ตอนที่ 2.5
มาต่ออีก นิด บทความดีๆ จาก QC Car Audio
เทคนิคการเลือกซื้อเครื่องเสียงรถยนต์
เขียนโดย พงษ์เผ่า ทองธิว
อ้างอิง
http://www.qccaraudio.com/webboard/index.php?topic=5302.0สวัสดีครับสำหรับบทความของ เทคนิคเครื่องเสียง ก็กลับมาโลดแล่นบนเวปไซท์กันอีกครั้ง ผมก็เลยได้โอกาสเอาบทความการเลือกซื้อ HEAD-UNITมาแนะนำกันครับว่าการจะเลือกซื้อวิทยุติดรถยนต์สักเครื่องนั้น คุณจะรู้ว่าเครื่องรับซีดีเครื่องไหนเหมาะสมและมีส่วนสำคัญที่ต้องรู้อย่างไรในการเลือกซื้อ
สิ่งแรกที่คุณต้องการทำคือทำให้แน่ใจคุณเลือกวิทยุที่เหมาะสมกับงบประมาณและเหมาะสมกับการใช้งานในรถ ที่สำหรับจะติดตั้งในส่วนที่เรียกว่า in-dash ตรงช่องหน้าปัดรถของเราครับและเราจะต้องดูว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่เราต้องการที่จะเล่นกันfrontยี่ห้อไหนมากที่สุดเช่น เครื่องรับวิทยุ-ซีดี หรือ DVD การรู้ชนิดแผ่น program หรือ แผ่น softwareว่าจะเป็นformatอะไรที่คุณต้องการเล่นและสถานที่ที่เราจะสามารถหาข้อมูลก็ได้จากหนังสือหรือจะเป็นร้านติดตั้งหรือร้านตัวแทนจำหน่ายเป็นสถานที่ดีที่จะเริ่มต้นหาข้อมูลก่อนจะซื้อ front สักตัวนึงเพราะถ้าซื้อผิดแล้วก็ต้องคิดหนักละครับเพราะfrontตัวหนึ่งไม่ใช่ราคาถูกๆนี่ครับเครื่องรับซีดีใหม่รุ่นใหม่ๆส่วนมากสามารถเล่นแผ่นบันทึกซีดีได้ทั้งแบบCD-R,CD-RWและDVDเครื่องรับวิทยุ-ซีดีติดรถยนต สมัยใหม่หรือรุ่นใหม่ๆนี้สามารถถอดรหัสMP-3กันได้แทบจะทุกยี่ห้อและยังสามารถ เล่นแผ่น DVD ได้อีกด้วย นอกจากจะสามารถแล่นแผ่นได้หลากหลายแบบแล้วสิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องเลือกหาและให้ความสำคัญกับมันนั่นก็คือคุณจะได้ความสะดวกในการปรับแต่งระบบเสียงอย่างไรมีรูปแบบและลูกเล่นอย่างไรบ้างในตัว Front ที่เราต้องการเลือกซื้อ
Specification
เนื่องจากเพราะตัว specs นั้น สามารถแบ่งและบ่งบอกบอกได้ถึงคุณภาพของตัวfrontได้มากกว่าการที่เราจะมานั่งฟังหรือทดสอบดูด้วยตัวเองยกตัวอย่างเช่นเครื่องเล่นซีดีที่ให้ค่าอัตราการขยายสัญญาณเสียงต่อสัญญาณกวนหรือค่า S/N(SIGNAL TO NOISE RATIO)สูงกว่าเครื่องเล่นเทปปรกติและจะให้สัญญาณเสียงที่ ใสสะอาดปราศจากเสียงรบกวนภาคถอดรหัสสัญญาณเสียง A to D Converter ดูว่ามีอัตราารสุ่มอยู่ที่เท่าไรโดยมาตรฐานของ CD จะอยู่ที่ 44.1 KHz เท่านั้นครับ (Sampling rate) และจำนวนความละเอียดของสัญญาณเสียงในการแปลงสัญญาณนั้น จะเริ่มตั้งแต่ 16bit ไปจนถึง24bit ไม่นับรวมแบบ1bitซึ่งเป็นการแปลงสัญญาณเสียงคนละรูปแบบกันครับ นอกจากนั้นเครื่องรับวิทยุ-ซีดียังสามารถให้ตอบสนองความถี่ที่กว้างกว่าและมีรายละเอียดของเสียงที่มากมายกว่าครับส่วนจะได้มากน้อยแค่ไหนนั้นคงต้องอาศัยการทดลองฟังดูเอาล่ะครับ
