/บาร์เรล
         • น้ำมันเตา -28 x 0.30 = -8.4 $/บาร์เรล
           ฉะนั้นค่าการกลั่นของโรงกลั่นโดยเฉลี่ยทั้งเบนซิลดีเซล = 11.8 $/บาร์เรล = 2.41 บาทต่อลิตร (สมมติอัตราแลกเปลี่ยน1$=32.50บาท)
ค่าเฉลี่ยทั้งเดือน ทั้งปีอาจสูงหรือต่ำกว่านี้ก็ได้ และการคำนวณนี้เป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ จริงๆแล้วเราต้องเอาราคา LPG ซึ่งขายต่ำกว่าต้นทุน หรือราคายางมะตอยซึ่งราคาต่ำกว่าน้ำมันเตามาคำนวณด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าการกลั่นต่ำลงไปอีก
           เห็นอย่างนี้แล้วหากยังจะบอกว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันในบ้านเราสูงเกินไปผมก็จนใจ พูดมากไปเดี๋ยวจะหาว่าผมเข้าข้างบริษัทน้ำมันอีก เอาเป็นว่าถ้าไม่เชื่อลองเปิดประมูลให้มีการสร้างโรงกลั่นใหม่ในบ้านเราดูก็ได้ครับ ดูสิจะมีใครสนใจมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ได้ BOI หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ เพราะโรงกลั่นใหม่เดี๋ยวนี้ลงทุนอย่างต่ำ 120,000 ล้านบาทครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2012, 07:04:23 pm โดย nopphadolptt » บันทึกการเข้า
wangpk
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #23 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 07:25:01 pm »

น้ำมันที่โรงกลั่น(ไทย) ..... จะตั้งราคาอย่างไร จึงจะเป็นธรรม



หนึ่งในคำถามที่มีต่อโครงสร้างราคาน้ำมันในบ้านเรา นอกจากประเด็นการอิงราคาตลาดสิงคโปร์ แล้ว ที่น่าสนใจก็คือ การตั้งราคาของโรงกลั่น 


ประเด็นจะเริ่มต้นที่ว่า หากโครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทย อิงราคาตลาดที่สิงคโปร์(Simex)แล้ว ทำไมการกำหนดราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของประเทศไทย ต้องบวกค่าขนส่งจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทยด้วย (คุณโสภณ สุภาพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกูรูด้านพลังงานของไทย บอกว่า ราคา ณ โรงกลั่นของไทยต้องต่ำกว่าราคาสิงคโปร์ (อันเนื่องมาจากการขนส่ง) 1-2 บาท /ลิตร และเป็นหัวหอกสำคัญในการตั้งประเด็นสาธารณะประเด็นนี้ ) ในเมื่อข้อเท็จจริงเราไม่ได้ขนย้าย-น้ำมันมาจากโรงกลั่นที่ประเทศสิงคโปร์ 


ประเด็นมีต่อไปอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันในไทยซึ่งมีอยู่ 7 โรง นั้น ปัจจุบัน ใครเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ได้สิทธิในการบริหารโรงกลั่นของไทย จากข้อมูลที่มีอยู่ ก็คือ ส่วนใหญ่จะเป็นของ “กลุ่มปตท.” ประกอบด้วย ไทยออยล์ /ไออาร์พีซี /สตาร์ / ระยอง / บางจาก รวมทั้งสิ้นคิดเป็น 83 % ของกำลังผลิต(กลั่น) ยกเว้นอีก 2 โรง เป็นของคนอื่น คือ เอสโซ่และอาร์พีซี


ประเด็นทั้งสองรวมกัน แล้วพุ่งเข้าใส่ ปตท.ว่า เป็นผู้ตั้งราคา เป็นผู้ที่มีส่วนในการบิดเบือนราคา เป็นการสร้างภาวะซ้ำเติมให้กับประชาชนผู้บริโภคตาดำๆ ในขณะที่ตัวเองกำไรปีหนึ่งๆเป็นแสนล้าน


