มาแชร์ข้อมูลผิดๆกันต่อครับ อ่านแค่ผ่านไม่ต้องจำก็ได้นะครับ ตัวเลขที่แสดงออกมาในเอกสารประชาสัมพันธ์ของบริษัทรถยนต์ ล้วนเป็นการวัดแรงม้าจากเครื่องยนต์
โดยยังไม่ผ่านระบบส่งกำลัง และไม่ได้วัดแรงม้าที่ล้อ ซึ่งถ้าวัดแรงม้าที่ลงพื้นจริงหลังจากผ่านระบบส่งกำลังจะมีค่าที่ได้น้อยลงกว่าที่วัดจากเครื่องยนต์อีกหลายเปอร์เซ็นต์ หรือสิบยี่สิบเปอร์เซ็นต์ก็ยังมี เพราะมีการสูญเสียในการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ผ่านหลายอุปกรณ์กว่าจะถึงยางมาสู่พื้น ซึ่งรถยนต์แต่ละรุ่นมีอัตราการสูญเสียกำลังนี้ไม่เท่ากัน และถ้ารุ่นใดสูญเสียน้อย ก็ถือว่าเป็นจุดเด่น ดีกว่าที่มีแรงม้าในเครื่องยนต์มาก แต่ลงสู่พื้นได้น้อย สมรรถนะและการกินน้ำมันก็ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น (ตัวเลขการสูญเสียกำลังนี้ ไม่มีผู้ผลิตรายใดเปิดเผย)
การวัดแรงม้าจะเครื่องยนต์ในแต่ละหน่วย มีความแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น อุณหภูมิน้ำระบายความร้อน อุณหภูมิ-ความชื้น แรงกดอากาศ รวมถึงการใส่อุปกรณ์พ่วง เช่น ไดชาร์จ ปั๊มน้ำ ท่อไอเสีย ฯลฯ และถ้าอยากทราบเป็นแรงม้าที่ไม่โม้โดยประมาณ ก็ให้ใช้ 1.36 คูณค่ากิโลวัตต์เข้าไป
ตัวเลขแรงม้าที่วัดจากเครื่องยนต์ที่ระบุออกมา คนส่วนใหญ่มักรีบคิดไปก่อนเลยว่า เครื่องยนต์ที่มีแรงม้ามากๆ ก็จะทำให้รถยนต์คันนั้นมีอัตราเร่งดีกว่า ทั้งที่อาจจะไม่ใช่ก็เป็นได้ ตัวเลขแรงม้า ไม่สามารถบอกสมรรถนะที่แท้จริงในการขับได้ ไม่ใช่เรื่องตายตัวว่า รถยนต์รุ่นที่มีเครื่องยนต์แรงม้ามากกว่า จะมีอัตราเร่ง ความเร็ว หรือการตอบสนองดีกว่าอีกุร่นหนึ่งที่เครื่องยนต์มีแรงม้าน้อยกว่า เพราะต้องเกี่ยวข้องกับอีกหลายองค์ประกอบ เช่น น้ำหนักรวม อัตราทดเกียร์-เฟืองท้าย การสูญเสียในระบบส่งกำลัง นอกจากแรงม้าที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจแล้ว แรงบิดและรอบเครื่องยนต์ที่ให้แรงม้าและแรงบิดสูงสุด ก็มีความสำคัญต่อสมรรถนะด้วยเช่นกัน
สมองไหลกันหน่อย
1 ฟุต-ปอนด์ = 0.737265 นิวตัน-เมตร
1 กิโลกรัม-เมตร = 9.8 นิวตัน-เมตร
อยากจะเปลี่ยนอะไรเป็นอะไรก็ คูณหารกันเข้าไปกันเองนะครับ
ตัวอย่าง ? เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด = 20.0 กิโลกรัม-เมตร = 196 นิวตัน-เมตร = 144.5 ฟุต-ปอนด์
- แรงม้าคืออะไร?
