Languages
หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: **ทำไมต้องอุ่นเครื่อง เพื่ออะไรมาดูกัน  (อ่าน 22328 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
[~DREAM~]
Pajero Sport No.0777
Jr. Member
**

like: 54
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 896


♪ น้องปาไวท์ ♫ อั๊ยยะ 95 ♥


« เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 01:42:53 am »

ไปเจอมาครับ เห็นว่าเป็นความรู้อีกเช่นเคย นำมาให้อ่านกันครับ Cheesy

การสึกหรอที่รุนแรง
            ในการเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็น มีคนเพียงไม่กี่คนจะทราบว่าในการใช้รถแต่ละเที่ยว การสึกหรอเกิดขึ้นสูงมากถึง 95 % ใน
ตอน เริ่มเดินเครื่องขณะเครื่องเย็น หลังจากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ร้อนถึงเกณฑ์ปกติแล้วการ สึกหรอมีน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่าลืมไปได้เลย
ด้วยเหตุนี้วิศวกรจึงพยายามหาทางหลีกเลี่ยง การเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็น หรือเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นให้สั้นที่สุด โดยออกแบบให้มี
กลไกในการอุ่นเครื่องให้ร้อนได้เร็ว แนะนำผู้ขับขี่ควรจะปฏิบัติอย่างไรให้เครื่องร้อนเร็วและสึก หรอน้อยที่สุด

การสึกหรอของเครื่องยนต์ขณะเย็นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
              แทบ ทุกคนจะตอบว่า เพราะน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมาหล่อเลี้ยงไม่ทันตอบอย่างนี้ ถูกแผ่ว ๆ ได้ 5 คะแนน ใน 100 คะแนน ลองมาดูสูตรทางเคมีข้างล่างนี้
…C8 H 18 + 12.5 O 2 8 CO 2 9 H 2O
เชื้อเพลิง (ออกเทน) +ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ + น้ำ
….น้ำมัน เชื้อเพลิง 1 ลิตร เมื่อติดไฟแล้วจะได้น้ำ 1 ลิตร (หรือใกล้เคียง) หลายท่านคงเคยเห็นน้ำไหลออกมาจากท่อไอเสียตอนติดเครื่องใหม่ ๆ
ขณะที่ เครื่องยังเย็นอยู่ หลัง จากเครื่องร้อนแล้วน้ำจะหายไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในห้อง เผาไหม้ ภายใต้กำลังอัด และขณะที่ผนังสูบ (Cylinder Wall) ยังเย็นอยู่ ทำให้น้ำที่เกิดจาก ปฏิกิริยาทางเคมีนี้กลั่นตัวจับที่ผนังสูบ และไปทำลายฟิล์ม น้ำมันหล่อลื่น ทำให้เกิดการเสียดสี
ของโลหะกับโลหะ ระหว่างผนังสูบกับลูกสูบ และแหวนลูกลูบเกิดความฝืดและการสึกหรอสูง ทำให้ เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพทางกลไก
(Mechanical efficiency) ต่ำมากในช่วงนี้ เมื่ออุณหภูมิของผนังสูบสูงขึ้น 130 องศาฟาเรนไฮต์ หรือสูงกว่า น้ำที่เกิดขึ้นจะไม่กลั่นตัว
คงเป็นไอน้ำออกไปกับไอเสีย ฟิล์มน้ำมันหล่อลื่นจะกลับคืนมา ความฝืดลดลงการสึกหรอลดลง ประสิทธิภาพทางกลไกดีขึ้น
จน เมื่อผนังสูบมีอุณหภูมิถึงระดับปกติที่เรียกว่า Operating Temperature ของเครื่องยนต์ การสึกหรอจะมีน้อยมากจนเรียกได้ว่าตัดทิ้งได้
ตอบอย่างนี้ได้ 100 คะแนนเต็ม….
….การ สึกหรอของเครื่องยนต์ในลักษณะนี้ เป็นได้กับเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (Internal Combustion Engine) ทุกชนิด ทั้งเครื่องยนต์เบนซิน
และดีเซล….
…..ส่วน อื่น ๆ ของเครื่องยนต์ที่เป็นเพลา เช่นเพลาข้อเสือ เพลาก้านต่อ ไม่มีการสึกหรอ และไม่เกี่ยวข้องกับการสึกหรอตอนเริ่มเดินเครื่องยนต์
ขณะ เย็นเครื่องยนต์จึงมีจุดอ่อน อยู่ที่ การสึกหรอตอนเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นเครื่องยนต์จึงมีจุดอ่อนอยู่ที่ การสึกหรอของผนังสูบ ลูกสูบ แหวนลูกสูบ
สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีวัด กำลังอัดในสูบเมื่อมีการสึกหรอมาก ๆ กำลัง อัดในสูบจะต่ำลงสูบที่ 1 เป็นบริเวณที่น้ำเย็นจากหม้อน้ำไหลเข้ากำลังอัดจะต่ำที่สุด
และค่อย เพิ่มมากขึ้นในสูบที่ 2 – 3 – 4 สูบสุดท้ายจะเป็นบริเวณที่น้ำร้อนไหลออกไปเข้าหม้อน้ำ กำลังอัดจะสูงกว่าสูบอื่น ๆ