ประเด็น ตรงๆ ก็คือว่า ราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของไทย ควรจะคิดและใช้ปัจจัยใดมาเป็นองค์ประกอบกำหนดราคา ข้อเท็จจริง ก็คือ ราคาน้ำมันต้นทุน (วัตถุดิบต้นทุน) กับค่าการกลั่น (ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของโรงกลั่น) ราคาน้ำมันต้นทุน ที่ว่านั้น ถูกต้องแล้ว ที่ต้องมีราคาที่ต้องมีหลักอ้างอิงที่เป็นธรรม อธิบายได้ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า เป็นธรรมกับทุกฝ่ายซึ่งในกรณีนี้ ไทยเราอิงกับราคาตลาดสิงคโปร์


แต่ทำไมไปบวกราคาค่าขนส่งเข้าไปอีก ข้อนี้แหละเป็นคำถามและเป็นเรื่องที่หลายคนใช้เป็นบันได ไปดิสเครดิตของ ปตท.รวมกับประเด็นอื่นๆที่ ปตท.กำลังประสบอยู่ และถึงขั้นต้องจัดตั้ง Intelligent team / Crisis watch ขึ้นมาเพื่อติดตามข้อมูล ข่าว การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เพื่อนำมาประมวลเป็นการบริหารประเด็น (Issue Management) ซึ่งในเรื่องนี้ ปตท. น่าจะเป็นวิสาหกิจที่น่าจะมีประสบการณ์ตรงกับการเผชิญกับกรณีต่างๆที่เป็นภาพลักษณ์เชิงลบ มากกว่าองค์กรใดๆในไทย


ประเด็นนี้ ไปเกี่ยวข้องกับวิถีการค้าและการตั้งราคาของสินค้าของโลกการค้าระหว่างประเทศ ที่มีการนำเอาปัจจัยอื่นมาคิดรวมเสมือนหนึ่งเป็นองค์ประกอบของราคาควบคู่กันไป ยกตัวอย่างในสินค้าน้ำตาล ที่ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดต่างประเทศเป็นลำดับสองรองจากบราซิล ซึ่งโดยปกติจะอิงราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ตลาดนิวยอร์คหมายเลข 11 / Nymex  และในหลักปฏิบัติเวลาที่โรงงานน้ำตาลของไทย ขายน้ำตาลไปให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น จีน ผู้ซื้อของจีน จะเปรียบเทียบกับประเทศผู้ค้าน้ำตาลจากประเทศอื่นที่แข่งขัน ประกอบกันด้วย ในที่นี้ก็คือบราซิล ก็จะพบว่า ถ้าจีนซื้อน้ำตาลมาจากบราซิล จะต้องชำระค่าน้ำตาลในราคาอิงตลาดนิวยอร์คบวกค่าขนส่งจากบราซิลมาจีน  และก็เหมือนถ้าหากซื้อน้ำตาลจากไทย ก็จะต้องชำระค่าน้ำตาลในราคาอิงตลาดนิวยอร์คบวกค่าขนส่งเช่นกัน เพียงแต่ว่า ค่าขนส่งนั้นของไทยจะต่ำกว่า (เพราอยู่ใกล้กว่า) แสดงว่า ค่าขนส่ง เป็นส่วนประกอบเพิ่มจากราคาอ้างอิง  และจีนในฐานะผู้ซื้อกับโรงงานน้ำตาลของไทยในฐานะผู้ขาย ก็จะต่อรองประเด็นขององค์ประกอบนี้อีกส่วนหนึ่งว่า ถ้าซื้อน้ำตาลจากไทย จะเพิ่มราคาให้เป็นพิเศษ (premium) อันเนื่องมาจากส่วนต่างค่าขนส่งระหว่างค่าจากบราซิลกับไทย โดยปกติไทยจะได้ราคา premium  นั้นไม่เท่ากับส่วนต่างทั้งหมด / ได้เป็นบางส่วน ตามหลักการที่ผู้ซื้อ (จีน) ประหยัดลงไป ในขณะเดียวกัน ผู้ขาย ก็พอใจที่ขายให้กับจีนมากกว่าประเทศอื่นที่ไม่มี  premium หรือมีต่ำกว่า  หลักการนี้ ก็เป็นหลักเดียวกันกับกรณีโรงกลั่นน้ำมันของไทย คิดค่าขนส่งจากโรงกลั่นที่สิงคโปร์ มายังประเทศไทย โดยวิธีเปรียบเทียบในเรื่องของค่าขนส่ง ที่เป็นองค์ประกอบอีกเรื่องหนึ่งรวมกับราคาอ้างอิง  เพราะถ้าผู้ค้าน้ำมันของไทย ไม่ซื้อน้ำมันจากไทย ก็ต้องไปซื้อที่สิงคโปร์ ซึ่งจะต้องมีค่าขนส่ง


