เพิ่มเติมอีกเรื่องน้ำมันเครื่อง เลขตัวหน้ายิ่งต่ำยิ่งดีนะครับ ตัวถัดมาไม่มีประโยชน์สำหรับบานเราหลอกครับ บ้านเราไม่มีอุณหภูมิพีคเหมือนบ้านผู้ดีทั้งหลาย ..... เราจึงใช้เลขหน้าต่ำ ๆ ไว้
จะช่วยช่วงสตาร์ทใหม่ได้ดี ลดการสึกหรอ และที่สำคัญเลขยิ่งน้อยยิ่งดี (และยิ่งแพงขึ้นด้วยครับ) อิอิ และอย่าไปซีเรียสกับคำว่าสังเคราะห์ กับกึ่งสังเคราะห์ดูที่ตัวเราใช้งานแบบใหนคุ้มค่าที่สุดครับ
ถ้าอยากเห็นฝ่ายต้อนรับบ่อย ๆ หรือมีศูนย์ดี ๆ ให้เข้าแบบผมก้เปลี่ยนบ่อย ๆ ได้ครับ ของผม
หิ้วไปเอง กึ่งสังเคราะห์ก็พอ
ที่ตัวหนังสือสีฟ้าใช่หรือครับ คือผมไม่แน่ใจเลยก๊อปของล่างมาให้ดูนะครับ
ผิดถูกอย่างไรก็อภัยให้น้องด้วยนะครับ
เลือกจากเกรดความหนืดของน้ำมันเครื่อง
ความหนืดของน้ำมันเครื่องจะเกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นเคลือบและการไหลเวียนของน้ำมันเครื่อง ซึ่งเกรดความหนืดคืออัตราการไหลของปริมาณต่อขนาดและความยาวของรู ต่อหน่วยเวลา ณ อุณหภูมิหนึ่ง ยกตัวอย่าง
เช่น น้ำมัน 60 ซี.ซี ไหลผ่านรูขนาด 12.25 มิลลิเมตร ณ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
ส่วนหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในการวัดเกรดความหนืดก็คือ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์หรือ SAE (SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS) โดยเกรดความหนืดของน้ำมันเครื่องจะแสดงเป็นเป็นอักษรย่อ SAEแล้วตามด้วยเกรดความหนืดเป็นตัวเลขเช่น 5, 10, 15, 30, 40และ 50เป็นต้น
โดยตัวเลขยิ่งมาก ความหนืดก็จะสูงตามไปด้วยเช่น SAE 10W-50จะมีความหนืดมากกว่า SAE 5W-40
ซึ่งการวัดเกรดความหนืดจะแบ่งเป็นการวัดที่ 2 อุณหภูมิที่แตกต่างกัน
1. วัดที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส ซึ่งตัวเลขเกรดความหนืดจะตามด้วยอักษร W (WINTER) เช่น 5W, 10W
2. วัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งตัวเลขเกรดความหนืดจะเป็นตัวเลขอย่างเดียวเช่น 30, 40, 50
การเลือกน้ำมันในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศร้อนให้ดูที่ตัวเลขตัวหลังสุดที่ไม่มีตัวอักษรนำหน้าอย่างเดียวก็พอ
เพราะประเทศไทยไม่มีอุณหภูมิติดลบจึงไม่มีความจำเป็นต้องดูตัวเลขที่มีตัวอักษร W ตามหลัง
พอดีผมเอาแบบเข้าใจง่ายครับ ถ้าเลขตัวหน้าสูง ๆ จะเหมาะกับรถที่มีแรงขับสูง ๆ บรรทุกหนัก ๆ เพราะมีความหนืดสูงครับ (เช่นรถบรรทุกผัก ผลไม้ บรรทุกข้าว บรรทุกเป็นตัน ๆ ประมาณนี้ครับ) จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานรถเหล่านี้จึงจำเป็นต้องใช้ตัวเลขสูงครับ
ส่วนเลขต่ำ ๆ ผมคำนึงถึงแต่น้องปาครับ พอดีรอบจัด + ต้องการความเร็ว เหมาะกับการใช้งานปกติอย่างเรา ๆ ไม่ได้บรรทุกหนักหนาอะไร + คนเข้าไปไม่กี่คน ที่ดีที่สุดคือต่ำ ๆ ครับ เพราะความหนืดน้อย
ก็คล่องตัวกว่า แต่เราเปลี่ยนตามรอบอยู่แล้วไม่มีปัญหาเพราะส่วนมากจะเปลี่ยนกันอยู่แล้ว
ส่วนเลขตัวหลังเขาออกแบบมาสัมพันธ์กับเลขตัวหน้าอยู่แล้ว จึงทนกับอุณหภูมิใช้งานอยู่แล้วครับ และก็ไม่ต้องไปเผื่ออุณหภูมิให้มากเกินความจำเป็นครับ
ผมเอามาจากช่างนะครับ เพราะเป็นคนชอบวุ่นวายกับช่างเวลาทำอะไร พี่ชายก็มีอู่ขนาดใหญ่ด้วย (ผ่านไปเชียงรายใช้บริการได้นะครับ) ประสบการณ์จึงเกิดจากมนุษยสัมพันธ์และความซนครับ ทางวิชาการก็ว่ากันไปครับ แต่ก็คงไม่เกินนี้ครับ เพราะผมอธิบายตามที่เข้าใจและผู้อ่านจะได้เข้าใจง่าย ๆ
สรุป คือ ใช้งานแบบหนัก ๆ เน้นบรรทุก หรือรถบรรทุก ท่านก็จัดเลขหน้าสูง ๆ ไป และถูกด้วย ซึ่งอย่างเรา ๆ ไม่มีความรู้ ก็ไม่ต้องไปซีเรียสเรื่องอุณหภูมิมากไปครับ เพราะที่นำเข้ามาขายหรือผลิตที่ผมเห็นอยู่ก็เหมาะกับบ้านเมืองอันแสนอบอุ่นของเราอยู่แล้ว
ส่วนใช้งานเบา ๆ ในชีวิตประจำวัน อยากเหยียบแบบมัน ๆ รื่น ๆ ก็จัดเลขหน้าต่ำ ๆ ครับผม สาเหตุที่แพงก็มาจากสารทดแทนความหนืดเพื่อลดการสึกหรอนี่แหลครับ เพราะน้ำมันเครื่องได้ถูกลดความหนืดลงไป
ดังนั้น จึงควรเลือกตามลักษณะของการใช้งาน และต้องขออภัยที่บรรยายเพิ่มเติมไม่ละเอียด ตามที่ป๋าบอกข้อมูลมานั้นถูกต้องตามหลักวิชาการแล้วครับ เพราะคำว่าใช้ดีจะต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งาน ถ้ารถบรรทุกมาใช้แบบความหนืดน้อยก็พังแน่ ๆ ครับ