จากตัวfront นั้น หากเราต้องการ ทดลองหรือทดสอบอย่างละเอียดแล้วเรายังสามารถใช้เครื่องขยายเสียง เช่น POWER AMP ติดรถยนต์ ที่ร้านติดตั้งนั้นมีอยู่มาใช้ทดสอบเสียงร่วมกันได้อีกด้วยเพื่อให้สามารถรับรู้ถึงคุณภาพของ Front ที่เราจะเลือกซื้อ ได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ
กำลังขับ
ปัจจุบันนี้เครื่องเล่น CD RECIVER ที่ใช้สำหรับติดตั้งในรถยนต์ นั้น สามารถ ให้ กำลังขับ ที่ มี Out Put Power ได้ค่อนข้างสูงพอสมควร และโดยมาก ก็จะมี out put มาให้ ถึง 4 out put สำหรับ ลำโพงที่ติดตั้ง ทางด้านหน้า และลำโพง ที่ติดตั้ง อยู่ที่แผง Realdesk ทางด้านหลัง หรือบางยี่ห้อก็จะมีสัญญาณสำหรับSub woofer มาให้ด้วย ซึ่งแต่ละout put นั้น ปัจจุบันก็ให้กำลังขับสูงถึง 50 X 4 WATT แต่สิ่งที่เราควรจะต้องเลือกดูก็คือค่า ของกำลัง watt ที่ ตัวผู้ผลิตกำกับมาให้ที่ตัวFrontนั้นมีค่าลงท้ายเป็นอย่างไรเมื่อตรวจสอบเครื่องรับซีดีจนแน่ใจแล้วว่าเครื่องหมายที่ลงท้ายตัวเลขกำลังขับนั้นเป็นRMSก็ให้แน่ใจได้เลยว่าเราได้ค่ากำลังขับจริงจากตัวFrontที่เราเลือกหาไว้ครับ
ภาคเครื่องรับวิทยุ Tuner
ต้องดูด้วยว่าสามารถที่จะทำการรับสัญญาณวิทยุได้อย่างชัดเจนหรือไม่ลองทดสอบและทำการเปลี่ยนช่องสัญญาณไปเรื่อยเพื่อดูว่าสามารถรับสัญญาณได้ชัดเจนและมีเสียงรบกวนจาก การ ถอดรหัส สัญญาณ วิทยุปนออกมาด้วยหรือไม่เพราะจะเป็นตัวบ่งบอกว่าภาครับวิทยุนั้นมีประสิทธิภาพในการรับสัญญาณ มากน้อยแค่ไหนทั้งภาครับ FMและAM
การปรับแต่งเสียง EQ
โดยส่วนมากเครื่องรับวิทยุ-ซีดีทุกยี่ห้อได้ติดตั้งระบบปรับแต่งสั­­าณเสียงมาให้เพื่อให้เราสามารถปรับแต่งลักษณะรูปแบบของเสียง(shaping)ที่เราฟังจากแผ่นCD โดยเรามารถเริ่มต้นการปรับแต่งได้อย่างง่ายๆด้วยภาคการปรับแต่งเสียงBassและtrebleจากส่วนควบคุมที่หน้าปัทม์ของเครื่องรับวิทยุ-ซีดีและเครื่องรับวิทยุ-ซีดีส่วนมากจะให้มาตั้งแต่หนึ่งหรือมากกว่าFunctionการปรับแต่งเสียง ปรกติที่มีลักษณะการปรับแต่งดังนี้ครับ