แรงม้าคือ หน่วยวัด ?พลัง? ของเครื่องยนต์ที่ได้จากการทำงานของ ?แรงบิด? ที่ความเร็วรอบใดๆ ต่อหน่วยเวลา
มีรากเง้าการคำนวณมาจากสูตร ?งาน? (จูล) = ?แรง? คูณด้วย ?ระยะทาง? >>> W = F x S
และ ?พลังงาน? P คือ ?งานต่อหน่วยเวลา? มีชื่อว่าเรียกว่า วัตต์ (Watt) หรือ จูลต่อวินาที >>> P = W/วินาที
หรือเท่ากับ ??งาน? คูณด้วย ?ความเร็วเมตรต่อวินาที" >>> P = W x v
โดยที่ 1 แรงม้า = 746 วัตต์
- ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า กะ แรงบิด
เราสามารถคำนวณหา ?แรงม้า? จาก ?แรงบิด? หรือ คำนวณ ?แรงบิด? จาก ?แรงม้า? ได้เสมอ ถ้าเรารู้ค่าของตัวใดตัวหนึ่ง ที่ความเร็วรอบเครื่องขณะใดขณะหนึ่ง
ด้วยสูตรการคำนวณค่าแรงม้าที่ให้มาข้างต้น เราสามารถสร้างสูตรสำเร็จในการคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า และ แรงบิด ได้ดังนี้ (ค่าแรงบิดที่ใช้สูตรการคำนวณมีหน่วยเป็น กิโลกรัม-เมตร.)
คำนวณ แรงม้า จาก แรงบิด : แรงม้า = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376
คำนวณ แรงบิด จาก แรงม้า : แรงบิด = แรงม้า / (รอบต่อนาที X 0.001376)
ดังนั้น จากข้อมูลของเครื่องยนต์ที่เรามักจะเห็นจากสเป็คในโบชัวร์โฆษณารถ เราก็จะสามารถคำนวณต่อได้ว่า
ที่แรงบิดสูงสุดนั้น มีกี่แรงม้า หรือ ที่แรงม้าสูงสุดนั้น มีแรงบิดเท่าไหร่
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาค่าอัตราทดเกียร์ เฟืองท้าย และ ขนาดล้อ ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รถที่มีสมรรถนะตามต้องการ ทั้ง อัตราเร่ง และ ความเร็วสูงสุด ทั้งนี้เราจะต้องรู้น้ำหนักรถ และ ค่าอากาศพลศาสตร์ ของรถด้วยนะครับ
ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างที่
เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด 500 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3,800 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 250 แรงม้า ที่ 4,200 รอบต่อนาที
คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 3,800 X 500 X 0.001376 = xxx แรงม้า ที่ 3,800 รอบต่อนาที
คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 250 / (4,200 X 0.001376) = xxxx กิโลกรัม-เมตร ที่ 4,200 รอบต่อนาที
ตัวอย่างที่ 2
เครื่องยนต์ B มีแรงบิดสูงสุด 500 กิโลกรัม-เมตร ที่ 2,100 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 250 แรงม้า ที่ 3,500 รอบต่อนาที
คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 2,100 X 500 X 0.001376 = xxxxx แรงม้า ที่ 2,100 รอบต่อนาที
คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 250 / (3,500 X 0.001376) = xxxx กิโลกรัม-เมตร ที่ 3,500 รอบต่อนาที