อันตรายจากการกลั่นตัวของน้ำมีอย่างไรบ้าง….
….1. เกิดการสึกหรอที่ผนังสูบ ลูกสูบและแหวนลูกสูบ ตามที่กล่าวแล้ว
….2. น้ำจะไหลลงไปในห้องข้อเสื้อปนกับน้ำมันหล่อลื่น ทำให้เป็นเมือกเหนียวและทำลาย สารเพิ่มคุณภาพ (Additive) ในน้ำมันหล่อลื่น
แต่น้ำนี้จะระเหยออกไปได้เมื่อเครื่องยนต์ร้อน นานเพียงพอ(คนที่ใช้รถในระยะทางสั้นๆทุกวัน…ก็ถือว่าเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์)
….3. กำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นออกไซด์เมื่อเผาไหม้ และเมื่อรวมตัวกับน้ำจะเป็น กรดกำมะถัน (ซัลฟูริก)
….. SO2 + 2H2 O = 2H 2SO4
….. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ + น้ำ = กรดกำมะถัน
….. ทำให้น้ำมันหล่อลื่นเป็นกรด ดังนั้นน้ำมันหล่อลื่นทุกชนิดจะเป็นด่างไว้ก่อน โดยใส่สาร เพิ่มคุณภาพที่เป็นด่างเข้าไป เพื่อสู้กับกรดที่จะตามมา …

….4. กรดกำมะถัน จะไปกัดท่อไอเสียทำให้ผุกร่อน เมื่อน้ำไปกลั่นตัวที่ท่อไอเสีย

ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นแต่ละครั้งนาน เพียง 5-10 นาทีเท่านั้นสำหรับบ้านเราที่เป็นเมืองร้อน ในเมืองหนาวจะใช้เวลามากกว่า….. เมื่อ 4-5 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดค่ากำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงให้ลดลงมาเป็น 10 เท่าของค่ากำมะถันในน้ำมัน
เชื้อเพลิงเป็นตัวกำหนดราคาน้ำมันด้วย ทำให้น้ำมันแพงขึ้น มีการพูดกันว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้สูงเกินไปหรือเปล่า ? แต่การผุกร่อนของท่อไอเสียลดลงอย่างเห็นได้ชัด