loudnessสำหรับเสียงในช่วงความถี่ต่ำโดยรวม เพื่อเพิ่มความรู้สึกให้รับรู้ถึงเสียงต่ำที่เพิ่มมากขึ้นภาค preset เป็นภาคการปรับแต่งที่ ทางโรงงานตั้งมาให้ ซึ่งจะแสดงผลของรูปแบบ EQ เป็นเส้นโค้งบนหน้าจอgraphicสำหรับให้ผู้ใช้งานมองเห็นการปรับแต่งได้อย่างง่ายดายและสวยงามวันนี้เครื่องรับวิทยุ-ซีดีให้ตัวเลือกที่มากมายในการเลือกซื้อเลือกหามากมายและยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เราจะลืมเสียไม่ได้นั่นก็คือ
Preamp OUT PUT
เป็นภาคสัญญาณ out-put สำหรับต่อเข้ากับระบบเครื่องเสียงในภาคของ poweramp ที่จะพูดถึงต่อไปในคราวหน้าครับ ซึ่งหากภาค preout นั้นมีหลายชุด ก็จะทำให้การเชื่อมต่อเข้ากับระบบที่เราเพิ่มเติมเข้าไปนั้นมันจะง่ายกว่าทั้งส่วนของลำโพง ทางด้านหน้า ด้านหลังหรือ การต่อร่วมใช้งานกับลำโพง subwoofers และถ้าเครื่องเล่นของคุณ สามารถเล่น แผ่นMP-3และสมัยนี้ก็สามารถเล่นผ่าน USBหรือ SD card แล้วก็ยิ่งทำให้สะดวกจน แทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกันเลยครับเพราะคุณสามารถควบคุมรายชื่อเพลงหรือเลือกเล่นเพลงได้จากหน้าจอหรือ Remote control ได้ อย่างง่ายดายครับ ก็ลองเลือกเล่นหรือเลือกซื้อหาได้ตามร้านค้าทั่วไปละครับเลือกในด้านของความคุ้มค่าผมว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับคราวหน้าจะมาพูดถึงภาคต่อของ เทคนิคเครื่องเสียงและจะเข้มข้นมากขึ้นสลับกันไปกับบทความอื่นๆ ขนาดไหนลองติดตามอ่านกันต่อไปละกันครับ
Class ของ Power amplifier
รูปแบบของ "power amplifier" นั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบแต่ที่เราเคยใช้งานและคุ้นเคยนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่แบบเท่านั้นในระบบเสียงและโดยทั่วไปแล้ว pออกแบบมาให้ ใช้เป็นตัวส่งผ่านสัญญาณเสียงในลักษณะของการขยายกำลังเพื่อให้ได้ กำลังหรือขนาดของสัญญาณที่ใหญ่ขึ้น (output stage) ซึ่งผลของกำลังที่ได้ออกมานั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของการจัดการวงจรขยายหรือเรียกง่ายๆได้ว่า classes ของ Amplifier นั่นเองครับ
การจัดรูปแบบของวงจรขยาย
การจัดวงจรของ Power amplifier (output stages) สามารถแบ่งออกได้เป็นรูปแบบแยกย่อยได้ดังนี้ (classified) ได้แก่ Class A, ClassB, Class AB และ ClassC สำหรับการจัดวงจรขยายในแบบ อนาล็อค หรือการทำงานในแบบ Linear และ class D และ E สำหรับการ จัดวงจรในแบบ switching amplifier ลักษณะการทำงานแบบนี้ไม่ใช่การทำงานในแบบ ดิจิตอล อย่างที่เข้าใจกัน แต่ก็ยังเรียกกันว่าแอมป์ดิจิตอล ตามแบบที่ฝรั่งเขาเรียกกัน เพียงแต่รูปแบบของสัญญาณจะเป็นรูปแบบการทำงานแบบ On และ Off ที่ให้ผลทางเอาท์พุทออกมาไม่เป็น