จากตัวอย่างการคำนวณของ เครื่องยนต์ A และ B เราจะเห็นได้ว่า แม้ทั้งคู่จะมี ?แรงบิด? และ ?แรงม้า? สูงสุด เท่ากัน แต่เครื่องยนต์ A จะได้อัตราเร่งที่ดีกว่าทั้งต้นและปลาย ที่อัตราทดของระบบการส่งกำลังเดียวกัน และ ถ้าจะให้เครื่องยนต์ B มีสมรรถนะเท่ากับเครื่อง A บนตัวถังเดียวกัน อาจจำเป็นต้องใช้ชุดเกียร์ที่มีอัตราทดชิดกันมากกว่า และอาจต้องมีจำนวนเกียร์มากกว่าด้วย นอกจากนี้ เครื่องยนต์ A ก็มีโอกาสประหยัดน้ำมันกว่า ถ้ามีความจุของเครื่องยนต์เท่าๆ กัน เพราะว่า เครื่องยนต์ A ดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์ B จากลักษณะ แรงบิด และ แรงม้า ที่เครื่อง A ได้มาอยู่ในรอบเครื่องยนต์ที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปนะครับ แต่มีโอกาสเป็นไปตามนี้สูงมาก
ที่มาของสูตรการคำนวณ (สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรู้ ก็ข้ามส่วนนี้ไปได้เลยครับ)
ทำ รอบต่อนาที ให้เป็น รอบต่อวินาที จากการหารด้วย 60 วินาที
ทำ รอบต่อวินาที ให้เป็นความเร็ว แบบ เมตรต่อวินาที จากการคูณด้วย (2 X Pi X R) หรือ (2 X 3.14 X 1) = 6.28
ทำ วัตต์ ให้เป็น แรงม้า จากการหารด้วย 746 วัตต์
ทำแรงบิด จาก กิโลกรัม เป็น นิวตัน จากการคูณด้วย 9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง
ดังนั้น จึงได้สูตรรวมการคำนวณแรงม้าจากแรงบิด เป็น ?
(รอบ X แรงบิด X 6.28 X 9. / (60 X 746) = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376
- การทดเกียร์ในรถยนต์ทำเพื่ออะไร?การทดเกียร์มีจุดประสงค์ 2 ประการคือ
1. เพื่อให้สามารถควบคุมความเร็วรถได้อย่างเหมะสมตามรอบเครื่องยนต์
2. เพื่อให้สามารถสร้างอัตตราเร่งของรถได้ด้วยการทำให้แรงบิดของเพลาขับสูงกว่าแรงที่รถต้องการในแต่ละช่วงความเร็ว
ประการที่1. ดูว่า ทำไมรถที่เครื่องแรงมากๆๆๆๆๆ เช่น รถสปอร์ต 300-500 แรงม้า ยังคงต้องมีเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดพอๆ กับรถจ่ายตลาดที่มีแรงม้าแค่ 100 แรงม้า ถามว่ารถที่แรงมากๆ ออกเกียร์ สอง ได้มั๊ย ก็ตอบว่า อาจได้ครับ แต่ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร รถยนต์ต้องออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง เสมอไม่ว่าจะเป็นคันไหน และถ้าไม่มีครัช เครื่องยนต์ก็ต้องเริ่มหมุนจาก 0 รอบต่อนาทีเหมือนกัน และไม่ว่าเครื่องจะมีแรงเท่าไหร่ ถ้าเครื่องหมุน 0 รอบต่อนาที ก็มีแรงเท่ากับ 0 เหมือนกันทุกเครื่องยนต์ ดังนั้น คุณต้องการเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดมาก ไม่ได้ไว้เพื่อให้มีแรงอย่างเดียว แต่เพื่อความเหมาะสมต่อการเลี้ยงรอบเครื่องในการออกตัว ส่วนการทดในเกียร์ต่อๆ ไปก็เพื่อให้เครื่องได้ทำงานในรอบเครื่องยนต์ที่ให้การตอบสนองเหมาะสมต่อการใช้งานที่ดีที่สุดนั่นเอง
**ฉะนั้นการกินให้อิ่ม กับกินจนจุก ก็สามารถใช้ชีวิตปกติประจำวันได้เหมือนกัน แต่การอิ่มแต่พอดีจะรู้สึกมีสุขภาพร่างกายที่ดีกว่า ไม่ทราบว่าส่วนนี้จะกล่าวถูกต้องหรือป่าวครับ
***มาเพื่อโต้แย้งข้อมูล แบบแรกนั้นชอบและเป็นประโยชน์กับเพื่อสมาชิกที่สนใจ มากครับ แต่มาแล้วทำให้ Board ร้อน
เพราะอารมณ์ ก็เอาแค่พอสมควรนะครับ เดี๋ยวจะโดนล๊อกกระทู้กันป่าวๆ