คำถามก็คือ ทำไมต้องคิด / ไม่คิดได้ไหม เพราะจะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกที่ออกจากโรงกลั่นน้ำมันของไทย ลดลงไปเท่ากับค่าขนส่งจากสิงคโปร์


คำตอบก็คือ ได้


แต่โรงกลั่นน้ำมันของไทยย่อมจะเลือกขายน้ำมันไปยังต่างประเทศ มากกว่าที่จะขายในประเทศ เหตุผลก็คือ โรงกลั่นจะได้ส่วนเพิ่มจากค่าขนส่ง / ส่วนเพิ่มจากราคาอ้างอิง จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับประเทศผู้ซื้อจะเปรียบเทียบระหว่างของโรงกลั่นของประเทศใดมาเทียบเคียง  เพราะเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นคือ โรงกลั่นจะขายไปต่างประเทศในราคาที่สูงกว่า ในประเทศ


หากจะเลือกใช้วิธีนี้ รัฐบาลก็ต้องเป็นผู้สร้างกลไกอย่างเข้มข้นเข้ามาจัดการ เช่น การกำหนดมาตรการสำหรับการผลิตเพื่อใช้ในประเทศก่อน เหลือจึงขายไปต่างประเทศ (วิธีการนี้ใช้อยู่กับสินค้าน้ำตาล ซึ่งจะต้องเข้มงวดมากในกรณีที่ราคาตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น เพราะจะมีผู้ที่พยายามลักลอบออกไป อาจะไม่ใช่โรงกลั่น / แต่จะมีผู้ค้าน้ำมันที่ซื้อไปจากโรงกลั่น ในโควต้าขายในประเทศ แล้วในทางปฏิบัติกลับลักลอบนำไปขายต่างประเทศแทน เพราะจะได้ประโยชน์จากราคาที่มีค่าขนส่งเป็นองค์ประกอบนั่นเอง เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอสำหรับสินค้าน้ำตาลทราย เพียงแต่ไม่บ่อยนักเพราะวงจรโครงสร้างของราคาจะมีการขึ้นลงอย่างผิดปกติในทุก 4 ปี แต่กรณีของน้ำมัน ภาวะอย่างนี้ จะซ้ำเติมกับประชาชนผู้บริโภคตาดำๆ ซ้ำไปอีก เพราะโรงกลั่นก็จะต้องนำเข้าน้ำมันต้นทุนที่มากขึ้น (เพราะมีส่วนรั่วไหลออกไป) เสียเงินตราต่างประเทศมากขึ้น และอื่นๆที่เป็นผลพวงตามมาอีกมากมาย นอกจากนั้น หากเป็นโรงกลั่นที่ไม่ใช่โรงกลั่นน้ำมันของไทย ก็ย่อมจะเลือกที่จะลดการกลั่นน้ำมันในไทยลงไป แล้วไปเพิ่มปริมาณการผลิตให้กับโรงกลั่นในเครือในประเทศอื่นที่ขายแล้วได้ premium แทน นอกจากนั้น สถานการณ์ในประเทศจะเกิดขึ้นภาวะขาดแคลนน้ำมัน / จะมีการลักลอบน้ำมันออกไปขายต่างประเทศ แล้วสุดท้ายราคาน้ำมันขายปลีกแทนที่จะถูก กลับแพงและหาซื้อไม่ได้