Sine เต็มรูปแบบ คือ มีขอบเหลี่ยมด้านบน มากกว่า เพาเวอร์ แอมป์ในคลาสทั่ว ๆไปทำให้เกิดเป็นรูปทรงที่คล้ายสัญญาณดิจิตอล ซึ่งลักษณะการทำงานก็คล้ายคลึงกับการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ PUSH-PULLทั่ว ๆไป ซึ่งเป็นสัญญาณรูปทรงโค้งแบบปรกติ แต่มักจะใช้กันในวงจรสวิทช์ชิ่งเสียมากกว่าในสมัยนั้น เพราะคุณภาพและเทคนิคที่จะทำให้ขอบสีเหลี่ยมมีความโค้งมลนั้นยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มรูปแบบ การส่งผ่านสัญญาณผ่านทางภาคขยายเอาท์พุทของวงจร โดยสัญญาณที่เข้ามาทางอินพุทของวงจรขยายจะออกไปทางเอาท์พุทของวงจรในภาคขยายสุดท้ายซึ่ง จะต้องมีสัญญาณออกมาให้ครบ 360° ( sinusoidal signal) ซึ่งสัญญาณที่ได้ออกมานั้นจะขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของวงจรขยาย(power efficiency). ที่ได้เลือกเอามาใช้งาน ซึ่งในส่วนนี้นั่นเองที่เราจะมาแนะนำให้เข้าใจถึงรูปแบบการใช้งานและรายละเอียดของการจัดรูปแบบสำหรับวงจรขยายว่ามีความเป็นมาอย่างไรและเราสามารถเลือกใช้รูปแบบใดของวงจรขยายเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดในการ ขยายสัญญาณเสียงได้อย่างไร
ภาคขยายในแบบ Class A
รูปแบบของการจัดวงจรขยายในแบบ Class A นั้นจะใช้ สัญญาณจาก สัญญาณอินพุท ถึง 100% เพื่อให้ได้สัญญาณเอาท์พุท ที่ มีค่าครบตาม ความเป็นจริงของ สัญญาณ ทางอินพุท (360°หรือ 2?) นอกจากนี้วงจรขยายในแบบ Class A นั้นจะทำงานที่มีความเป็นเชิงเส้นสูง( linear) มีความเพี้ยนต่ำ มากกว่ารูปแบบการขยายในแบบอื่นๆแต่ก็มีอัตราการสูญเสียกำลังงานออกไปรูปแบบของความร้อนที่สูงมากกว่า เนื่องจากมีการไบอัสตลอดเวลาไม่ว่าจะมีสัญญาณอินพุทหรือไม่มีก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากรูปแบวงจรการขยายแบบอื่นๆหรือมี power efficiency สูงมากกว่า การทำงานในวงจรขยายแบบอื่นๆแต่มีกำลังขับที่ได้ออกมาต่ำมากเมื่อเทียบกับกำลังงานที่ใช้ไป นั่นเอง (relative inefficiency). แต่สิ่งที่ได้กลับมาไม่เป็นดังผลของกำลังงานที่เสียไปเพราะเพาเวอร์แอมป์ในแบบ Class A นั้น ให้ผลของกำลังขับที่ได้ ต่ำเอามาก ๆ แต่การจัดวงจรขยายนั้นก็ใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่น้อยตามไปด้วยซึ่งนับว่าน้อยกว่าในClass อื่นๆมากทีเดียว แต่สำหรับคอ ไฮ-เอ็น แล้ว เพาเวอร์แอมป์ในแบบหลอดสูญญากาศ ­(Vacuum tube)ที่จัดวงจรแบบวงจรเดี่ยวก็สามารถจัดได้ว่า เป็นการทำงานในแบบ class A stages ด้วยเช่นกัน