มีกลไกอะไรในเครื่องยนต์ที่ช่วยในการอุ่นเครื่อง (Warm up)….
เครื่อง ของรถยนต์ไม่มีอุปกรณ์ในการอุ่นน้ำก่อนเดินเครื่อง แต่มีกลไกที่เมื่อเดินเครื่อง แล้วช่วยให้ร้อนได้เร็ว เครื่องยนต์สมัยใหม่ที่ใช้หัวฉีดควบคุมด้วย
คอมพิวเตอร์จะมีลิ้น Air Valve เปิด – ปิด ด้วยอุณหภูมิแบบ Thermowax เริ่มเปิดเมื่อ 140 องศาฟาเรนไฮต์ยิ่งเย็น มากก็จะเปิดกว้างมาก
เพื่อ ให้อากาศเข้าเครื่องยนต์มาก ดังนั้นการเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะที่ อากาศเย็น เช่น ในตอนเช้าจะหมุนเร็วกว่าในตอนบ่ายที่อากาศอุ่นกว่า
เครื่อง ยนต์เดิน เบาใน ตอนนี้เรียก Fast Idle คอมพิวเตอร์จะจ่ายน้ำมันมาก อัตราส่วนผสมแก่ (Rich Mixture) เพื่อช่วยเผาเครื่องยนต์ให้ร้อนเร็วนั่นเอง
หลังจากเครื่องยนต์อุ่นขึ้น Air Valve จะเริ่มหรี่ลง คอมพิวเตอร์จะลดอัตราส่วนผสมให้จางลง (Lean Mixture) รอบเครื่องยนต์ค่อย ๆ ลดลงจน
อุณหภูมิถึง 140 องศาฟาเรนไฮต์ลิ้น Air Valve จะปิด รอบเครื่องยนต์จะลดลงมาเป็นปกติ ประมาณ 800 รอบ / นาทีเรียกว่า Normal Idle
กรรมวิธีในการอุ่นเครื่องจบลงตรงนี้ แต่ อุณหภูมิของเครื่องยนต์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป จนถึงอุณหภูมิทำงานตามปกติ Thermostat
เป็นกลไกอีกอันหนึ่งที่ช่วยในการ Warm Up เครื่องยนต์และรักษาอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ โดยการควบคุมการไหลวนเวียนของน้ำหล่อเย็น

ขับขี่อย่างไรให้ร้อนได้เร็วและสึกหรอน้อยที่สุด……
Do not try to warm up the engine by letting the vehicle stationary, drive off straight away, do not race the engine….
เป็น คำแนะนำที่จำมาจากหนังสือคู่มือการใช้รถ จำไม่ได้ว่ายี่ห้ออะไรการจอดอุ่นเครื่องอยู่กับที่เป็นวิธีการที่ล้าสมัย เพราะทำให้เครื่องร้อนช้าจึง แนะนำว่า
ท่านควรเตรียมการทุกอย่างให้ พร้อม เมื่อติดเครื่องแล้วจะต้องขับออกไปภายใน 10 วินาทีเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน แต่การขับในช่วงนี้เป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อน
เครื่องยนต์ควร ทำงานเบา รอบเครื่องยนต์ไม่ควรเกิน 2000 รอบ / นาที ใช้ความเร็วสม่ำเสมอรถเกียร์ อัตโนมัติ จะไม่เข้าเกียร์ 4 หรือเกียร์ Overdrive
จนกว่าอุณหภูมิของ เครื่องยนต์เลย 130 องศาฟาเรนไฮต์ ไปแล้ว ซึ่งได้โปรแกรมไว้ในคอมพิวเตอร์ และเมื่อใดที่อุณหภูมิของเครื่อง ยนต์ถึงเกณฑ์ปกติ
ท่านจะขับอย่างไรก็ได้ตามนิสัยการขับ (Driving Habit) ที่ท่านชอบ เพราะ ในช่วงนี้การสึกหรอจะมีน้อยมาก

กรณีตัวอย่างที่น่ารู้…..
…..1. ตอนเย็นหลังจากเลิกงานแล้วท่านขับรถกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านจอดรถแล้วไปอาบน้ำพัก ผ่อน จนค่ำแล้วก่อนเข้านอนนึกขึ้นได้ว่าจอดรถไว้หน้าบ้าน
จึงลงมาติดเครื่องยนต์ขับรถเข้าไป จอดในโรงรถ Robert Sikorsky เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่าการสึกหรอในช่วงนี้เทียบเท่า
กับ การขับรถปกติเป็นระยะทางถึง 800 กิโลเมตร ตัวเลขนี้เชื่อได้ว่ามาจากผลการทดสอบจริง แต่ไม่มีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น อุณหภูมิของอากาศขณะนั้น
…..2. ถ้าบ้านของท่านเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีรถหลายคันใช้ร่วมกัน ควรเลือกใช้รถคัน ที่เพิ่งผ่านการใช้งานมาใหม่ ๆ ที่เครื่องยังอุ่นอยู่
…..3. ถ้าท่านจะซื้อรถใช้แล้ว อย่าใช้เลขระยะทางเป็นตัวกำหนดสภาพรถแต่อย่างเดียวควร ตรวจสอบพฤติกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วย
เช่น บ้านอยู่ห้องแถวกลางคืนเอารถเข้าจอดในบ้าน เช้าเลื่อนออกไปจอดริมถนน ต้องเลื่อนรถไป- มา เพื่อหาที่จอด
มีรถหลายคันบางคันไม่ค่อยได้ใช้ติดเครื่องเพื่อชาร์จแบตเตอรี่อยู่กับที่เป็นประจำ รู้มาก ยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ…….

บทความดีๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถทุกๆ ท่านเลยนะครับ นำมาให้ได้อ่านกันครับผม .

credit : a31club.com   like
บันทึกการเข้า

I PAJEROSPORT
THAILAND
Liverpool(ชาติ)
Hero Member
*****

like: 101
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8658

You'll Never Walk Alone


« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 01:49:00 am »

  สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
Suriya(PaC)
อั๊ยยยย่ะ..มหานคร
Hero Member
*****

like: 598
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2506


มือถือ:๐๙๑-๗๒๙-๖๙๙๖ [สุริยา วิทยาประดิษฐ์]


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 08:37:45 am »

ขอบคุณครับ ป๋าดรีม งั้นปาผมเครื่องยนต์ต้องทนทานมาก เพราะสตาร์ททีไร แป็บเดียวเครื่องร้อนมากเลย 
บันทึกการเข้า

พูดคุยกับป๋าซีแบบ Chat Online ได้ที่ pajerosport-lovers.com
http://www.facebook.com/suriya.pajerolovers
เลือกหยิบของฟรีที่ห้องโชว์อ๊อฟ ในหัวข้อ GiftShop ป๋าซี(PaC)
Takab
Jr. Member
**

like: 11
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 331



« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 09:09:30 am »

 like like like ขอบคุณคร้าบบ  red heart red heart red heart
บันทึกการเข้า
Tee_Kb
Global Mod
Hero Member
*

like: 107
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14140



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 09:21:19 am »

 like like like สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า

มีปาพาไปหามิตร....มิตรภาพดีๆหาได้ที่นี่
www.Pajerosport-thailand.com
thekop07
Hero Member
*****

like: 200
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8439


« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 09:26:30 am »

ขอบคุณครับป๋าดรีม ...  good สาธุ
บันทึกการเข้า
BigFather
Hero Member
*****

like: 179
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5258


พงษ์ ลำลูกกา บิ๊กปาดำ940

piyapong.ppm@gmail.com
« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 10:14:58 am »

เพิ่งได้อ่านข้อมูลสนับสนุนวันนี้นี่เอง หลังจากที่ปฏิบัติแบบนี้มานานตั้งแต่รถคันเก่า
คือสตาร์ทรถแล้วอัญเชิญผู้โดยสารขึ้น (2 นาที) ออกตัวไปช้าๆเรื่อยๆ ชิดซ้ายไว้ แซงได้แซงไป เด๋วไปเอาคืนทีหลัง
บันทึกการเข้า
Iyaa Diesel
Jr. Member
**

like: 15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 400



อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 10:20:41 am »

 like like like like

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

 สาธุ สาธุ สาธุ good good good
บันทึกการเข้า

GUNT@NERY
Hero Member
*****

like: 306
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4939


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 10:33:11 am »

โชคดีไป  ผมชอบขับรถเร็ว....เลยชอบอุ่นเครื่องก่อน 5 นาที  ก่อนออก  จน ผบ.ชอบว่า  จะรีบสตาร์ทไปใหน
ส่วน ผบ. ขับรถไม่เร็ว  แต่เจ่แก  ติดแล้วไปเลย  แล้วรีบดับเครื่อง  กลัวเปลือง  555
บันทึกการเข้า
เอกเอนกประสงค์ No.32
Hero Member
*****

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2794



อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 10:34:42 am »

 like like like like
บันทึกการเข้า

Nakavabi
Hero Member
*****

like: 22
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2554



อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 11:49:14 am »

 like like like
 
 สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
jamis (ป๊อบ)
Jr. Member
**

like: 10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 12:03:50 pm »

 สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
Na ratchada
Hero Member
*****

like: 126
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3345



« ตอบ #12 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 12:07:30 pm »