หากเราใช้กฎการทำงานของดีมานด์ซัพพลาย มาพิจารณา เราก็ต้องยอมรับใน “ค่าขนส่ง” ว่า เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในโครงสร้างราคา พอๆกับราคาอ้างอิงตลาดโลก หากเราจะให้โรงกลั่นคิดราคาน้ำมันต้นทุน ที่เป็นต้นทุนของการกำหนดราคา ณ โรงกลั่น โดยไม่มีค่าขนส่งจากประเทศสิงคโปร์ ย่อมเป็นการละเมิดในหลักการเบื้องต้นของระบบความเชื่อข้างต้น  แต่ขณะเดียวกันค่าขนส่งที่นำมาคิดก็ไม่ควรที่เท่ากับค่าขนส่งแบ 100 % แบบเป๊ะๆ ต้องคิดคำนวณในระดับที่พอเหมาะพอควร


แล้วใครละ ที่จะมาเป็นผู้พิจารณาความพอเหมาะพอควรข้างต้น คำตอบก็คือ โครงสร้างราคาน้ำมันที่ใช้ปฏิบัติกันมาในประเทศไทยนั้น อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. /กระทรวงพลังงาน โดยมี สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. เป็นผู้ดูแลในการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อองค์ประกอบของโครงสร้างราคาน้ำมัน


เท่ากับว่า ภายใต้การลอยตัวราคาน้ำมันขายปลีกที่บริษัทน้ำมัน ประกาศขึ้นและลงในแต่ละครั้ง (รวมทั้งการคิดราคา ณ โรงกลั่น) ย่อมอยู่ภายใต้กรอบขององค์ประกอบในโครงสร้างราคาที่ กพช.ดูแลอยู่ ไม่ใช่ว่า จะประกาศขึ้น /ลง ราคา แบบใดก็ได้ หรือไปฮั๊ว กัน ณ จุดใดจุดหนึ่ง เพราะน้ำมันเป็นสินค้าทุนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชนผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน / การเดินทาง / การจับจ่ายใช้สอย (เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของสินค้า)



 


เรื่องของโครงสร้างราคาน้ำมัน ไม่ใช่เรื่องของ ปตท.อยู่ดี / โรงกลั่นใดโรงกลั่นหนึ่ง / ไม่ใช่เรื่องที่ ปตท.จะมีอำนาจเหนือตลาดในตลาดโรงกลั่น แต่เป็นเรื่องของโครงสร้างการจัดการพลังงานไทยทั้งปวง ทั้งภาครัฐ / นโยบาย ทั้งส่วนที่เป็นการกำหนดตัวบทกฎหมายและการกำกับดูแล ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐและเอกชน ตลอดจนวิสาหกิจผู้ประกอบการและประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้แล้วเรื่องของพลังงาน ยังเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวกับการค้า การลงทุน บรรษัทข้ามชาติ และความขัดแย้งในระดับโลก


แต่ไม่ใช่ว่าการบริหารจัดการของปตท.ในฐานะที่เป็นทุนของรัฐก้อนนี้ ในทุกวันนี้ จะไม่มีประเด็นที่ต้องพูดถึงหรือวิพากษ์วิจารณ์ กลับตรงกันข้าม กลับต้องพูดถึงกันมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ /นโยบายของรัฐ และประเด็นสาธารณะที่เกี่ยวข้องการจัดการทุนของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) และ พลังงาน


เพียงแต่ว่า ต้องลงลึกและนิ่งพอที่จะฟังแต่ละคนพูดแล้วมาไตร่ตรอง และแลกเปลี่ยนกันให้มากขึ้น ครับ.


 
โดย soontorn

ที่มา  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=302380
บันทึกการเข้า
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



« ตอบ #24 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 07:34:27 pm »

ปตท.แปรรูปแล้วส่งเงินเข้ารัฐมากกว่าเดิมหลายเท่า จากยักษ์แคระเล็กๆ โดนบ.น้ำมันต่างชาติครอบงำ จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ กำหนดราคาในประเทศเองได้ จนต่างชาติที่ขายในประเทศต้องทำตาม ไม่ดีตรงไหน?
อ้อใครจะบอกเอากำไรน้ำมันเยอะ ต้องบอกว่า กำไรแสนล้านน่ะมาจากการขุด เจาะ ขายก๊าซธรรมชาติครับ ส่วนน้ำมันน่ะกำไรน้อยลงกว่าสมัยเป็นปตท.โบราณเสียอีก(สมัยก่อนกำไรการขายน้ำมันเยอะกว่าสมัยนี้)กำไรจากแสนล้านมาจากน้ำมันไม่กี่พันล้านหร่อกครับ หากขายน้ำมันรวยจริงป่านนี้ เจท Q8 ไม่ปิดปั๊มหร่อกครับ
น้ำมันแพงเพราะตลาดโลกแพง บวกกับภาษีน้ำมัน และกองทุนน้ำมันครับ
ราคาคร่าวๆน่ะครับเบนซิน ราคาตลาดโลกประมาณ 26บาทต่อลิตร  บวกภาษีเข้ารัฐ และบวกเข้ากองทุนน้ำมันอีก 15-17 บาท  บวกค่าการตลาดอีกประมาณ 1.5 บาท ราคาคร่าวๆก็ประมาณ 44.5 บาทต่อลิตร

บันทึกการเข้า
wangpk
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #25 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 07:49:34 pm »

คำว่าบริษัท  เป้าหมายถือกำไรสูงสุด

ก็ตามที่ผู้สันทัดกรณีบอกไว้   ว่าน้ำมันเเพงเพราะนโยบาย
บันทึกการเข้า
Bas Na Korat@0618
Jr. Member
**

like: 22
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 908



« ตอบ #26 เมื่อ: เมษายน 08, 2012, 08:52:25 pm »


มีคนรู้จักอยู่ในแก๊งลูกหมู ผมเลยเล่นน้ำมันจากแก๊งลูกหมูนั้น เพราะน้ำมันตรงจากคลัง
สังเกตุว่าน้ำมันจะดีกว่าตามปั๊มเพราะไม่ได้ผสมพวกสารต่างๆเพื่อเจือจาง เครื่องเร่งติดเท้าดี  เชอะ
บันทึกการเข้า
wangpk
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2012, 08:10:40 am »

ดูจบเเล้วท่านสมาชิกคิดอย่างไรครับ
ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง ที่สำคัญบอกไม่หมด หากไม่วิเคราะห์ดีๆ เราจะเออออเหมือนรายการบอกแหร่ะครับ

http://radio.manager.co.th/Radio/DetailRadio.asp?program_no=1025&mmsID=1025%2F1025%2D3029%2Ewma+&program_id=44201

ฟังจบเเล้วจริงเท็จเเค่ไหนรบกวนเเจ้งด้วยครับ
บันทึกการเข้า
BigFather
Hero Member
*****

like: 179
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5258


พงษ์ ลำลูกกา บิ๊กปาดำ940


« ตอบ #28 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2012, 11:18:54 am »

มันเป็นเรื่องธรรมชาติของธุรกิจพลังงาน ผู้บริโภคก็ต้องปรับตัวเองในการใช้ด้วยครับ
แต่ผมเอง...อาทิตย์ละสองพันก่า  ฮือๆๆ ฮือๆๆ ฮือๆๆ ...เป๋าแฟ๊บ
บันทึกการเข้า
nopphadolptt
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78



« ตอบ #29 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 02:38:41 am »

ดูจบเเล้วท่านสมาชิกคิดอย่างไรครับ
ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง ที่สำคัญบอกไม่หมด หากไม่วิเคราะห์ดีๆ เราจะเออออเหมือนรายการบอกแหร่ะครับ

http://radio.manager.co.th/Radio/DetailRadio.asp?program_no=1025&mmsID=1025%2F1025%2D3029%2Ewma+&program_id=44201

ฟังจบเเล้วจริงเท็จเเค่ไหนรบกวนเเจ้งด้วยครับ
เข้าไปฟังไม่ได้อยากรู้ว่าคุยแบบไหนเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 21 คำสั่ง