ขับขี่อย่างไรให้ร้อนได้เร็วและสึกหรอน้อยที่สุด……
Do not try to warm up the engine by letting the vehicle stationary, drive off straight away, do not race the engine….
เป็น คำแนะนำที่จำมาจากหนังสือคู่มือการใช้รถ จำไม่ได้ว่ายี่ห้ออะไรการจอดอุ่นเครื่องอยู่กับที่เป็นวิธีการที่ล้าสมัย เพราะทำให้เครื่องร้อนช้าจึง แนะนำว่า
ท่านควรเตรียมการทุกอย่างให้ พร้อม เมื่อติดเครื่องแล้วจะต้องขับออกไปภายใน 10 วินาทีเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน แต่การขับในช่วงนี้เป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อน
เครื่องยนต์ควร ทำงานเบา รอบเครื่องยนต์ไม่ควรเกิน 2000 รอบ / นาที ใช้ความเร็วสม่ำเสมอรถเกียร์ อัตโนมัติ จะไม่เข้าเกียร์ 4 หรือเกียร์ Overdrive
จนกว่าอุณหภูมิของ เครื่องยนต์เลย 130 องศาฟาเรนไฮต์ ไปแล้ว ซึ่งได้โปรแกรมไว้ในคอมพิวเตอร์ และเมื่อใดที่อุณหภูมิของเครื่อง ยนต์ถึงเกณฑ์ปกติ
ท่านจะขับอย่างไรก็ได้ตามนิสัยการขับ (Driving Habit) ที่ท่านชอบ เพราะ ในช่วงนี้การสึกหรอจะมีน้อยมาก

credit : a31club.com   like

ขอเพิ่มข้อมูลนะครับ

สำหรับปาเจโร่ สปอต์  ให้ขับจนอุณหภูมิน้ำที่อุ่นเครื่องยนต์   น้ำมันเครื่อง และห้องเกียร์   ได้ที่  180+ องศาฟาเรนไฮต์    แล้วค่อยเร่งความเร็ว  ตามใจปราถนากันได้เลย
เพราะเกียร์ออโต้  จะพร้อมทำงานเต็มที่และรองรับแรงบิดได้ดีที่สุด

**ลองสังเกตุดูว่า   หากเครื่องเย็นๆ  จะพบอาการเกียร์กระตุก   เกียร์ไม่เปลี่ยน    เร่งแล้วบางทีมีแต่รอบ  รถตื้อๆ    กระแทกคันเร่งเมื่อไหร่   วิ่งไม่ค่อยต่อเนื่องดีพอ    จนกว่าเครื่องยนต์จะร้อนแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น  ครับ

note :   180 - 32 x 5 / 9 = 82 องศา C
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2012, 12:09:23 pm โดย Na ratchada » บันทึกการเข้า
Rin Diesel & Gasoline 4WD
Full Member
***

like: 20
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1087


PJS Thailand No.199 เพื่อนร่วมทาง Around Thailand


« ตอบ #13 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 12:17:02 pm »

ขอเพิ่มข้อมูลนะครับ

สำหรับปาเจโร่ สปอต์  ให้ขับจนอุณหภูมิน้ำที่อุ่นเครื่องยนต์   น้ำมันเครื่อง และห้องเกียร์   ได้ที่  180+ องศาฟาเรนไฮต์    แล้วค่อยเร่งความเร็ว  ตามใจปราถนากันได้เลย
เพราะเกียร์ออโต้  จะพร้อมทำงานเต็มที่และรองรับแรงบิดได้ดีที่สุด

**ลองสังเกตุดูว่า   หากเครื่องเย็นๆ  จะพบอาการเกียร์กระตุก   เกียร์ไม่เปลี่ยน    เร่งแล้วบางทีมีแต่รอบ  รถตื้อๆ    กระแทกคันเร่งเมื่อไหร่   วิ่งไม่ค่อยต่อเนื่องดีพอ    จนกว่าเครื่องยนต์จะร้อนแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น  ครับ

note :   180 - 32 x 5 / 9 = 82 องศา C
like like like
บันทึกการเข้า
id-ap
Newbie
*

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 01:04:40 pm »

ได้ความรู้ดีครับเยี่ยมเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 21 คำสั่ง